สะโพกหัก โรคฮิตของคนแก่ (ตอนที่ 4)

สะโพกหัก โรคฮิตของคนแก่

ผศ.นพ.ธนินนิตย์ กล่าวว่า หลังจากที่รักษากระดูกสะโพกหักแล้ว ยังมีความจำเป็นต้องรับการรักษาเรื่องกระดูกพรุนต่อ เพื่อป้องกันการเกิดกระดูกหักเพิ่ม เช่น การหักของกระดูกสะโพกหักอีกข้างหนึ่ง การเกิดกระดูกสันหลังหักยุบ และการหักของกระดูกในตำแหน่งอื่น ๆ

ผศ.นพ.ธนินนิตย์ กล่าวอีกว่า ผู้ป่วยเหล่านี้มีความจำเป็นต้องรับการรักษาโรคกระดูกพรุน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดกระดูกหักเพิ่มขึ้นอีก เช่น ในผู้ป่วยที่มีกระดูกสันหลังยุบจากโรคกระดูกพรุน พบว่าถ้าไม่ได้ให้การรักษาที่เหมาะสมจะพบว่าผู้ป่วยมีโอกาสเกิดกระดูกหักเพิ่มขึ้นอีกประมาณร้อยละ 20

หลังการผ่าตัด แพทย์จะแนะนำให้ทำการเคลื่อนไหวให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ มีการฟื้นฟูด้วยกายภาพบำบัดด้วยการเคลื่อนไหวและการออกกำลังกาย หรืออาจมีนักกิจกรรมบำบัด (Occupational therapist) ช่วยสอนถึงการใช้ห้องน้ำ การอาบน้ำ การแต่งตัว และการทำอาหารด้วยตัวเอง

โดยทั่วไปสะโพกเทียมจะมีอายุการใช้งานประมาณ 10-20 ปี ขึ้นอยู่กับการใช้ชีวิตและน้ำหนักที่กดลงบนข้อ น้ำหนักตัว และความเชื่อมต่อของข้อใหม่กับกระดูกว่าดีขนาดไหน

ยิ่งผ่าตัดเมื่ออายุน้อยเท่าไรและยิ่งกดน้ำหนักบนข้อมากเท่าไร ก็ยิ่งต้องมีการผ่าเปลี่ยนสะโพกเทียมอีกครั้ง ดังนั้นหากมีการผ่าตัดเปลี่ยนเมื่ออายุ 60 ปี ก็น่าจะมีการใช้สะโพกเทียมไปได้ตลอดชีวิต

คำแนะนำหลังการผ่าตัดสะโพกหักเพื่อป้องกันสะโพกเคลื่อน (Dislocating) มีดังนี้

  • อย่านั่งไขว่ห้าง เพราะจะเป็นการบิดสะโพก
  • แพทย์บางท่านที่ไม่ต้องการให้สะโพกผู้ป่วยมีการโค้งมากกว่า 90 องศา อาจแนะนำดังนี้
    • ห้ามนั่งบนเก้าอี้ เตียง หรือห้องน้ำที่เตี้ย (อาจต้องใช้อุปกรณ์ช่วยเวลาเข้าห้องน้ำ)
    • ห้ามยกเข่าให้เหนือสะโพก
    • ห้ามเอนไปข้างหลัง (Lean forward) ขณะนั่งหรือยืน
    • ห้ามก้มลงผูกเชือกรองเท้า

สำหรับการใช้ชีวิตกับสะโพกเทียมนั้น มีคำแนะนำดังนี้

  • หลังการเปลี่ยนสะโพก 6-8 สัปดาห์ แพทย์อาจอนุญาตให้ผู้ป่วยขับรถเองได้ตราบใดที่ผู้ป่วยไม่ต้องกินยาแก้ปวดและที่นั่งต้องไม่ต่ำเกินไป
  • และเพราะทุกน้ำหนักตัว 1 ปอนด์ สะโพกจะต้องรับน้ำหนักเท่ากับ 3 ปอนด์ ดังนั้นการควบคุมน้ำหนักตัวจะช่วยให้สะโพกเทียมใช้ได้นานขึ้น
  • พยายามเคลื่อนไหว ออกกำลังกายที่ไม่หนักเกินไป
  • นอกจากนี้แพทย์อาจต้องให้ยาปฏิชีวนะก่อนการทำฟันหรือก่อนทำการรักษาแบบ (Invasive medical procedure) อย่างน้อย 2 ปีหลังการผ่าตัด ทั้งนี้เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่บริเวณรอบสะโพกเทียม

แหล่งข้อมูล

  1. กระดูกตะโพกหักจากโรคกระดูกพรุน. http://www.dailynews.co.th/article/315230 [2015, July 14].
  2. Hip fracture. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hip-fracture/basics/definition/con-20021033 [2015, July 14].
  3. Hip Fracture. http://www.webmd.com/osteoporosis/tc/hip-fracture-topic-overview [2015, July 14].