ยา ในที่นี้ คือ ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug, Drug, Medicines, Medication, หรือ Medicament) หมายถึง วัตถุ และ/หรือ สารเคมีที่ใช้ในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บของมนุษย์ และสัตว์ โดยต้องใช้ความรู้ทั้งทางวิทยาศาสตร์และศิลปะมาผนวกในการ ผสม ปรุงแต่ง และแปรสภาพสาระสำคัญและส่วนประกอบอื่นตามสูตรตำรับ
ปัจจุบันวิทยาการทางการแพทย์ได้พัฒนาไปอย่างมากมาย และได้มีการคิดค้นผลิต ภัณฑ์ยาที่นอกจากใช้รักษาโรคแล้ว ยังใช้ในการป้องกันบำรุงและช่วยฟื้นฟูร่างกายให้แข็งแรง และสามารถต้านทานโรคที่จะเข้ามาคุกคามร่างกายได้อีกด้วย เช่น วัคซีน เป็นต้น
ฉลากยา (Drug label) เป็นเอกสารระบุรายละเอียดต่างๆ ดังนี้
เอกสารกำกับยา (Patient information leaflet) เป็นเอกสารระบุรายละเอียดต่างๆของยา โดยจะมีข้อมูลเกี่ยวกับยาในเชิงลึกมากกว่าฉลากยา ส่วนใหญ่เป็นข้อมูลเชิงวิชาการ โดย ทั่วไปเอกสารกำกับยาจะประกอบด้วยรายละเอียด ดังนี้
อนึ่ง รายละเอียดของเอกสารกำกับยาของแต่ละบริษัทอาจมีข้อมูลมากกว่าหรือน้อยกว่าหัวข้อข้างต้น หากผู้บริโภคสามารถอ่านและศึกษาทำความเข้าใจก็จะเป็นประโยชน์ต่อการนำไป ใช้ได้ดียิ่งขึ้น และเมื่อมีข้อสงสัยในเรื่องของยา ควรปรึกษาแพทย์ พยาบาล และ/หรือ เภสัชกร เพิ่มเติมเสมอ
หากแบ่งยาแผนปัจจุบันตามหลักของกฎหมาย โดยสำนักคณะกรรมการอาหารและยา สามารถจำแนกยาเป็นหมวดได้ดังนี้
อนึ่ง คณะกรรมการอาหารและยา ประเทศสหรัฐอเมริกายังแบ่งระดับความปลอดภัยของการใช้ยาในหญิงมีครรภ์ (FDA Pregnancy Safety Index/PSI) ออกเป็น 5 หมวด/Category ดังนี้
เทคโนโลยีในการผลิตยาแผนปัจจุบันจะพัฒนารูปแบบของยาให้เหมาะสมกับผู้บริโภค โดยทำให้มีทางเลือกในการใช้ยามากขึ้น รูปแบบจำหน่ายของยาแต่ละตำรับอาจจำแนกตามวัตถุประสงค์การใช้ยาได้ดังนี้
ชื่อสามัญของยา (Generic name) คือ ชื่อทางวิทยาศาสตร์ที่มีที่มาจากตัวยาหลักของยาชนิดนั้นๆ ดังนั้นยาชนิดเดียวกันแต่ผลิตจำหน่ายจากหลายๆบริษัทโดยมีชื่อทางการค้าต่างกัน จะมีชื่อสามัญตัวเดียวกันเสมอ และถือเป็นชื่อสากลโดยเป็นที่ยอมรับในหลายประเทศทั่วโลก
ชื่อทางการค้า (Trade name) ถูกตั้งขึ้นด้วยเหตุผลทางธุรกิจและการค้า ยาที่มีชื่อสามัญเดียวกันมักจะถูกผลิตจากบริษัทยาหลายแห่ง ดังนั้นแต่ละบริษัทจึงต้องตั้งชื่อทางการค้าขึ้นมาเพื่อให้เห็นความแตกต่างในด้านรูปลักษณ์ ตลอดจนกระทั่งราคาซื้อขาย และง่ายต่อการจดจำ แต่สรรพคุณในการรักษาจะเช่นเดียวกับยาที่มีชื่อยาสามัญชนิดเดียวกัน
อนึ่ง อ่านเพิ่มเติมในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ประเภทยา: ชื่อสามัญและยาต้น แบบ
การกินยาให้ได้ประสิทธิผลในการรักษา ต้องอาศัยความเข้าใจในธรรมชาติของยาชนิดนั้นๆ ยากินหลายชนิดต้องกินก่อนอาหาร ½ - 1 ชั่วโมง ด้วยธรรมชาติของยานั้นอาจจะถูกรบกวนการดูดซึมหากมีอาหารอยู่ด้วย หรือยาบางกลุ่มจะถูกทำลายด้วยน้ำย่อยและกรดหากกินพร้อมอาหาร จึงต้องกินก่อนอาหาร ส่วนยาหลังอาหาร หรือยาที่ต้องกินพร้อมอาหาร ย่อมมีเหตุผลเช่นเดียวกัน ยาหลายกลุ่มหากกินในขณะที่ท้องว่าง อาจเกิดอาการระคายเคืองในกระเพาะอาหาร-ลำไส้ ด้วยยาชนิดนั้นๆมีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งกรดและน้ำย่อยให้ออกมามาก จึงจำเป็นต้องกินพร้อมอาหาร ยังมีเหตุผลอื่นๆอีก อาทิเช่น ยาบางกลุ่มต้องละลายตัวเองกับไขมันในอาหารก่อน ถึงจะสามารถดูดซึมได้ จึงต้องกินพร้อมอาหารทันที หรือกินหลังอาหาร เช่น ยากลุ่มวิตามิน เอ ดี อี เค เป็นต้น
