หนูตัวเล็กแต่ก่อเหตุใหญ่ (ตอนที่ 8)

หนูตัวเล็กแต่ก่อเหตุใหญ่

ส่วนอีกร้อยละ 20 จะมีอาการรุนแรง เช่น

  • อาการตกเลือด (Hemorrhaging) ที่เหงือก ตา หรือจมูก
  • หายใจอึดอัด
  • อาเจียนบ่อย
  • หน้าบวม
  • เจ็บหน้าอก หลัง ช่องท้อง
  • ช็อค
  • สูญเสียการได้ยิน
  • สั่น (Tremor)
  • ภาวะสมองอักเสบจากเชื้อไวรัส (Encephalitis)
  • เสียชีวิตภายใน 2 สัปดาห์ เพราะอวัยวะหลายส่วนล้มเหลว

อาการแทรกซ้อนสำคัญที่พบมาก คือ อาการหูหนวก

สำหรับการรักษาจะใช้ยาต้านไวรัส (Ribavirin) การให้สารอาหารที่สมดุล การให้ออกซิเจน และการควบคุมความดันโลหิต

เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ป้องกันโรคไข้ลัสสา ทางป้องกันที่ทำได้คือ หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับหนู รักษาความสะอาดอย่าให้มีหนูในบ้าน เก็บอาหารในที่มิดชิด ทิ้งขยะให้ห่างจากบ้าน หากต้องพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อ ก็ต้องมีการป้องกันตัวเองด้วยการสวมเสื้อกาวน์ หน้ากาก ถุงมือ และแว่นตา

โรคไข้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Lymphocytic Chorio-meningitis = LCM) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส Lymphocytic choriomeningitis virus (LCMV) โดยมีอัตราการเสียชีวิตของโรคนี้อยู่ที่ร้อยละ 1

การติดเชื้อสามารถเกิดขึ้นได้หลังจากที่มีการสัมผัสกับปัสสาวะ อุจจาระ น้ำลาย หรือรังของสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือโดนกัด โดยอาการมักเกิดขึ้น 8-13 วันหลังการติดเชื้อ โดยแบ่งเป็น

ระยะแรก นานประมาณ 1 สัปดาห์ มีอาการ

  • เป็นไข้
  • อ่อนเพลีย
  • เบื่ออาหาร
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • ปวดศีรษะ
  • คลื่นไส้ และอาเจียน

นอกจากนี้อาจมีอาการเจ็บคอ ไอ ปวดข้อ เจ็บหน้าอก เจ็บอัณฑะ และปวดต่อมน้ำลายหน้าหู (Parotid)

บรรณานุกรม

1. Lassa Fever. http://www.cdc.gov/vhf/lassa/ [2016, December 21].

2. Lymphocytic Chorio-meningitis. http://www.cdc.gov/vhf/lcm/index.html [2016, December 21].