สตีเว่น จอห์นสัน (ตอนที่ 3)

สตีเว่นจอร์-3

      

      

       ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดสตีเว่นจอห์นสัน ได้แก่

  • เชื้อเฮชไอวี – ผู้ที่ติดเชื้อเฮชไอวีมีโอกาสในการเป็นสตีเว่นจอห์นสันมากกว่าคนปกติ 100 เท่า
  • ระบบภูมิต้านทานอ่อนแอ – เช่น ผู้ที่ปลูกถ่ายอวัยวะ ผู้ติดเชื้อเอดส์ และผู้ที่เป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง (Autoimmune diseases)
  • มีประวัติในการเป็นสตีเว่นจอห์นสัน – กรณีที่แพ้ยาบางชนิดแล้วเกิดสตีเว่นจอห์นสัน จะมีความเสี่ยงในการกลับมาเป็นซ้ำ (Recurrence) หากยังมีการใช้ยาตัวนั้นอีก
  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นสตีเว่นจอห์นสัน หรือ ผื่นแพ้ยา (Toxic epidermal necrolysis = TEN)
  • มียีนที่เรียกว่า HLA-B 1502 และ HLA-B 1508 – โดยเฉพาะคนจีน คนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือคนอินเดีย ที่มักจะมียีนตัวนี้ และคนที่มียีนตัวนี้ที่ใช้ยารักษาอาการชัก ยาโรคเกาต์ หรือยารักษาโรคจิต
  • มีการรักษาด้วยรังสีบำบัด (Radiation treatments)

      สำหรับอาการแทรกซ้อนของสตีเว่นจอห์นสัน ได้แก่

  • เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ (Cellulitis) ที่อาจเป็นสาเหตุให้ติดเชื้อในกระแสเลือดและเสียชีวิต
  • ติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis) ซึ่งอาจทำให้หมดสติ อวัยวะล้มเหลว และเสียชีวิต
  • ปัญหาเรื่องตาอักเสบ ซึ่งในกรณีที่ไม่รุนแรงอาจทำให้เคืองตาและตาแห้ง ส่วนกรณีที่รุนแรงอาจทำให้เนื้อเยื่อในตาถูกทำลายและเป็นแผล ส่งผลให้เกิดความบกพร่องทางสายตา
  • ปัญหาเรื่องปอด เกิดภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (Acute respiratory failure)
  • ผิวหนังถูกทำลายอย่างถาวร เป็นตุ่มและสีผิดปกติ มีรอยแผล ผมร่วง เล็บมือและเล็บเท้าผิดปกติ
  • มีปัญหาเรื่องอวัยวะเพศ เช่น ช่องคลอดตีบตัน (Vaginal stenosis) องคชาตมีแผลเป็น
  • มีภาวะขาดน้ำและสารอาหารเฉียบพลัน (Dehydration and acute malnutrition)

      ส่วนการป้องกันสตีเว่นจอห์นสัน ทำได้ด้วยการ

  • พิจารณาการใช้ยาอย่างรอบคอบก่อนการใช้ เช่น คนจีน คนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือคนอินเดีย ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยา Carbamazepine ซึ่งเป็นยารักษาโรคลมชัก (Epilepsy) โรคไบโพลาร์ (Bipolar disorder) และอื่นๆ
  • หลีกเลี่ยงยาที่ใช้แล้วแพ้ เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำซึ่งมักจะรุนแรงกว่าที่เคยเป็นและอาจเสียชีวิตได้

      ในส่วนของการวินิจฉัยโรคและการทดสอบจะทำโดยแพทย์โรคผิวหนัง (Dermatologist) ด้วยการ

  • ตรวจสภาพร่างกาย
  • การตัดชิ้นเนื้อจากผิวหนังไปตรวจ (Skin biopsy)
  • การเพาะเชื้อ (Culture)
  • ภาพวินิจฉัย (Imaging) เช่น การเอ็กซเรย์ปอดเพื่อดูว่าปอดอักเสบหรือไม่
  • การตรวจเลือด เพื่อดูการติดเชื้อหรือไม่

แหล่งข้อมูล:

  1. Stevens-Johnson syndrome. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/stevens-johnson-syndrome/symptoms-causes/syc-20355936 [2018, June 20].
  2. Stevens-Johnson Syndrome (SJS). https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/stevens-johnson-syndrome#1 [2018, June 20].
  3. Stevens-Johnson syndrome. https://www.nhs.uk/conditions/stevens-johnson-syndrome/ [2018, June 20].
  4. Stevens–Johnson syndrome / toxic epidermal necrolysis. https://www.dermnetnz.org/topics/stevens-johnson-syndrome-toxic-epidermal-necrolysis/ [2018, June 20].