ยาหลายชนิดจัดเป็นยาอันตราย หากได้รับในปริมาณมากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อร่างกาย หรือก่อให้เกิดพิษกับอวัยวะต่างๆ หากได้รับยาน้อยเกินไป หรือได้รับยาชนิดที่ไม่ตรงกับโรคก็ไม่สามารถรักษาโรคได้ กล่าวคือ อาการของโรคไม่ดีขึ้นแต่กลับลุกลาม การรักษายุ่งยากกว่าเดิม นอกจากนี้ การซื้อยากินเองอาจได้รับผลเสียและมีข้อจำกัดมากมายโดยมีหัวข้อที่ต้องใส่ใจดังนี้
คำเตือนและข้อควรระวัง หรือ Special precaution (SP) จัดเป็นข้อควรระวังเป็นพิเศษที่เตือนก่อนการใช้ยา เช่น ระวังใช้ยากับผู้ป่วยที่เป็นโรคตับ-โรคไต การใช้ยากับผู้ที่มีแผลในกระเพาะอาหาร ขณะใช้ยานี้ต้องเฝ้าระวังการทำงานของตับ-ไต ระวังการเกิดภาวะหอบหืด ระวังการเกิดภาวะตกเลือด ฯลฯ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ได้ถูกระบุในเอกสารกำกับยา
กลุ่มยาที่ประชาชนทั่วไปสามารถหาซื้อรับประทานเองได้ เป็นกลุ่มยาสามัญประจำบ้าน (http://pharmanet.co.th/articles.php?action=1&article_no=71) ที่เหมาะกับการรักษาโรคซึ่งมีอาการไม่รุนแรงมากนัก เช่น ท้องอืดเฟ้อ ท้องเสียชนิดไม่รุนแรง สภาวะท้องผูก ฯลฯ โดยยาเหล่านี้ถูกขึ้นทะเบียนเป็นชนิดยาสามัญประจำบ้าน และถือว่ามีความปลอดภัยสูง อย่าง ไรก็ตามการบริโภคยาสามัญประจำบ้านแบบผิดผิด ย่อมก่อให้เกิดผลเสียตามมาได้มาก กล่าว คือ กินผิดขนาด ผิดเวลา ผิดสรรพคุณ ย่อมไม่ส่งผลดีต่อการรักษาและอาจเกิดโทษตามมาได้มาก ดังนั้นการซื้อยากินเองต้องศึกษารายละเอียดของยานั้นๆให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ ควรปรึก ษาแพทย์ พยาบาล และ/หรือ เภสัชกร เพื่อให้การกินยาเกิดประโยชน์สูงสุดต่อร่างกาย
การแพ้ยา เป็นการตอบสนองที่ผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกายเมื่อได้รับยาชนิดใดชนิดหนึ่ง ไม่ว่าจะได้รับยาด้วยวิธีต่างๆ เช่น การกิน การฉีด หรือการทา อาจจะเกิดอาการผิดปกติขึ้นได้ โดยระดับความรุนแรงของอาการ มีได้ตั้งแต่ในระดับน้อยๆไปจนถึงขั้นอันตรายถึงแก่ชีวิต กรณีแพ้ยาแบบน้อยๆไม่รุนแรงมาก อาการจะหายไปเองภายใน 1–2 วัน แต่ถ้าอาการแพ้มากหรือรุนแรง ควรต้องส่งคนไข้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอย่างฉุกเฉิน
การแพ้ยา แสดงออกได้หลายอาการ ที่พบบ่อย ได้แก่
การใช้ยามีทั้งประโยชน์และโทษ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความปลอดภัยมากที่สุด เมื่อกินยา หรือใช้ยา ควรต้องสังเกตตนเองเสมอ พร้อมกับปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด หากมีอาการผิดปกติต่างๆ ควรหยุดกินยาแล้วรีบปรึกษาแพทย์ พยาบาล หรือ เภสัชกร นอกจากนั้น คือ ต้องจำให้ได้ว่าแพ้ยาอะไร และต้องแจ้ง แพทย์ พยาบาล เภสัชกรถึงการแพ้ยาเสมอ และต้องไม่กินยาหรือใช้ยาชนิดนั้นๆอีก
1. สำเนาประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบัน http://drug.fda.moph.go.th/zone_law/law024.asp [2014,April5]
2. MIMS Pharmacy THAILAND 110th Edition 2008
3. http://narcotic.fda.moph.go.th/welcome/?p=3784 [2014,31March ].
4. http://www.mims.com [2014,March31].
updated 2014, April 5