ยาเซอร์ราทิโอเปปทิเดส (Serratiopeptidase)
- โดย เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร
- 19 กันยายน 2556
- Tweet
- บทนำ: คือยาอะไร?
- ยาเซอร์ราทิโอเปปทิเดสมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
- ยาเซอร์ราทิโอเปปทิเดสมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
- ยาเซอร์ราทิโอเปปทิเดสมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
- ยาเซอร์ราทิโอเปปทิเดสมีขนาดรับประทานอย่างไร?
- เมื่อมีการสั่งยา ควรแจ้งแพทย์/พยาบาล และเภสัชกรอย่างไร?
- หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
- ยาเซอร์ราทิโอเปปทิเดสมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
- มีข้อควรระวังการใช้ยาเซอร์ราทิโอเปปทิเดสย่างไร?
- ยาเซอร์ราทิโอเปปทิเดสมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
- ควรเก็บรักษายาเซอร์ราทิโอเปปทิเดสอย่างไร?
- ยาเซอร์ราทิโอเปปทิเดสมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
- บรรณานุกรม
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics)
- โรคหืด (Asthma)
- ยาต้านการแข็งตัวของเลือด: ยากันเลือดแข็งตัว (Anticoagulants)
- ยาฆ่าเชื้อ (Antimicrobial drug) ยาแก้อักเสบ (Anti inflammatory drug)
บทนำ: คือยาอะไร?
ยาเซอร์ราทิโอเปปทิเดส (Serratiopeptidase) เป็นเอ็นไซน์ชนิดหนึ่งที่ใช้ย่อยโปรตีน ผลิตจากแบคทีเรียกลุ่ม Enterobacterium Serratia sp. ทางวงการแพทย์นำเซอร์ราทิโอเปป ทิเดสมาใช้เป็นยารักษาอาการอักเสบและอาการปวด และมักจะใช้ควบคู่ร่วมกับยาปฏิชีวนะ
ยาเซอร์ราทิโอเปปทิเดสมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
ยาเซอร์ราทิโอเปปทิเดส มีสรรพคุณ/ข้อบ่งใช้ เช่น
- รักษาอาการอักเสบ เช่น ภาวะช้ำเลือดบริเวณผิวหนังเมื่อได้รับบาดเจ็บ, ภาวะเลือด ออกบริเวณเนื้อเยื่อหลังผ่าตัด เป็นต้น
- ช่วยย่อยเสมหะที่ตกค้างในบริเวณหลอดลม
- เป็นยาที่ใช้ช่วยร่วมในการรักษาโรคหืด
- ช่วยเสริมการทำงานของยาปฏิชีวนะให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ยาเซอร์ราทิโอเปปทิเดสมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
ยาเซอร์ราทิโอเปปทิเดส มีคุณสมบัติ/กลไกการออกฤทธิ์ในการย่อยโปรตีน ยานี้จึงสามารถทำลายโครงสร้างของเลือดที่เกิดขึ้น ขณะมีบาดแผลและตกค้างอยู่ในเนื้อเยื่อเหล่านี้ ยานี้จึงช่วยให้แผลหายอักเสบเร็วขึ้น เพราะเลือดค้างเหล่านี้จะเป็นตัวกีดกันและทำให้ยาปฏิ ชีวนะออกฤทธิ์ได้ไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งเป็นสาเหตุให้อาการอักเสบจากการบาดเจ็บหรือจากบาด แผลหายช้า
ยาเซอร์ราทิโอเปปทิเดสมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
ยาเซอร์ราทิโอเปปทิเดส ที่มีจำหน่ายในประเทศไทย มีรูปแบบการจัดจำหน่าย เช่น
- ยารับประทานที่เป็นยาเม็ดชนิดเคลือบน้ำตาลขนาด 5 มิลลิกรัม
ยาเซอร์ราทิโอเปปทิเดสมีขนาดรับประทานอย่างไร?
ยาเซอร์ราทิโอเปปทิเดส มีขนาดรับประทาน เช่น
- ผู้ใหญ่: สามารถรับประทานได้สูงสุดถึง 6 เม็ดต่อวัน โดยแบ่งรับประทาน ครั้งละ 1-2 เม็ด ยานี้เหมาะกับการรับประทานหลังอาหารโดยไม่ต้องเคี้ยว
- เด็ก: ยังไม่มีรายงานทางคลินิกที่แน่ชัดใน ประสิทธิผล ขนาดยา และผลข้างเคียงของยานี้ในเด็ก
*****หมายเหตุ: ขนาดยา และระยะเวลาในการใช้ยาที่ระบุในบทความนี้ เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถใช้ทดแทนคำสั่งใช้ยาของแพทย์ผู้รักษาได้ การใช้ยาที่เหมาะสม ควรต้องปรึกษา แพทย์ หรือเภสัชกร ก่อนเสมอ
เมื่อมีการสั่งยา ควรแจ้งแพทย์/พยาบาล และเภสัชกรอย่างไร?
เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดรวมทั้ง ยาเซอร์ราทิโอเปปทิเดส ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาล และเภสัชกร เช่น
- ประวัติแพ้ยาทุกชนิด เช่น กินยา/ใช้ยาแล้ว คลื่นไส้มาก, แน่นหายใจติดขัด/หายใจลำบาก ,และ/หรือขึ้นผื่น
- มีโรคประจำตัวต่างๆ รวมทั้งกำลังกินยา/ใช้ยาอะไรอยู่ เพราะยาเซอร์ราทิโอเปปทิเดสอาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรืออาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กิน/ที่ใช้อยู่ก่อน
- หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์/มีครรภ์ หรือ กำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประเภทสามารถผ่านทางน้ำนม หรือทางรก และเข้าสู่ทารกจนอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อทา รกได้
หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
หากลืมรับประทานยาเซอร์ราทิโอเปปทิเดส สามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับการรับประทานยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็นสองเท่า
ยาเซอร์ราทิโอเปปทิเดสมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
ยาเซอร์ราทิโอเปปทิเดสมี ผลไม่พึงประสงค์จากยา /ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง เช่น
- สามารถพบภาวะผื่นคันตามผิวหนัง
- รู้สึกไม่สบายในระบบทางเดินอาหาร
- ในผู้ป่วยบางรายอาจมีภาวะท้องเสีย
มีข้อควรระวังการใช้ยาเซอร์ราทิโอเปปทิเดสอย่างไร?
ยาเซอร์ราทิโอเปปทิเดส มีข้อควรระวังในการใช้ดังนี้ เช่น
- ห้ามใช้กับผู้แพ้ยานี้
- ระวังการใช้ยาในผู้ที่มีภาวะ ตับ ไต ผิดปกติ
- ห้ามใช้กับผู้ป่วยที่มีภาวะเกล็ดเลือดทำงานผิดปกติ
- ห้ามใช้กับหญิงตั้งครรภ์ และหญิงที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร
- ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้
- ห้ามใช้ยาหมดอายุ
- ห้ามเก็บยาหมดอายุ
- ปฏิบัติตาม ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด รวมทั้ง เมื่อจะซื้อยาใช้เอง ควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนเสมอ
ยาเซอร์ราทิโอเปปทิเดสมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
ยาเซอร์ราทิโอเปปทิเดสมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่น เช่น
- ยาเซอร์ราทิโอเปปทิเดส จะเสริมฤทธิ์กับยาที่มีฤทธิ์ต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด/ ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulants) ซึ่งแพทย์ผู้สั่งยาเหล่านี้จะเป็นผู้ปรับขนาดการรับประทานเมื่อต้องใช้ยาร่วมกัน
ควรเก็บรักษายาเซอร์ราทิโอเปปทิเดสอย่างไร?
ควรเก็บรักษายาเซอร์ราทิโอเปปทิเดส เช่น
- เก็บยาเซอร์ราทิโอเปปทิเดสในอุณหภูมิห้อง
- เก็บยาให้พ้นจากความชื้น พ้นจากแสงแดด
- และเก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
ยาเซอร์ราทิโอเปปทิเดสมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
ยาเซอร์ราทิโอเปปทิเดส มียาชื่อการค้า และผลิตจากบริษัทต่างๆ เช่น
ชื่อการค้า | บริษัทผู้ผลิต |
---|---|
Dailat (ไดแลท) | Pharmasant Lab |
Danzen (แดนเซน) | Takeda |
Danzinin (แดนซินิน) | Inpac Pharma |
Danzyme (แดนไซม์) | Medicine Supply |
Denzo (เดนโซ) | T.O. Chemicals |
Fazen (ฟาเซน) | Pharmahof |
Medizyme (เมดิไซม์) | Utopian |
Rodase (โรเดส) | Pond’s Chemical |
Serdas (เซอร์ดาส) | Inpac Pharma |
Serradase (เซอร์ราเดส) | Siam Bheasach |
Serrano (เซอร์ราโน) | M & H Manufacturing |
Serrao (เซอร์ราว) | Masa Lab |
Serrapep (เซอร์ราเปป) | Asian Pharm |
Serrason (เซอร์ราซัน) | Unison |
Serrin (เซอร์ริน) | MacroPhar |
Serti-O (เซอร์ทิ-โอ) | Patar Lab |
Sumidin (ซูมิดิน) | Pharmaland |
Tanza (แทนซา) | T. Man Pharma |
Unizen/Unizen-F (ยูนิเซน/ยูนิเซน-เอฟ) | Unison |