สับสน กระสับกระส่าย (Agitation)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 27 ธันวาคม 2558
- Tweet
- โรคสมอง โรคทางสมอง (Brain disease)
- โรคจิต (Psychosis)
- โรคติดเชื้อ ภาวะติดเชื้อ (Infectious disease)
- ไข้ อาการไข้ ตัวร้อน (Fever)
- ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ (Sepsis) ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (Septicemia)
สับสน กระสับกระส่าย หรือภาวะกายใจไม่สงบ (Agitation) เป็นอาการที่ควบคุมตัวเองไม่อยู่ หงุดหงิด ถูกกระตุ้นได้ง่าย ตึงเครียด ตื่น ขาดสติ ขาดความเข้าใจ อาการอาจเกิดขึ้นทัน ทีและหายได้อย่างรวดเร็ว หรือคงอยู่นานเป็นหลายสัปดาห์หรือเป็นเดือน ทั้งนี้ขึ้นกับสาเหตุ
สับสนมักเป็นอาการของการหลงผิด โดยปัจจัยเสี่ยงที่มักก่อให้เกิดอาการสับสนคือ ไข้สูง เครียดมาก และอาการปวดที่รุนแรง
สาเหตุของอาการสับสนที่พบบ่อยเช่น ได้สารกาเฟอีนปริมาณสูง (เช่น ดื่มกาแฟมาก) ติดสุราเรื้อรัง ติดยาเสพติด ช่วงเลิกสุราหรือยาเสพติด บางภาวะของโรคไต การติดเชื้อรุนแรง โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ อาการบาดเจ็บทางสมอง โรคอัลไซม์เมอร์ โรคทางจิตเวช และผล ข้างเคียงของยาบางชนิดเช่น ยาสเตียรอยด์หรือยาขยายหลอดลมบางชนิด
ควรพบแพทย์/ไปโรงพยาบาลเมื่อเกิดอาการสับสนบ่อย เป็นอยู่นานหลายวัน และเมื่อทำร้ายตนเองหรือทำร้ายผู้อื่น หรืออาการมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
บรรณานุกรม
Updated 2015, Dec 5