สาระน่ารู้จากหมอตา ตอน 58: ม่านตาอักเสบ

กว่าร้อยละ 50 ของผู้ป่วย โรคม่านตาอักเสบ หรือโรคผนังลูกตาชั้นกลางอักเสบ (uveitis) แพทย์หาสาเหตุไม่ได้ และยาบางตัวอาจเป็นเหตุของภาวะนี้ ซึ่งมักจะถูกมองข้ามไป ด้วยการคิดค้นยาใหม่ในกลุ่ม bisphosphonate, ยา antitumor necrosis factor, การฉีด intra vitreous triamcinolone, ตลอดจนยา anti vascular endothelial growth factor (VEGF) ที่นำมาใช้มากขึ้น ก่อให้เกิดม่านตาอักเสบได้

ยาที่ให้ทั้งทางกาย (systemic), รอบๆ เบ้าตา (peri ocular), ฉีดเข้าน้ำวุ้น (intra vitreous), ยาหยอดตาเฉพาะที่ (topical), แม้แต่ vaccine/วัคซีน, ก็ทำให้เกิดม่านตาอักเสบได้ กลไกการเกิดยังไม่ทราบชัด ส่วนมากเชื่อว่า อาจจากพิษของยาหรือเป็น immune mediated vasculitis/จากระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคที่ทำงานผิดปกติ ดังที่พบในยาบางชนิด เช่น quinidine ยาต่างๆที่มีคนพบว่า เป็นสาเหตุม่านตาอักเสบ ได้แก่

1. ยาทาง Systemic ที่มีรายงาน ได้แก่

1.1 Cidofovir เป็นยาที่มี half – life/ฤทธิ์ ยาว ที่เป็น selective inhibitor ต่อ viral DNA polymerase ป้องกัน cytomegalovirus replication (ยาต้านไวรัสต่างๆ) ที่นำมาใช้ฉีดเข้าหลอดเลือดดำและเข้าน้ำวุ้นตาในการรักษาโรคจอตาจากไวรัส CMV retinitis พบการเกิดทั้งความดันตาลดลง (hypotony) ร่วมกับการอักเสบของตาที่เรียกว่า non granulomatous anterior uveitis โดยเฉพาะในผู้ที่ได้รับยาเข้าน้ำวุ้นตาตั้งแต่ 4 ครั้งขึ้นไป ซึ่งการพบ uveitis/การอักเสบของผนังลูกตาชั้นกลาง จะลดลง ถ้าให้ยา probenecid ร่วมด้วย สาเหตุการเกิดยังไม่ทราบแน่ชัด

1.2 Rifabutin เป็นยาในกลุ่มของ rifampin ที่ใช้รักษา TB/วัณโรค และใช้เป็นยาป้องกัน TB ในผู้ป่วยโรคเอดส์ ยาตัวนี้เคยมีรายงานพบ uveitis ที่รุนแรงถึงขั้นมี hypopyon (หนองใน anterior chamber/ช่องในลูกตาด้านหน้า) และมีรายงานพบการอักเสบทั้งชนิด intermediate , pan uveitis, ตลอดจน retinal vasculitis จากการใช้ยาตัวนี้และอุบัติการณ์ขึ้นอยู่กับขนาดและความยาวนานของการให้ยา และเมื่อมีการทดลองหยุดยา อาการจะหายไป และเมื่อให้ยาใหม่ก็เป็นใหม่ จึงยืนยันได้ว่าเกิดจากยา

1.3 Sulfonamide/ยาปฏิชีวนะชนิดหนึ่ง พบการอักเสบที่เรียกว่า non granulomatous anterior uveitis จากการใช้ยานี้ภายในสัปดาห์แรกที่ใช้ยา และมีรายงานผู้ป่วยภาวะนี้เนืองๆ

1.4 Bisphosphonate เป็นยาที่ป้องกันการดูดซึมของ calcium/แคลเซียม ลดภาวะ osteoporosis/โรคกระดูกพรุน ลดกระดูกหัก และลดภาวะกระจายเข้ากระดูกของเนื้อร้าย (malignant metastasis) การใช้ยาตัวนี้ก่อให้เกิดการอักเสบของตาที่เรียกว่า uveitis และscleritis ล่าสุดมีรายงานยืนยันพบอุบัติการณ์ของ uveitis และ scleritis มากกว่าผู้ป่วยกลุ่ม control/กลุ่มเปรียบเทียบ ชัดเจน การเกิดเชื่อว่ามีการเพิ่มของสารอักเสบ cytokine, c-reactive protein และ interleukin – 1

