วาร์ฟาริน ใช้ถูกเป็นคุณ ใช้ผิดเป็นโทษ (ตอนที่ 6 และตอนจบ)

วาร์ฟารินใช้ถูกเป็นคุณใช้ผิดเป็นโทษ-6

      

      ข้อควรปฏิบัติตนระหว่างที่มีการใช้ยาวาร์ฟาริน

  • กินยาให้ตรงเวลาทุกวัน
  • ไปพบแพทย์ตามกำหนดเพื่อตรวจเลือดดูเป็นระยะๆ (INR test หรือ PT test)
  • คอยสังเกตดูสัญญาณที่แสดงถึงการมีเลือดออกในร่างกาย เช่น เลือดในปัสสาวะ เลือดออกตามไรฟัน เป็นต้น
  • ควรระวังอาหารและเครื่องดื่มที่อาจทำปฏิกริยากับยา เช่น ผักสีเขียวหรือน้ำมันพืชที่มีวิตามินเคมาก เพราะอาจทำให้การทำงานของยาลดลง
  • ห้ามดื่มแอลกอฮอล์
  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บเป็นแผลได้ง่าย
  • ระวังในการแปรงฟันด้วยแปรงขนนุ่ม และระวังเรื่องการโกนหนวดที่อาจทำให้เกิดบาดแผล
  • หากมีอาการดังต่อไปนี้ให้ไปพบแพทย์ทันที

      o ปวดศีรษะเฉียบพลัน อ่อนแรง หรือชา

      o มีเลือดออกในร่างกาย เช่น เลือดในปัสสาวะ ไอปนเลือด เลือดออกตามไรฟัน เลือดกำเดา เป็นต้น

      o เจ็บหน้าอก

      o หายใจลำบาก

      o บวมโดยไม่ทราบสาเหตุ

      o ปวดท้องอย่างรุนแรง

      o คลื่นไส้อาเจียนอยู่เรื่อย

      o เลือดไหลไม่ยอมหยุด

      อนึ่ง องค์การอาหารและยา (The Food and Drug Administration = FDA) ได้มีประกาศกล่าวเตือนถึงการใช้ยาวาร์ฟารินว่า

  • เนื่องจากยานี้เป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือด จึงอาจทำให้มีเลือดออกในอวัยวะได้ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ ดังนั้นผู้ที่ใช้ยานี้ควรได้รับการตรวจเลือดและพบแพทย์เป็นประจำ และห้ามกินหรือหยุดยาหรือใช้สมุนไพรอื่นโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์
  • แจ้งให้แพทย์ทราบหากมีความเสี่ยงเรื่องเลือดออกมาก เช่น มีอายุ 65 ปีขึ้นไป มีประวัติในการมีภาวะหัวใจวายหรือเป็นโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) มีเลือดออกในทางเดินอาหาร (Gastrointestinal bleeding) มีภาวะโลหิตจาง (Anemia) เป็นโรคเบาหวาน หรือมีปัญหาเรื่องไต เพื่อที่แพทย์จะได้พิจารณาว่าสมควรให้ยาวาร์ฟารินหรือไม่
  • ห้ามใช้ยาวาร์ฟารีนในหญิงมีครรภ์ ยกเว้นกรณีที่มีลิ้นหัวใจเทียม (Mechanical heart valve) เพราะยานี้อาจเป็นสาเหตุให้เด็กพิการแต่กำเนิด แท้ หรือเสียชีวิตในครรภ์ได้
  • ยานี้สามารถทำให้มีภาวะแคลเซียมเกาะหลอดเลือดจนเกิดอุดตัน ส่งผลให้มีการตายของเนื้อเยื่อและผิวหนังบริเวณนั้น (Calciphylaxis) ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดขึ้นยากแต่เป็นอันตรายมากและมีอัตราตายสูง โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคไตจะมีความเสี่ยงสูงในการเกิดภาวะนี้

แหล่งข้อมูล:

  1. Warfarin, Oral Tablet. https://www.healthline.com/health/warfarin-oral-tablet#about [2018, Aug 13].
  2. Taking warfarin (Coumadin). https://www.healthline.com/health/germy-places#modal-close [2018, Aug 13].
  3. A Patient's Guide to Taking Warfarin. http://www.heart.org/HEARTORG/Conditions/Arrhythmia/PreventionTreatmentofArrhythmia/A-Patients-Guide-to-Taking-Warfarin_UCM_444996_Article.jsp#.WzIDjIoxXIU [2018, Aug 13].
  4. Warfarin.https://www.drugs.com/warfarin.html [2018, Aug 13].