มะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน (ตอนที่ 2 และตอนจบ)

มะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน-2

นอกนั้นจะเป็นมะเร็งกล้ามเนื้อลาย (Rhabdomyosarcoma = RMS) มะเร็งของเนื้อเยื่อบุภายในข้อ (Synovial sarcoma) และเนื้องอกของหลอดเลือด (Vascular sarcomas) และ Clear cell sarcoma ซึ่งเป็นมะเร็งประเภทหนึ่งที่สามารถเกิดที่เนื้อเยื่อที่บุอวัยวะต่างๆได้

ในการวินิจฉัยโรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อนทำได้ด้วยการ

  • การตรวจ MRI
  • ตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ (Biopsy)
  • การตรวจยีน (Genetic testing)

สำหรับการรักษาส่วนใหญ่ยังใช้การตัดอวัยวะส่วนที่เป็นมะเร็งออกไป (Amputation) อย่างไรก็ดี มะเร็งเนื้อเยื่ออ่อนมีโอกาสในการกลับมาเป็นซ้ำ (Recurrence rates) สูงถึงร้อยละ 77 และมักเกิดข้างเดียวกับครั้งก่อน แต่ไปเติบโตยังเนื้อเยื่อที่อยูใกล้เคียง (Local metastasis)

และหากมีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง จะมีการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองเซนติเนล (Sentinel lymph node biopsy) และต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้กับก้อนมะเร็ง (Regional lymph node) ออกไป

ส่วนการรักษาด้วยเคมีบำบัด (Chemotherapies) และรังสีบำบัด (Radiation therapy) นั้น ยังให้ผลได้น้อยในการรักษาโรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน

อย่างไรก็ดี ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพัฒนาวิธีการรักษาแบบอื่น เช่น

  • การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy)
  • การให้ยายับยั้งการสร้างเส้นเลือดใหม่ (Anti-angiogenic therapy)
  • การให้ยาเจาะจงเซลล์มะเร็ง (Targeted therapy)
  • การใช้ไวรัสรักษามะเร็ง (Oncolytic viral therapy)

สำหรับการพยากรณ์โรค (Prognosis) นั้นพบว่า อัตราการรอดชีวิต 5 ปี และ 10 ปีของผู้ป่วยโรคมะเร็งเนื้อเยื่ออ่อนอยู่ที่ประมาณร้อยละ 50-70 และร้อยละ 42-55 ตามลำดับ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ

  • เพศ – ผู้หญิงมีโอกาสดีกว่าผู้ชาย
  • บริเวณที่เป็น – หากบริเวณที่เป็นอยู่ห่าง (Distal lesions) จะมีโอกาสดีกว่าบริเวณที่อยู่ใกล้ (Proximal lesions)
  • ระยะเวลาที่ตรวจพบ – หากตรวจพบในระยะแรกจะมีผลการรักษาที่ดีกว่า
  • ขนาดก้อนเนื้อ – ก้อนเนื้อที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 2 เซนติเมตร มีการตายเฉพาะส่วน (Necrosis) และมีการแพร่กระจายเข้าสู่หลอดเลือดจะมีผลการรักษาที่ไม่ดี

แหล่งข้อมูล:

  1. Epithelioid Sarcoma. http://sarcomahelp.org/epithelioid-sarcoma.html [2017, August 1].
  2. pithelioid sarcoma. https://en.wikipedia.org/wiki/Epithelioid_sarcoma [2017, August 1].