ผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ กลไกสมัยใหม่ (ตอนที่ 1)

เมื่อวันที่ 28 กันยายน รองศาสตราจารย์นายแพทย์ปรีชา สุนทรานันท์ รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและกิจกรรมเพื่อสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาลบาล มหาวิทยาลัยมหิดล แจ้งว่า โรงพยาบาลศิริราช จะเปิดตัวหุ่นยนต์ผ่าตัดรุ่นใหม่ หลังใช้หุ่นยนต์ตัวแรกผ่าตัดผู้ป่วย สำเร็จกว่า 1,000 ราย โดยจะแถลงเปิดตัวในวันที่ 1 ตุลาคมนี้ เวลา 10.00 น.ณ ห้องอทิตยาทรกิติคุณ ตึกสยามินทร์ชั้น 7 รพ.ศิริราช โดยมี ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์อุดมคชินทร คณบดี เป็นประธาน

การผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ (Robotic surgery) เป็นวิธีการที่ศัลยแพทย์ทำการผ่าตัด ด้วยคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมเครื่องมือผ่าตัดขนาดเล็กจิ๋วที่ติดอยู่กับมือหุ่นยนต์จากระยะไกล (Remote control) โดยทำหัตถการ (Procedure) นี้ผ่านการใช้ดมยาสลบ (General anesthesia) กล่าวคือผู้ป่วยหลับอยู่โดยปราศจากความเจ็บปวด

ในขั้นแรก ศัลยแพทย์นั่งอยู่ใกล้สถานีคอมพิวเตอร์ แล้วสอดใส่เครื่องมือผ่าตัดเข้าไปในร่างกายผู้ป่วย ผ่านการเจาะรูเป็นแผลเล็กๆ แล้วกำกับการเคลื่อนไหวของมือหุ่นยนต์ด้วยมือของศัลยแพทย์เอง โดยมีหลอดบอบบางซึ่งมีกล้องถ่ายรูปติดอยู่ที่ปลาย เป็นการผ่าตัดภายใต้ลำกล้อง (Endoscope) ชนิดหนึ่ง ที่ทำให้ศัลยแพทย์ สามารถมองเห็นภาพขยาย 3 มิติ ของร่างกายบนจอ (Monitor) ในเวลาจริง (Real time)

การผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ เป็นหัตถการชนิดที่คล้ายคลึงกับการผ่าตัดหน้าท้องภายใต้ลำกล้อง (Laparoscopic surgery) ซึ่งทำโดยผ่านการเจาะรู ให้มีแผลเล็กกว่าการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง (Open surgery) แบบดั้งเดิม การเคลื่อนไหวเฉพาะที่ (Precise movement) นี้เป็นการผ่าตัดที่ให้ประโยชน์มากกว่า วิธีการมาตรฐานของการผ่าตัดภายใต้ลำกล้อง

บางครั้ง การผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ ทำให้ศัลยแพทย์ทำหัตการที่รุกล้ำ (Invasive) ร่างกายด้วยบริเวณที่แคบกว่า (Less-invasive) ซึ่งก่อนหน้านี้ หัตถการเดียวกันสามารถทำได้เฉพาะการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง (ซึ่งรุกล้ำร่างกาย) เท่านั้น เมื่อวางมือหุ่นยนต์บนหน้าท้อง (Abdomen) ศัลยแพทย์สามารถใช้มือหุ่นยนต์ทำหัตถการได้ง่ายกว่าเครื่องมือในการผ่าตัดภายใต้ลำกล้อง

หุ่นยนต์ยังช่วยลดการเคลื่อนไหวของศัลยแพทย์ อาทิ การเคลื่อนไหวของหุ่นยนต์เพียงครึ่งนิ้ว ต่อทุกๆ 1 นิ้วของการเคลื่อนไหวของศัลยแพท์ในการเปิดหน้าท้อง ซึ่งลดการสั่นของมือ (Hand tremor) และการเคลื่อนไหวที่อาจทำให้การผ่าตัดคลาดเคลื่อน

นอกจากนี้ เครื่องมือหุ่นยนต์ยังสามารถเข้าถึงบริเวณที่ยากต่อการเข้าถึงภายในร่างกาย ผ่านการเปิดแผลที่เล็กกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับการผ่าตัดเปิดหน้าท้องแบบดั้งเดิม และการผ่าตัดหน้าท้องภายใต้ลำกล้อง อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ ไม่สามารถใช้เพื่อหัตถการบางประเภท ที่มีความซับซ้อน อาทิ การผ่าตัดหัวใจบางโรค ที่ต้องอาศัยความสามารถในการเคลื่อนไหวเครื่องมือในทรวงอกผู้ป่วย

ระหว่างการผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ ศัลยแทพย์จะมองเห็นบริเวณที่ผ่าตัดได้ชัดเจน และอยู่ในต่ำแหน่งที่สะดวกกว่า และสามารถเคลื่อนไหวตามวิธีธรรมชาติมากกว่าขณะผ่าตัดภายใต้ลำกล้อง และการผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์อาจใช้เวลาที่ยาวนานกว่า เนื่องจากเวลาที่ต้องใช้ไปในการติดตั้งระบบหุ่นยนต์ นอกเหนือจากราคาที่แพงมากและไม่มีให้ใช้ในโรงพยาบาลทุกแห่ง

แหล่งข้อมูล:

  1. ศิริราชสุดเจ๋งเตรียมเปิดตัวหุ่นยนต์รุ่นใหม่ช่วยผ่าตัด http://www.naewna.com/local/23996 [2012, October 2].
  2. Robotic surgery. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/007339.htm [2012, October 2].