1.5 Fluoroquinolone มีรายงานพบที่ใช้ยาตัวนี้ทาง systemic แต่ไม่พบในรายยาหยอดหรือยาฉีดเข้าตา

1.6 Tumor necrosis factor inhibitor ยาตัวนี้ก่อให้เกิดผลข้างเคียงแบบ autoimmune/ภูมิต้านตนเองมากมาย เช่น มีอาการคล้ายโรคเอสแอลอี/ SLE ซึ่งโรคจะหายเมื่อหยุดยา

2. Intraocular medication เป็นยาที่ใช้ภายในลูกตาโดยตรง เช่น ยาหยอดตา

2.1 Anti – vascular Endothelial Growth Factor Agent (VEGF) ทั้งยา ranibizumab , bevacizumab, และ aflibercept (VEGF ตัวล่าสุด) ทำให้เกิด anterior uveitis ได้ทั้งสิ้น พบอุบัติการณ์ได้ 0.3 – 0.5% โดยจะมีอาการของการอักเสบแบบ sterile endophthalmitis หลังฉีดยา 1 – 3 วัน

2.2 Triamcinolone acetonide เชื่อว่าการเกิด sterile endophthalmitis ไม่น่าจะเป็นจากพิษของยา และการใช้ยาที่ไม่มี preservative/สารกันบูด ไม่พบรายงาน uveitis

3. การใช้ยาหยอดตา

3.1 Metipranolol เป็นยาในกลุ่ม nonselective beta blocker ที่ใช้ในการรักษาต้อหิน เป็นยาหยอดตัวแรกที่พบว่า ทำให้เกิดการอักเสบ granulomatous anterior uveitis สาเหตุการเกิดยังไม่ทราบ

3.2 Corticosteroid มีรายงานมากมายที่พบว่าขณะลดขนาดยา steroid ที่ทำให้เกิดความดันลูกตาสูงในผู้ป่วยชาว African – American จะทำให้เกิดภาวะ uveitis ขึ้น และขณะเดียวกันการใช้ steroid ร่วมกับยา cycloplegic ก็รักษาได้ มาระยะหลังไม่ค่อยพบรายงานของการเกิด uveitis ในผู้ป่วยที่ใช้ steroid หยอดอีก

3.3 Brimonidine เป็นยาในกลุ่ม selective alpha-2 adrenergic receptor agonist ที่ใช้รักษาต้อหิน มีรายงานเกิด granulomatous anterior uveitis หลังใช้ยาตัวนี้มากกว่า 1 ปี เมื่อลองงดยา อาการก็หายไป แต่เมื่อให้ยาใหม่ อาการก็เกิดขึ้นใหม่ เมื่อเกิด uveitis แล้ว ถ้าหยุดยาอาการหายได้

3.4 Prostaglandin เป็นยาหยอดตาที่ใช้รักษาต้อหินและภาวะความดันตาสูงที่ได้ผลดี แต่ยากลุ่มนี้ทำให้เกิดผลข้างเคียงหลายอย่าง อาทิเช่น เปลือกตาคล้ำ ม่านตาสีเข้มขึ้น เยื่อบุตาแดง ขนตายาว, การอักเสบแบบ anterior uveitis, ตลอดจนกระตุ้นให้เกิดกระจกตาอักเสบจากไวรัส (Herpes keratitis) ประมาณ 5% ของผู้ป่วยที่ใช้ยา และยาในกลุ่มนี้ คือ Latanoprost ทำให้เกิด uveitis หลังใช้ยาหลายเดือน

โดยสรุป มียาหลายตัวอาจทำให้เกิดภาวะม่านตาอักเสบได้ จักษุแพทย์จึงน่าจะเฉลียวใจในการตรวจพบภาวะม่านตาอักเสบ ควรต้องถามประวัติการใช้ยาต่างๆด้วย

แหล่งข้อมูล:

  1. Curr Opin Ophthalmol 2013 ; 24 : 589 – 97