มะเร็งทวารหนัก...โรคเสี่ยงเพศสัมพันธ์มาแรงแซงเอดส์ (ตอนที่ 4 และตอนจบ)

แพทย์ยังมีทางเลือกการรักษามะเร็งทวารหนักด้วยวิธี ผ่าตัด (Surgery) ซึ่งมีอยู่ 2 วิธีย่อย คือ

  • การผ่าตัดเพื่อเอามะเร็งทวารหนักระยะแรกออก ซึ่งมะเร็งยังมีขนาดเล็กมาก และยังไม่ลามออกไปนอกช่องทวาร โดยแพทย์จะผ่าเอา ก้อนเนื้อและเนื้อเยื่อดีบริเวณรอบๆออกไปบางส่วนด้วย ในบางครั้ง มะเร็งระยะแรกแบบนี้ สามารถผ่าตัดออกได้ โดยไม่ต้องทำลายกล้ามเนื้อหูรูดบริเวณรอบๆ ช่องทวาร (Anal sphincter muscle) กล้ามเนื้อ หูรูดดังกล่าว ทำหน้าที่ควบคุมการขับถ่ายอุจจาระ ดังนั้นแพทย์จึงพยายามผ่าตัดโดยให้กล้ามเนื้อดังกล่าวยังคงอยู่ หลังผ่าตัด แพทย์อาจแนะนำให้รักษาด้วยวิธีเคมีบำบัดและการฉายรังสีต่อ ขึ้นอยู่กับมะเร็งของคนไข้ หากมะเร็ง ของคนไข้ไม่สามารถผ่าออกได้โดยไม่ทำลายกล้ามเนื้อหูรูด แพทย์อาจแนะนำให้รักษาด้วยวิธีผสมผสาน เคมีบำบัดและ การฉายรังสีก่อน ซึ่งวิธีดังกล่าว อาจช่วยลดขนาดมะเร็งให้เล็กลงจนแพทย์สามารถผ่าตัดได้โดยที่ไม่กระเทือน ถึงกล้ามเนื้อหูรูดดังกล่าว
  • การผ่าตัดมะเร็งระยะสุดท้ายหรือมะเร็งที่ไม่ตอบสนองกับการรักษาวิธีอื่น ซึ่งครอบคลุมบริเวณกว้างกว่า เรียกว่า “การผ่าตัดท้องและฝีเย็บ” (Abdominoperineal resection: APR ) ระหว่างการผ่าตัดแบบนี้ แพทย์จะผ่าเอาช่องทวาร ลำไส้ตรง และลำไส้ใหญ่บางส่วนออก หลังจากนั้นแพทย์ก็จะเย็บลำไส้ใหญ่ที่เหลือเข้ากับรูเปิด ในช่องท้อง ซึ่งรูเปิดนี้ จะเป็นช่องทางให้ของเสียไหลผ่านออกจากร่างกาย และไปรวมตัวกันในทวารหนักเทียมหน้าท้อง (Colostomy bag)

ไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยวิธีการผสมผสานระหว่างเคมีบำบัดและการฉายรังสี หรือวิธีการผ่าตัด หากคนไข้ป่วยเป็น โรคเอดส์ร่วมด้วย ก็จะมีแนวโน้มที่จะเกิดผลข้างเคียงมากขึ้นเมื่อเข้ารับการรักษาแต่ละวิธี เนื่องจากการรักษาดังกล่าวทำให้ ร่างกาย ของคนไข้ที่อ่อนแออยู่แล้ว ยิ่งอ่อนแอลงไปอีก ผลข้างเคียงที่รุนแรงนี้ทำให้ยากลำบากมากสำหรับ คนไข้ในการที่จะทนรับการ รักษาจนจบหรือผ่าตัดให้เสร็จสิ้น

แต่สิ่งที่สำคัญที่ควรรู้ ก็คือวิธีช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มการป้องกันไม่ให้เป็นมะเร็งทวารหนัก ได้แก่

  • มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย หรือการละเว้นการมีเพศสัมพันธ์อาจช่วยป้องกันการติดเชื้อเอชพีวี (HPV) และเอชไอวี (HIV) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสสองชนิดที่ติดต่อผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์ และเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งทวารหนัก หากคุณเลือกที่จะมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก จงใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งของการมีเพศสัมพันธ์เพื่อความปลอดภัยของคุณเอง
  • ฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อเอชพีวี (HPV)/วัคซีนเอชพีวี/วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก มีวัคซีน 2 ตัว คือ Gardasil และ Cervarix ที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อเอชพีวี Gardasil นั้นได้รับการอนุมัติให้ใช้กับทั้งเพศชายและหญิงที่มีอายุระหว่าง 9 - 26 ปี ส่วน Cervarix ใช้กับเด็กผู้หญิงและหญิงสาวอายุระหว่าง 10 - 25 ปีเท่านั้น แพทย์หวังว่าวัคซีนทั้งสองตัวนี้จะช่วยป้องกันมะเร็งหลากชนิดที่มีผลมาจากเชื้อเอชพีวี (HPV) ในผู้หญิง รวมถึงมะเร็งปากมดลูก (Cervical cancer) และมะเร็งทวารหนักเองด้วย วัคซีน Gardasil ฉีดให้ทั้งสองเพศ เพื่อป้องกันการเกิดหูดในอวัยวะเพศที่เกิดจากเชื้อเอชพีวี (HPV)
  • เลิกสูบบุหรี่ ไม่สูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่เพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเป็นมะเร็งทวารหนักนั่นเอง างในและบริเวณช่องทวาร รวมไปถึงการแข็งและแคบตัวของช่องทวารด้วย

แหล่งข้อมูล:

  1. [Anal cancer] Prevention. http://www.mayoclinic.com/health/anal-cancer/DS00852/DSECTION=prevention [2012, December 17].
  2. 2. [Anal cancer] Treatments and drugs. http://www.mayoclinic.com/health/anal-cancer/DS00852/DSECTION=treatments-and-drugs [2012, December 17].