วิธีใช้ ยาลดกรด ยาแก้โรคกระเพาะ (Guide to safe use of antacid)

“โรคกระเพาะอาหาร หรือทั่วไปเรียกสั้นๆว่า โรคกระเพาะ” ในทางการแพทย์ หมายถึง โรคที่มีแผลในเยื่อบุกระเพาะอาหาร และ/หรือลำไส้เล็กส่วนต้น

อาการทั่วไปที่พบบ่อยของโรคกระเพาะอาหาร คือ ปวดท้องแบบเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ และมักสัมพันธ์กับอาหาร เช่น ปวดท้องหลังกินอาหาร ถ้าเป็นเรื้อรังอาจเกิดอาการแทรกซ้อนหรือผลข้างเคียง คือ อาเจียนเป็นเลือด หรือ ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำลักษณะเหมือนยางมะตอย (อุจจา ระเป็นเลือด)ได้

ยาที่ใช้ในการรักษาโรคกระเพาะอาหาร แบ่งเป็นกลุ่มต่างๆดังนี้

  • ยาลดกรด

    ยากลุ่มนี้มักใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดท้อง จากกระเพาะอาหารหลั่งกรดมากเกินไป เพราะยาออกฤทธิ์ได้เร็ว แต่ไม่สะดวกในการนำมาใช้ เพราะต้องกินยาบ่อยๆ ชื่อการค้าที่มีจำ หน่าย อาทิ เช่น อะลั่ม มิ้ลค์ (Alum milk), แอนตาซิล เยล (Antacil Gel), เบลสิด (Belcid), ไบร์เยล (Brygel), บูราเจล (Burajel)

  • ยายับยั้งการหลั่งกรด

    ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์โดยการยับยั้งการหลั่งกรด ใช้รักษาและป้องกันโรคกระเพาะอาหารและภาวะที่มีกรดหลั่งมากกว่าปกติ อาทิเช่น

    • ยากลุ่มยับยั้งตัวรับฮิสทามีนชนิดที่ 2 (H2-receptor antagonist) เช่น ยารานิทิดีน (Ra nitidine) และ ฟาโมทิดีน (Famotidine)
    • ยากลุ่มยับยั้งการทำงานของโปรตอนปั๊ม (Proton pump inhibitor)

    ยากลุ่มนี้มีประสิทธิภาพยับยั้งการหลั่งกรดได้นานและมีประสิทธิภาพสูงกว่ายากลุ่มยับ ยั้งตัวรับฮิสทามีนชนิดที่ 2 ยาที่นิยมใช้มากในกลุ่มนี้ได้แก่ยา โอมีพราโซล (Omeprazole) ชื่อการค้าว่า โลเส็ค (Losec) ปัจจุบันมีการใช้ยากลุ่มนี้เป็นหลักในการรักษาโรคกระเพาะ

  • ยาปกป้องเยื่อบุกระเพาะอาหาร

    ยากลุ่มนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเยื่อบุทางเดินอาหาร จึงมักมีผู้เรียกยากลุ่มนี้ว่า “ยาเคลือบกระเพาะ" อาทิเช่น ซูครัฟเฟต (Sucrafate) ชื่อการค้า อัลซานิค (Ulsanic) โดยยาจะไปเคลือบเนื้อเยื่อที่เป็นแผล ป้องกันไม่ให้กรดสัมผัสเนื้อเยื่อที่เป็นแผล ยากลุ่มนี้มีผลข้างเคียงคือ ท้องผูก

  • ยากลุ่มอื่นๆ เช่น
    • ยาลดอาการปวดมวนท้อง ชื่อการค้า บัสโคแปน (Buscopan)
    • ยาขับลม เช่น ยาไซเมทิโคน (Simethicone) ชื่อการค้า แอร์-เอกซ์ (Air-X) เป็นต้น หรือ สมุนไพรขับลม ยาน้ำขับลม (Carminative)

