สารพันปัญหากับไทรอยด์ (ตอนที่ 15 และตอนจบ)

สารพันปัญหากับไทรอยด์-15

ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคเกรฟส์ ได้แก่

  • เพศ - ผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชาย
  • อายุ - น้อยกว่า 40 ปี
  • เป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเองอย่างอื่น เช่น โรคเบาหวานชนิดที่ 1 โรคข้อรูมาตอยด์
  • ภาวะเครียด
  • ตั้งครรภ์
  • สูบบุหรี่

โดยอาการแทรกซ้อนของโรคเกรฟส์ ได้แก่

  • ทำให้แท้ง คลอดก่อนกำหนด ต่อมไทรอยด์ของทารกทำงานไม่ปกติ ทารกไม่โต แม่มีภาวะหัวใจวายและครรภ์เป็นพิษ (Preeclampsia)
  • หากไม่ทำการรักษา โรคเกรฟส์จะทำให้เป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ กล้ามเนื้อหัวใจไม่มีแรงสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย ทำให้มีภาวะหัวใจวาย (Congestive heart failure)
  • ภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษวิกฤต (Thyroid storm) เพราะไทรอยด์ฮอร์โมนสูงอย่างรวดเร็ว ทำให้เป็นไข้ เพ้อ อาเจียน ท้องเสีย หัวใจเต้นผิดจังหวะ ตาและผิวสีเหลือง ความดันต่ำ หมดสติ และเสียชีวิตได้
  • กระดูกพรุน เพราะไทรอยด์ฮอร์โมนที่มากจะไปลดการดูดซึมของแคลเซียมในกระดูก

สำหรับการวินิจฉัยโรคเกรฟส์ทำได้ด้วย

  • การตรวจร่างกาย เช่น ดูขนาดคอ วัดชีพจร วัดความดันโลหิต ดูอาการสั่น
  • การตรวจเลือด เพื่อดูค่า TSH ที่ต่ำ และค่าไทรอยด์ฮอร์โมนที่สูง
  • การใช้รังสีไอโอดีน
  • การอัลตราซาวด์
  • ภาพวินิจฉัย เช่น CT scan หรือ MRI

ส่วนการรักษาโรคเกรฟส์ทำได้ด้วยการ

  • การใช้รังสีไอโอดีน
  • การใช้ยาต้านไทรอยด์
  • การใช้ยากลุ่ม Beta blockers
  • การผ่าตัด

โดยการรักษาโรคทางตานั้น แพทย์อาจแนะนำให้ใช้

  • ยาสเตียรอยด์ (Corticosteroids) เช่น ยา Prednisone เพื่อลดอาการบวมของตา ซึ่งอาจมีผลข้างเคียง คือ มีการบวมน้ำ น้ำหนักตัวเพิ่ม ค่าน้ำตาลสูงขึ้น ความดันสูงขึ้น และอารมณ์แปรปรวน
  • การผ่าตัดขยายเบ้าตาเพื่อให้ตายุบกลับเข้าไป (Orbital decompression surgery) ซึ่งอาจมีผลข้างเคียง คือ การมองเห็นภาพซ้อน
  • การฉายรังสีที่เบ้าตา (Orbital radiotherapy)

ส่วนการรักษาโรคทางผิวนั้น ให้ใช้ครีมหรือขี้ผึ้งที่มีส่วนประกอบของยา Hydrocortisone เพื่อลดอาการบวมแดง

แหล่งข้อมูล:

  1. Graves' disease. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/graves-disease/basics/definition/con-20025811 [2017, July 12].