สึกแล้วสึกเลยนะ (ตอนที่ 5 และตอนจบ)

สึกแล้วสึกเลยนะ-5

      

      ตัวอย่างของอาหารที่กินหรือเครื่องดื่มที่มีระดับการเป็นกรดที่สูง ได้แก่

  • น้ำอัดลม (ที่มีและไม่มีน้ำตาล)
  • เครื่องดื่มเกลือแร่ (Sports drinks)
  • เครื่องดื่มที่ให้พลังงาน (Energy drinks)
  • ผลไม้ตระกูลส้ม (Citrus fruits) เช่น ส้ม มะนาว
  • เครื่องดื่มหรือชารสมะนาว
  • อมยิ้มรสผลไม้
  • น้ำผลไม้ส่วนใหญ่
  • น้ำวิตามิน
  • วิตามินซีเม็ด
  • น้ำส้มสายชู
  • ไวน์
  • เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์
  •       อาการแทรกซ้อนที่เกิดจากฟันสึกที่ไม่ได้รับการรักษาสามารถทำให้เกิดการสูญเสียผิวฟันที่มากขึ้น โครงสร้างฟันที่เสียต้องใช้เวลาและความยุ่งยากในการรักษามากกว่าปกติ เช่น การอุด (Fillings) การทำวีเนียร์ (Veneers) การครอบฟัน (Crowns) และการรักษารากฟัน (Root canal treatment)

          [วีเนียร์ (Veneer) คือ ฟันปลอมชนิดหนึ่ง แต่มีความแตกต่างตรงที่วีเนียร์นั้นไม่ได้ครอบทั้งฟัน แต่จะเป็นการนำวัสดุที่มีหน้าตาคล้ายฟันมาเคลือบหรือแปะที่หน้าฟัน โดยวีเนียร์นั้นได้ถูกออกแบบมาเพื่อพัฒนาความสวยงามของฟันและช่วยป้องกันการทำร้ายของผิวฟันที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยสามารถช่วยให้คนที่มีฟันห่าง ฟันเล็ก ฟันบิ่น ฟันเกเล็กน้อย ฟันที่มีสีไม่เสมอกัน หรือฟันเหลืองมากๆ กลับมาสวยงามได้]

          ส่วนการลดโอกาสฟันสึกทำได้ด้วยการ

  • ใช้แปรงสีฟันขนนุ่มและยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์
  • หลีกเลี่ยงยาสีฟันที่มีสารขัดฟัน เช่น ยาสีฟันที่ทำให้ฟันขาว
  • อย่าแปรงฟันทันทีหลังการกินของที่มีฤทธิ์เป็นกรด ให้รอแปรงฟันหลังอาหารอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เพื่อให้โอกาสน้ำลายทำความสะอาดกรดและดูแลสารเคลือบฟันให้ปกติ
  • กรณีที่นอนกัดฟัดให้ใส่เฝือกสบฟัน Dental splint)
  • อย่าปล่อยให้ปากแห้ง เพราะน้ำลายเป็นสิ่งธรรมชาติที่ช่วยป้องกันฟันสึก น้ำลายสามารถล้างกรดจากปากให้ลงไปสู่ท้อง สามารถทำให้กรดเป็นกลางและรักษาฟันในระยะแรก กรณีที่น้ำลายลดลงหรือปากแห้งหรือมีภาวะขาดน้ำจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดฟันสึก
  •       

    แหล่งข้อมูล:

    1. Erosion: What You Eat and Drink Can Impact Teeth. https://www.mouthhealthy.org/en/az-topics/e/dietary-acids-and-your-teeth [2018, October 13].
    2. Dental erosion. https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/ConditionsAndTreatments/dental-erosion [2018, October 13].
    3. Dental erosion. https://www.dentalhealth.org/dental-erosion [2018, October 13].