สารพันปัญหากับไทรอยด์ (ตอนที่ 11)

สารพันปัญหากับไทรอยด์-11

เป็นความผิดปกติของเซลล์ที่ต่อมไทรอยด์ เป็นมะเร็งที่รักษาให้หายและกลับมาเป็นซ้ำได้ โดยสาเหตุของการเกิดยังไม่เป็นที่ทราบชัด แต่คนที่สัมผัสกับรังสีมากจะมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งไทรอยด์ที่มาก

โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์แบ่งได้ตามชนิดของเซลล์ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

  • Papillary thyroid cancer: เป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิดที่พบมากที่สุด คือ ประมาณร้อยละ 80
  • Hürthle cell carcinoma: เป็นชนิดที่พบยาก บางครั้งก็เรียกว่า Oncocytic carcinoma
  • Follicular thyroid cancer: เป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ชนิดที่พบมากเป็นอันดับ 2 พบประมาณร้อยละ 10
  • Medullary thyroid cancer: เกิดจาก C cells ในต่อมไทรอยด์ พบประมาณร้อยละ 5 ส่วนใหญ่จะเกิดจากพันธุกรรม และมีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองและอวัยวะอื่น
  • Anaplastic thyroid cancer: เป็นชนิดที่พบยากมากและรุนแรง โดยมีการแพร่กระจายไปยังคอและอวัยวะอื่นได้อย่างรวดเร็ว
  • Lymphoma: เป็นชนิดที่พบยาก มักเป็นชนิด Non-Hodgkin's B cell
  • Sarcoma: เป็นชนิดที่พบยากมาก
  • ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ ได้แก่

    • เพศหญิงมีโอกาสเป็นได้มากกว่าเพศชาย 3 เท่า โดยเพศหญิงมักเกิดตอนอายุ 40-50 ปี ส่วนเพศชายเกิดตอนอายุ 60-70 ปี
    • เป็นชาวผิวขาว (Caucasian)
    • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคไทรอยด์
    • สัมผัสกับรังสีในปริมาณที่มาก โดยเฉพาะในเด็กที่ใช้รังสีบำบัด
    • กินอาหารที่มีไอโอดีนน้อย

    อาการโดยทั่วไปของโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ เช่น

    • มีก้อนหรือบวมที่คอ
    • ปวดคอหรือบางทีปวดในหู
    • กลืนลำบาก
    • หายใจลำบากหรือหายใจมีเสียงหวี้ด
    • เสียงแหบ
    • ไอบ่อยๆ แต่ไม่เกี่ยวกับโรคหวัด

    แหล่งข้อมูล:

    1. Thyroid Cancer - Topic Overview. http://www.webmd.com/cancer/tc/thyroid-cancer-topic-overview#1 [2017, July 08].
    2. Thyroid cancer facts. http://www.medicinenet.com/thyroid_cancer/article.htm [2017, July 08].
    3. Thyroid Disease. https://kidshealth.org/en/parents/thyroid-disease.html [2017, July 08].