สารพันปัญหากับไทรอยด์ (ตอนที่ 7)

สารพันปัญหากับไทรอยด์-7

หากไม่ทำการรักษาจะทำให้มีปัญหา

  • โตช้า ตัวเตี้ย
  • ฟันแท้ขึ้นช้า
  • ปัญญาอ่อน (Mental retardation)

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้มีภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนมากขึ้น ได้แก่

  • เป็นผู้หญิงที่อายุมากกว่า 60 ปี
  • เป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง
  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคไทรอยด์
  • เคยได้รับการรักษาด้วยการกลืนรังสีหรือยาต้านไทรอยด์
  • ได้รับการบำบัดด้วยรังสีบริเวณคอหรือหน้าอกช่วงบน
  • มีการตัดต่อมไทรอยด์ออกไป
  • เคยตั้งครรภ์และคลอดในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา

และภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนที่ไม่ได้รับการรักษาอาจเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมา เช่น

  • โรคคอพอก (Goiter)
  • โรคหัวใจ เพราะภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนทำให้ระดับคลอเรสเตอรอลที่เป็นไขมันไม่ดี (Low-density lipoprotein = LDL) สูง และทำให้หัวใจโต หัวใจวายได้
  • ปัญหาจิตใจ เช่น หดหู่ซึมเศร้า เชื่องช้า
  • โรคเส้นประสาท (Peripheral neuropathy) เช่น ปวด ชา เป็นเหน็บ และยังทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือควบคุมกล้ามเนื้อไม่ได้
  • โรค Myxedema ที่ทำใหมีอาการขี้หนาว เซื่องซึม อ่อนแรง และหมดสติ จนถึงเสียชีวิตได้
  • ภาวะมีบุตรยาก (Infertility)
  • พิการแต่กำเนิด (Birth defects) หากแม่ที่มีภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนไม่ได้ทำการรักษาก่อน
  • การวินิจฉัยภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนทำได้ด้วยการตรวจเลือดเพื่อวัดค่าฮอร์โมน TSH (TSH test) หากค่านี้สูงแสดงนัยว่ามีภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมน แพทย์อาจให้ตรวจไทรอยด์ฮอร์โมน (T4 tests) เพิ่มเติม

    ส่วนการรักษาภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนทำได้ด้วยการให้ยา Levothyroxine ซึ่งเป็นไทรอยด์ฮอร์โมนสังเคราะห์ ภายหลังการกินยานี้ 1-2 สัปดาห์ จะรู้สึกว่าเหนื่อยน้อยลง ยานี้จะค่อยๆ ลดระดับคลอเรสเตอรอลและน้ำหนักตัวที่เกิดจากโรค เป็นยาที่มักจะต้องใช้ไปตลอดชีวิต แต่อาจมีการเปลี่ยนแปลงในปริมาณการใช้ยาโดยเทียบดูกับค่าฮอร์โมน TSH ทุก 2-3 เดือน ทั้งนี้เพราะการได้รับยาในปริมาณที่มากเกินอาจทำให้ได้รับผลข้างเคียง เช่น

    • อยากอาหารมากขึ้น
    • นอนไม่หลับ
    • ใจสั่น
    • ตัวสั่น (Shakiness)

    แหล่งข้อมูล:

    1. Hyperthyroidism (overactive thyroid). http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hyperthyroidism/basics/definition/con-20020986 [2017, June 28].
    2. Understanding Thyroid Problems -- the Basics. http://www.webmd.com/women/guide/understanding-thyroid-problems-basics#1 [2017, June 28].