พักตับก่อนตับแข็ง (ตอนที่ 4)

พักตับก่อนตับแข็ง

อาการแทรกซ้อนอื่นๆ ที่รุนแรง (ต่อ)

  • มีความเสี่ยงในการติดเชื้อสูง
  • เลือดไหลและเป็นรอยฟกช้ำง่าย
  • เต้านมโตในผู้ชาย (Gynecomastia)
  • ลูกอัณฑะเล็กลงในผู้ชาย (Testicular atrophy)
  • หมดประจำเดือนก่อนวัย
  • สูญเสียมวลกล้ามเนื้อ
  • ภาวะทุพโภชนาการ (Malnutrition)
  • เป็นมะเร็งที่ตับ
  • กระดูกแตกหักง่าย
  • เยื่อบุช่องท้องอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (Spontaneous bacterial peritonitis = SBP)
  • อาการม้ามทำงานผิดปกติหรือทำงานมากเกินปกติ (Hypersplenism)

เพราะตับแข็งระยะแรกมักไม่แสดงอาการ ดังนั้นการตรวจพบมักเกิดจากการตรวจร่างกาย (Physical exam) ด้วยการตรวจเลือดทั่วไป หากมีข้อสงสัยแพทย์อาจสั่งให้ตรวจทางห้องแล็ปเพิ่มเติมดังนี้

  • ตรวจการทำงานของตับ ดูค่า Bilirubin ที่มีมากขึ้นอันเนื่องมาจากการที่เซลล์เม็ดเลือดแดงแตกตัว และดูค่าเอนไซม์ที่บ่งถึงการที่ตับถูกทำลาย
  • ตรวจการทำงานของไต ดูค่า Creatinine ที่แสดงถึงการทำงานของไตอาจลดลงในระยะท้ายๆ ของโรคตับแข็ง (Decompensated cirrhosis)
  • ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ
  • ตรวจการแข็งตัวของเลือด (Clotting)

นอกจากนี้ยังมีการตรวจวินิฉัยโรคตับแข็งด้วยวิธีอื่นๆ อีก ซึ่งได้แก่

  • เครื่องวัดความยืดหยุ่นของตับ (Magnetic resonance elastography / transient elastography) โดยเมื่อใช้เครื่องนี้แล้ว อาจจะไม่จำเป็นต้องมีการนำชิ้นเนื้อไปตรวจอีกก็ได้
  • เอ็มอาร์ไอ
  • ซีทีสแกน
  • อัลตราซาวด์
  • การนำชิ้นเนื้อไปตรวจ (Biopsy)
  • การผ่าตัด หรือ การส่องกล้อง

แหล่งข้อมูล

1. Cirrhosis of the Liver. http://www.webmd.com/digestive-disorders/cirrhosis-liver [2016, August 28].

2. Cirrhosis. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/cirrhosis/home/ovc-20187218 [2016, August 28].

3. Cirrhosis (Liver). http://www.medicinenet.com/cirrhosis/article.htm [2016, August 28].