      เมื่อเริ่มมีอาการโรคกระเพาะ หรือปวดท้อง ยากลุ่มแรกที่มักจะเริ่มซื้อหามาทานก่อนคือ กลุ่มยาลดกรด เนื่องจากออกฤทธิ์ได้เร็ว โดยทานร่วมกับยากลุ่มยับยั้งการทำงานของโปรตอนปั๊ม เนื่องจากรักษาโรคกระเพาะได้ดีกว่าการทานยาลดกรดเดี่ยวๆ

      ถ้ามีอาการปวดท้องเกร็งร่วมด้วย ก็จะใช้ยากลุ่มลดอาการปวดมวนท้องร่วมด้วย ถ้ามีอา การท้องอืด แน่นท้อง มีลมมากในกระเพาะ ก็ให้ยาขับลมร่วมด้วย

      ยารักษาโรคกระเพาะทุกกลุ่ม สามารถทานร่วมกันได้ ถ้ามีอาการตรงตามข้อบ่งใช้ของยานั้น เพื่อเสริมฤทธิ์กันในการรักษาโรคกระเพาะ

      ระยะเวลาในการรักษาโรคกระเพาะ ถ้าทานยารักษาโรคกระเพาะภายใน 3-5 วัน อาการปวดจะลดน้อยลง แต่ยังไม่หายขาด ให้ทานยาต่อเนื่องต่อไปอีก โดย

    • ถ้าเป็นแผลที่กระเพาะอาหาร ให้ทานยาติดต่อกันนาน 8 สัปดาห์
    • ถ้าเป็นแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น ก็ให้ทานยานาน 4 สัปดาห์ ถ้ายังไม่หายก็ให้ทานต่ออีก 4 สัปดาห์

      ในคนท้อง ยารักษาโรคกระเพาะที่เลือกใช้เป็นตัวแรกคือ ยาลดกรด ห้ามให้ยากลุ่มยับ ยั้งการหลั่งกรดและยากลุ่มลดอาการปวดมวนท้อง เพราะอาจมีผลต่อทารกในครรภ์ได้

      ถ้ามีอาการโรคกระเพาะเป็นๆหายๆ แม้ว่าจะรักษาให้หายดีขึ้นแล้วก็ตาม ควรไปพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยดูว่าจะมีการติดเชื้อแบคทีเรีย H. pyroli ร่วมด้วยหรือไม่ เนื่องจากถ้ามีเชื้อนี้อยู่ในกระเพาะ เชื้อนี้ก็สามารถทำให้เป็นโรคกระเพาะได้อีก

      และถ้าสาเหตุการเกิดโรคกระเพาะเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย H.pyroli จำเป็นจะต้องได้รับการรักษาโรคกระเพาะอาหาร คือใช้ยา โอมิพราโซล (Omeprazole) ร่วมกับยาปฏิชีวนะ 2 ชนิด ได้แก่ อะม๊อกซซิลลิน (Amoxicillin), เมโทรนิดาโซล (Metronidazole) หรือ คลาริโทรมัยซิน (Clarithromycin) เพื่อฆ่าเชื้อ H.pyroli ที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคกระเพาะ และจะ ต้องกินยาติดต่อกันนาน 1 สัปดาห์ และหลีกเลี่ยงการกินยาลดกรด เพื่อบรรเทาอาการเพราะนอกจากไม่เป็นการแก้ที่ต้นเหตุแล้ว ยังทำให้เชื้อแบคทีเรียเจริญได้ดีขึ้น ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารได้

อนึ่ง ข้อควรปฏิบัติ : การซื้อยากินเอง ควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนเสมอ และต้องอ่านใบกำกับยา หรือ ฉลากยาให้เข้าใจ และกินยาตามฉลากอย่างถูกต้องครบ ถ้วน นอกจากนั้น หลังกินยาแล้ว ถ้าอาการเลวลง หรืออาการไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 วัน ต้องรีบพบแพทย์เสมอ (อ่านเพิ่มเติมในบทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยา)

บรรณานุกรม

  1. ยาลดกรด http://www.srinagarind-hph.kku.ac.th/ [2013, April,11]