ประสาทอัตโนมัติ ระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic nervous system)

บทความที่เกี่ยวข้อง
ระบบประสาทอัตโนมัติ

ระบบประสาทอัตโนมัติ หรือ ประสาทอัตโนมัติ(Autonomic nervous system) คือ

ส่วนหนึ่งของ’ระบบประสาทส่วนปลาย’ ที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะในร่างกาย (จึงมีอีกชื่อว่า ระบบประสาทอวัยวะภายใน/Visceral nervous system) เช่น หัวใจ (เช่น การเต้นของหัวใจ), การหายใจ, กระเพาะอาหารและลำไส้ (เช่น การบีบเคลื่อนตัว), รูม่านตาขยายเมื่อตกใจ, เหงื่อออกมากเมื่อกังวล, การขับถ่าย เช่น การปวดปัสสาวะ/กลั้นปัสสาวะ, และการตอบสนองด้านอารมณ์/จิตใจ เช่น กลัว ตกใจ

ระบบประสาทอัตโนมัติ ทำงานเป็นอิสสระ ไม่ขึ้นโดยตรงกับสมอง จึงมีเพิ่มอีกชื่อว่า (ระบบประสาทนอกอำนาจใจ/Involuntary nervous system) แต่จะสัมพันธ์ทางอ้อมโดยเฉพาะกับสมองส่วนไฮโปธาลามัสที่ควบคุมเกี่ยวกับอารมณ์/จิตใจ เช่น เมื่อกลัว ก็จะเกิดหัวใจเต้นเร็ว ปวดท้อง ตัวหรือมือสั่น เป็นต้น

ทั่วไป การทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติจะเป็นไปเพื่อคงภาวะปกติของร่างกาย ไม่ได้เกิดจากโรค แต่ก็มีบางโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดการทำงานที่ผิดปกติ(Disorder)ของระบบนี้ได้ เช่น โรคพิษสุรา โรคเบาหวาน โรคภูมิต้านตนเอง (โรคออโตอิมมูน) โรคพาร์กินสัน โรคความดันต่ำเมื่อลุกขึ้นยืน

อนึ่ง ปัจจุบัน ระบบประสาทอัตโนมัติแบ่งเป็น 3 ระบบย่อย คือ

ก. ระบบประสาทซิมพาเทติก : เป็นระบบที่สั่งการให้เกิดอาการต่างๆเมื่อมีตัวกระตุ้นรุนแรงเฉียบพลัน เช่น ตกใจสุดขีด กลัวสุดขีด

ข. ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก: เป็นระบบที่ทำงานตรงข้ามกับระบบประสาทซิมพาเทติก เพื่อร่างกายใช้ควบคุมอวัยวะต่างๆให้อยู่ในภาวะปกติของการทำงาน เช่น การเต้นของหัวใจ, อัตราการหายใจ, การเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร, อารมณ์

ค. ระบบประสาทลำไส้ หรือระบบประสาทควบคุมระบบทางเดินอาหาร: คือ ระบบประสาทส่วนควบคุมการบีบตัวและการหลั่งฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับน้ำย่อยอาหารและการย่อยอาหาร

(แนะนำอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมของ3ระบบย่อย(ก.,ข.,และค.)ได้จากเว็บ haamor .com เรื่อง ‘ระบบประสาทซิมพาเทติก’, เรื่อง ‘ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก’, และเรื่อง ‘ระบบประสาทลำไส้’)

บรรณานุกรม

  1. https://en.wikipedia.org/wiki/Autonomic_nervous_system [2021,Feb27 ]
  2. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK539845/ [2021,Feb27 ]
  3. https://www.healthline.com/health/autonomic-dysfunction [2021,Feb27 ]