สุขภาพจิต กับชีวิตซึมเศร้า (ตอนที่ 2)

อาการของภาวะซึมเศร้าในเด็กและวัยรุ่นนั้นจะแตกต่างจากลักษณะโดยทั่วไปเล็กน้อย คือ เด็กที่ป่วยด้วย ภาวะซึม เศร้า จะมีอาการเศร้า หงุดหงิด หมดหวัง และกังวลใจ สำหรับในวัยรุ่นนั้นคือ ความคิดที่เปลี่ยนไป การนอนไม่หลับ ความวิตก กังวล โกรธ และเลี่ยงสังคม ทั้งในเด็กและวัยรุ่น

ภาวะซึมเศร้ามักเกิดพร้อมกับ ปัญหาทางพฤติกรรมและสภาพทางจิตใจอื่นๆ เช่น ความวิตกกังวล สมาธิสั้น หรือ ภาวะอยู่ไม่สุข (Attention Deficit Hypertension Disorder : ADHD) ภาวะซึมเศร้าไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการโตเป็นผู้ใหญ่และ ผู้ใหญ่ส่วนมากก็พอใจกับชีวิตของตนแล้ว

ทว่า ภาวะซึมเศร้า สามารถและมักเกิดขึ้นกับผู้ใหญ่ที่อายุค่อนข้างมากแล้วได้ และมักตรวจไม่พบและไม่ได้รับการ รักษา ผู้ใหญ่หลายคนที่ป่วยเป็นภาวะซึมเศร้าจึงมักลังเลที่จะขอความช่วยเหลือเมื่อรู้สึกหดหู่ สาเหตุที่ภาวะซึมเศร้าในผู้ใหญ่ มักตรวจไม่พบ เป็นเพราะว่าลักษณะอาการหลายอย่าง

อาการดังกล่าวได้แก่ เหนื่อยอ่อน ไม่อยากอาหาร นอนไม่หลับ และสมรรถภาพ ทางเพศลดลง มักดูเหมือนเกิดขึ้น จากความเจ็บป่วยอื่นๆ ทั้งสิ้น ภาวะซึมเศร้ามักแสดงอาการในผู้ใหญ่ไม่ค่อยชัดนัก อาจรู้สึกไม่พอใจชีวิต โดยทั่วไป มักรู้สึกเบื่อ อับจนหนทาง หรือ ไร้ค่า อาจรู้สึกอยากอยู่บ้านตลอดเวลา มากกว่าจะออกไปสังสรรค์นอกบ้าน

นอกจากนี้ ความคิดหรือความรู้สึกอยากฆ่าตัวตายในผู้ใหญ่ ถือเป็นสัญญาณอันตรายที่บ่งบอกว่าควรได้รับการ รักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ชาย ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะฆ่าตัวตายสูงกว่าผู้หญิง คนในสังคมปัจจุบันจึงควรรู้จักภาวะดังกล่าว เพื่อ

ไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าอะไรที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้ากันแน่ เช่นเดียวกับโรคทางจิตชนิดอื่นๆ ดูเหมือนว่าภาวะซึมเศร้าจะ เกิดขึ้นจากหลากหลายสาเหตุด้วยกัน เริ่มต้นที่ความแตกต่างทางชีววิทยา ผู้ป่วยด้วยภาวะซึมเศร้าดูเหมือนจะมีความ เปลี่ยนแปลงทางกายภาพเกิดขึ้นในสมอง

ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจยังไม่มีความสำคัญเมื่อแรกเริ่ม แต่ในท้ายที่สุดอาจกลาย เป็นตัวบ่งชี้สาเหตุที่แน่นอน ก็ได้ สารสื่อประสาท (Neurotransmitter) ซึ่งเป็นสารเคมีที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในสมอง และเชื่อมกับอารมณ์ เชื่อกันว่ามีบทบาทโดยตรงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้า

การเปลี่ยนแปลงทางสมดุล ของฮอร์โมน (Hormones) อาจเป็นสาเหตุ หรือเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนนี้อาจเป็นผลมาจาก ปัญหาที่ต่อมไทรอยด์ ภาวะ/วัยหมดประจำเดือน (Menopause) และสาเหตุอื่นๆ บางประการ โดยเฉพาะลักษณะสืบสายพันธุ์ (Inherited traits)

ภาวะซึมเศร้าพบเจอได้ทั่วไปในกลุ่มคนที่สมาชิกในครอบครัวป่วยด้วยโรคนี้ เหตุการณ์ต่างๆในชีวิต เหตุการณ์บาง เหตุการณ์ อย่างการตายหรือการสูญเสียคนรัก ปัญหาทางการเงิน และความเครียดสูง ล้วนสามารถกระตุ้นภาวะซึมเศร้าได้ และสุดท้าย ความชอกช้ำทางจิตในวัยเด็ก (Trauma) เช่น การทารุณกรรม หรือการสูญเสียพ่อแม่ อาจก่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงอย่างถาวรในสมอง ซึ่งทำให้เรามีความไวมากขึ้นต่อภาวะซึมเศร้า

แหล่งข้อมูล:

  1. [Depression (major depression)] Definition. http://www.mayoclinic.com/health/depression/DS00175 [2012, November 13].
  2. [Depression (major depression)] Symptoms. http://www.mayoclinic.com/health/depression/DS00175/DSECTION=symptoms [2012, November 13].