ฝืนไม่ไหว ใจให้หยิบ (ตอนที่ 4 และตอนจบ)

ฝืนไม่ไหวใจให้หยิบ

การรักษาโรคคลีฟโทมาเนียต้องใช้ทั้งยาและการรักษาทางจิต แต่ยังไม่มีมาตราฐานการรักษาที่แน่ชัด ผู้ป่วยอาจจะต้องทดลองวิธีการรักษาหลายวิธีเพื่อดูว่าอะไรที่ทำให้อาการของตัวเองดีขึ้น

ในการรักษาด้วยยา องค์การอาหารและยา (FDA) ยังไม่ได้รับรองยาที่ใช้เฉพาะกับโรคคลีฟโทมาเนีย แพทย์อาจจ่ายยาต้านซึมเศร้าโดยเฉพาะยากลุ่ม Selective serotonin reuptake inhibitor (SSRI) เช่น

  • ยา Fluoxetine (นิยมใช้มากที่สุด)
  • ยา Fluvoxamine
  • ยา Paroxetine
  • ยา Sertraline

ส่วนยาเสพติดที่เรียกว่า Opioid antagonist อาจจะใช้เพื่อช่วยลดแรงกระตุ้นให้อยากขโมยได้

ส่วนการรักษาทางด้านจิตบำบัด (Psychotherapy) ที่เรียกว่า การบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (Cognitive behavioral therapy = CBT) อาจช่วยได้ดังนี้

  • Covert Sensitization หมายถึง การจินตนาการว่ามีการขโมยและได้รับผลด้านลบ เช่น การถูกจับ ทั้งนี้ เพื่อสร้างการเรียนรู้ใหม่
  • Aversion therapy หมายถึง การใช้วิธีที่เจ็บปวดเล็กน้อย เช่น เมื่อมีแรงกระตุ้นให้ขโมย ให้การกลั้นหายใจจนรู้สึกว่าหายใจไม่ออก
  • Systematic desensitization หมายถึง วิธีการผ่อนคลายและจินตนาการว่า ผู้ป่วยสามารถควบคุมแรงกระตุ้นที่จะขโมยได้

ถือเป็นปกติในการที่จะเกิดการกลับเป็นซ้ำของโรคคลีฟโทมาเนีย ดังนั้นเพื่อป้องกันการเป็นซ้ำต้องยึดติดทำตามแผนการรักษา หากมีความรู้สึกที่อยากขโมยให้ติดต่อแพทย์หรือผู้ที่ไว้ใจได้

ส่วนการดูแลตัวเองนั้น ควรปฏิบัติตัวดังนี้

  • เข้มงวดกับแผนการรักษา กินยาตามแพทย์สั่งและเข้าร่วมตามตารางกิจกรรมการรักษา พึงระลึกว่า นี่เป็นสิ่งที่ทำได้ยากและบางครั้งอาจจะรู้สึกท้อ
  • พยายามสังเกตตัวเองว่าอะไรก่อให้เกิดแรงกระตุ้น เช่น สถานการณ์ ความคิด ความรู้สึก ที่เป็นจุดกระตุ้นให้อยากขโมย
  • หาทางออกอื่น เช่น การออกกำลังกาย การทำกิจกรรมสันทนาการ
  • พยายามผ่อนคลายและจัดการกับความเครียด เช่น เล่นโยคะ ไทเก็ก
  • เข้าร่วมในกลุ่มช่วยเหลือตัวเอง (Self-help group)

บรรณานุกรม

1. Kleptomania. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/kleptomania/basics/definition/con-20033010 [2017, February 11]

2. Kleptomania. http://my.clevelandclinic.org/health/articles/kleptomania [2017, February 11]