สาระน่ารู้จากหมอตา ตอน: สารกันเสียในยาหยอดตา (Eyedrop Preservative)

สารกันเสียชนิดนี้มีในยาหยอดตาที่บรรจุอยู่ในขวดที่ใช้หลายๆ ครั้ง (multidose) เป็นสารที่ใส่ไว้เพื่อฆ่าเชื้อโรคที่อาจบังเอิญพลัดเข้าไปในขวดจากการเปิดปิดหยอดตาหลายๆครั้ง กล่าวคือ เมื่อเปิดขวดครั้งแรกยายังสะอาดดีมาก แต่การเปิดใช้แต่ละ ครั้งเสี่ยงต่อการปนเปื้อน จำเป็นต้องมีสารนี้ เพื่อฆ่าเชื้อที่เข้าไป เพื่อให้น้ำยาที่เหลืออยู่ ยังมีคุณภาพดีปราศจากเชื้อโรค

อาจแบ่งสาร preservative ที่ใช้ในยาหยอดตาออกเป็น

  1. Detergent agent
  2. Oxidizing agent
  3. Ionic buffer agent

Detergent:

ทำหน้าที่รบกวนสาร lipid ใน cell membrane ทำให้สิ่งต่างๆภายใน cell ของเชื้อโรคหลุดออกมาจากการไม่คงตัวของผนังเซลล์ (membrane instability) หลักการคือ เป็นสารทำลายผนังเซลล์ของเชื้อโรค ทำให้น้ำยายังคงสภาพปลอดเชื้อ เหมาะแก่การใช้ในครั้งต่อไป ได้แก่

  1. BAK (Benzalkonium) เป็นสาร quaternary ammonium ที่ละลายในน้ำได้ดี ทำลาย cell to cell junction เริ่มมีใช้ตั้งแต่ ค.ศ. 1910 โดยระยะแรกใช้ฆ่าเชื้อโรค (germicide) ทั่วๆไป และในราว ค.ศ. 1940 นำมาใช้ในยาหยอดตาด้วยความเข้มข้น 0.004 – 0.02%
  2. Centrimonium มักใช้ในน้ำตาเทียม มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราได้ด้วย ใช้มากใน น้ำยาปรับเส้นผม เปลี่ยนสีผม
  3. Chlorobutanol เป็น phenylethanol มีใช้กันมากว่า 125 ปีแล้ว ทำให้เซลล์ของแบคทีเรียสลายจากการถูกทำลายที่ cell membrane ใช้ฆ่าเชื้อโรคในเครื่องสำอางค์ ขี้ผึ้ง ยาหยอดตา น้ำยาบ้วนปาก ความเข้มข้นที่ใช้ 0.5% ฆ่าเชื้อราได้ด้วย
  4. Polyquad (poly quaternium) ใช้ในคอนแทคเลนส์แทน BAK เพราะ BAK จะเข้มข้นขึ้นในตัวคอนแทคฯ และน้ำยาที่ใช้ในคอนแทคฯ และออกมาในน้ำตา ทำลายผิวตาได้ สารตัวนี้เป็น detergent เช่นกัน แต่ตัวแบคทีเรียมักจะมาติดสารตัวนี้ ทำให้ทำลายแบคทีเรียได้ดี
  5. Polyhexamethylene biguanide (PHMB) ใช้ในน้ำยาคอนแทคเลนส์ น้ำยาล้างสระ ฆ่าเชื้อบริเวณผิวหนัง ฆ่าเชื้อทั้งแบคทีเรีย และ เชื้อบิด acanthomoeba ได้
  6. EDTA (Edetate disodium) มันเป็น chelating agent ไปรวมกับ metal จึงนำมาใช้ขจัด calcium ใน band keratopathy ความที่เป็น chelating agent จึงทำหน้าที่เป็น preservative ไปด้วย ดังเช่น ในยาหยอดตา Acular หรือ Betagan
  7. Thimerosal (Merthiolate) มักใช้ในน้ำยาคอนแทคเลนส์ โดยอาศัยปรอท ในน้ำยานี้ไปรวมกับ sulfohydryl ใน protein ทำลายแบคทีเรียและเชื้อรา มักใช้ใน vaccine ที่ป้องกันโรค มีฤทธิ์ 40 ถึง 50 เท่าของ phenol ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย Stap aureus

Oxidizing agent:

ผลิตขึ้นเพื่อลดผลเสียจากน้ำยาในกลุ่ม Detergent โดยสารนี้จะผ่าน cell membrane ไปเปลี่ยน DNA , protein และส่วนประกอบไขมันของ bacteria เข้าไปทำลายภายใน cell สารในกลุ่มนี้ ได้แก่

  1. Stabilized Oxychlorocomplex (SOC) เริ่มใช้ราวๆ กลางปี 1990 สาร chlorine dioxide , chlorite , chlorate เมื่อถูกแสงจะสลายเป็นน้ำ O2 Sodium chlorine free radical ซึ่งจะไปขัดขวาง การสังเคราะห์โปรตีน (protein synthesis) ของเชื้อโรคทำให้มันตาย
  2. Sodium perborate (Genaqua) เป็น oxidizing preservative ที่มีใช้ในปี ค.ศ. 1950 เมื่อถูกน้ำจะสลายเป็น hydrogen peroxide ซึ่งฆ่า bacteria น้ำและออกซิเจน ยังพบว่าทำลายเชื้อราชนิด Aspergillus niger ได้ด้วย

Ionic buffer:

เป็นตัว preservative ใหม่สุด เป็น combination ของสาร เช่น boric acid , Zinc , Sorbitol และ propylene glycol มีฤทธิ์ antibacteria และ antifungus เช่น ในยาต้อหินบางตัว เช่น Travatan Z

สรุป:

สาร preservative ทำให้น้ำยาหยอดตาปราศจากเชื้อ ปลอดภัยในการใช้ แต่ก็มีโทษทำลายเซลล์บุผิวของเยื่อบุตาและของกระจกตาได้ในคนที่ใช้ยาหยอดตาไปนานๆ หรือ วันละหลายๆครั้ง