ยาไม่อันตราย หรือ ยาทั่วไป (Non dangerous drug)

บทความที่เกี่ยวข้อง
ยาไม่อันตราย

ยาไม่อันตราย หมายถึง ยาทั่วไปที่ไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มวัตถุออกฤทธิ์ ยาเสพติด ยาควบคุมพิเศษ หรือ ยาอันตราย สามารถจัดจำหน่ายโดย เภสัชกร ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือผู้ประ กอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันในสาขาทันตกรรม การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาล โดยควบคุมการขายยาให้เกิดปลอดภัยตามหลักวิชาและตามมารยาทแห่งวิชาชีพ

ยาไม่อันตราย หรือ ยาทั่วไป จะมีคุณลักษณะดังนี้

  • เป็นยาที่มีความปลอดภัยในระดับที่ผู้ป่วยสามารถซื้อเองได้ตามร้านขายยา
  • ต้องจ่ายโดยผู้ที่ได้รับการอบรมภายใต้การควบคุมของเภสัชกร
  • ต้องจำหน่ายในโรงพยาบาล คลินิก ร้านยาประเภท 1 (ร้านยาที่มีเภสัชกรประจำ) ยกเว้นยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตราย จะสามารถขายได้ในร้านยาประเภท 2 (ไม่มีเภสัชกรประจำ)
  • ยาชนิดนี้สามารถโฆษณาทั่วไปได้
  • ตัวอย่างของยากลุ่มนี้ เช่น Paracetamol, ยาแก้ไอบางชนิด, ยาละลายเสมหะบางชนิด, ยาแก้โรคหวัดบางชนิด

ทำไมถึงต้องมียากลุ่มนี้แยกต่างหาก?

เนื่องจากยาไม่อันตราย หรือ ยาทั่วไป จัดเป็นยาที่มีความปลอดภัยในระดับที่ซื้อใช้เองได้ สามารถโฆษณาถึงผู้บริโภคได้โดยตรง และหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป ทำให้คนทั่วไปเข้าถึงยากลุ่มนี้ได้ง่าย

รู้ได้อย่างไรว่าเป็นยาในกลุ่มยาไม่อันตราย/ยาทั่วไป?

รู้ได้ว่าเป็นยาในกลุ่มยาไม่อันตราย โดยต้องเป็นยาที่ไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มวัตถุออกฤทธิ์ ยาเสพติด ยาควบคุมพิเศษ หรือ ยาอันตราย

มีข้อบ่งชี้การใช้ยาในกลุ่มไม่อันตรายอย่างไร?

สามารถใช้ยากลุ่มยาไม่อันตรายบรรเทาอาการเจ็บป่วยทั่วไปที่เล็กๆน้อยๆ ไม่รุนแรง โดยต้องใช้ยาตามเอกสารกำกับยาหรือฉลากยาตำรับนั้นๆเสมอ ตัวอย่างอาการทั่วไป (แต่ต้องเป็นอา การเล็กๆน้อยๆ ไม่รุนแรง) เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง เป็นโรคหวัด ไอ ท้องเสีย

มีข้อควรระวังการใช้ยาไม่อันตรายอย่างไร?

ยากลุ่มนี้มีความปลอดภัยในระดับที่ซื้อใช้เองได้ แต่ก็ควรใช้ตามคำแนะนำในเอกสารกำกับยา หรือฉลากยาตำรับนั้นๆ

การแบ่งประเภทยา

การแบ่งประเภทของยา ถ้าแบ่งตามระดับพิษภัยในการใช้ยา แบ่งได้เป็น

ก. ยาควบคุมพิเศษ ซึ่งไม่ว่าจะใช้ถูกวิธีหรือไม่ก็ตาม เนื่องจากเป็นยาที่ออกฤทธิ์รุนแรงและรวด เร็ว อาจทำให้เสพติด หรือทำลายอวัยวะบางส่วนของร่างกาย จึงเลือกใช้เฉพาะกรณีที่จำเป็นเท่า นั้น และแพทย์จะต้องเป็นผู้พิจารณาสั่งจ่ายยาประเภทนี้ และจำหน่ายโดยเภสัชกรตามใบสั่งแพทย์ เท่านั้น

ข. ยาอันตราย เป็นยาที่อาจทำให้เกิดอันตรายกับผู้ใช้ได้ง่าย ถ้าใช้ไม่ถูกต้องหรือเกินขนาด ยาประเภทนี้ต้องขายอยู่ในร้านยาที่มีใบอนุญาตและอยู่ภายใต้การดูแลของเภสัชกร

ค. ยาสามัญประจำบ้าน เป็นยาที่ใช้ในการบำบัดรักษาอาการของโรค ในกรณีที่เจ็บป่วยเล็กๆ น้อย ๆ ด้วยตนเองได้ โดยที่ขวดหรือภาชนะบรรจุจะมีฉลากยาบอกขนาดบรรจุ และวิธีใช้อย่างละเอียดเพื่อป้องกันการใช้อย่างพร่ำเพรื่อ ยาในประเภทนี้ มีทั้งที่เป็น

  • ยาแผนปัจจุบัน เช่น ยาธาตุน้ำแดง ยาแก้ไอน้ำแดง ยาแอสไพริน
  • และยากลุ่มที่เป็นยาแผนโบราณ เช่น ยาหอม ยาเขียว ยาสตรี เป็นต้น

ซึ่งยากลุ่ม/ประเภทนี้มีความปลอดภัยพอสมควร สามารถวางจำหน่ายได้ทั่วไป โดยไม่ต้องมีใบ อนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน

ง. ยาใช้เฉพาะที่ เป็นยาใช้เฉพาะที่กับผิวหนัง จมูก หู ตา ปาก ทวารหนัก ท่อปัสสาวะ หรือช่องคลอด ตัวอย่างเช่น ยาหยอดหู ยาหยอดตา ยาหยอดจมูก ยากวาดคอ เป็นต้น

จ. ยาใช้ภายนอก เป็นยาสำหรับใช้ภายนอก ห้ามรับประทาน ตัวอย่างเช่น ขี้ผึ้ง น้ำมันระกำ ยาแดง ยาทิงเจอร์ไอโอดีน

ฉ. ยาบรรจุเสร็จ เป็นยาที่บรรจุในภาชนะหรือหีบห่อที่ปิดหรือผนึกไว้ ตัวอย่างเช่น ยาบรรจุซองที่แก้ปวดลดไข้ชนิดต่างๆ

ช. ยาสมุนไพร เป็นยาที่ได้จาก พืช สัตว์ และแร่ธาตุ ซึ่งมิได้ผสม ปรุง หรือแปรสภาพ ตัวอย่าง เช่น ขมิ้นชัน ฟ้าทะลายโจร

สรุป

ถึงแม้ชื่อจะเป็น “ยาไม่อันตราย” แต่ยาทุกชนิดที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด ยาแผนโบ ราณทุกชนิด “ยาไม่อันตราย” และสมุนไพรต่างๆ ก็จัดเป็นสารเคมี จึงมีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้น เมื่อมีการใช้ยาทุกชนิดควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติม ได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน

บรรณานุกรม

1. http://www.mims.com/thailand/Viewer/Html/PoisonCls.htm3 [2014,July5]
2. http://pharmanet.co.th/articles.php?action=show_content&id=64&URL=Types_of_drug_laws_Importance_and_classification [2014,July5]
3. http://pharmanet.co.th/articles.php?action=show_content&id=49&URL=Medicines_Act [2014,July5].