ปลูกไต ปลูกชีวิต (ตอนที่ 3)

ปลูกไตปลูกชีวิต

หากการผ่าตัดเปลี่ยนถ่ายไตล้มเหลว คนไข้ยังสามารถฟอกไตได้และรอการผ่าตัดครั้งต่อไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสุขภาพของคนไข้เอง

สำหรับความเสี่ยงจากการผ่าตัดปลูกถ่ายไตที่อาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนนั้น ได้แก่

  • เกล็ดเลือดจับตัวเป็นลิ่ม หรือเป็นก้อน (Blood clots) ซึ่งอาจเกิดได้ร้อยละ 1 โดยบางกรณีอาจใช้ยาช่วย แต่ถ้าจำเป็นอาจต้องผ่าตัดไตที่รับบริจาคออกเลย
  • ตกเลือด (Bleeding)
  • ท่อไต (Ureter) รั่วหรือตีบ
  • ติดเชื้อเช่น โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ (Urinary tract infections = UTIs) ไข้หวัด โรคปอดอักเสบ (Pneumonia) โรคติดเชื้อไซโตเมกาโลไวรัสหรือโรคติดเชื้อซีเอมวี (Cytomegalovirus = CMV)
  • การเข้ากันไม่ได้กับไตที่ได้รับบริจาค
  • เสียชีวิต กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Heart attack) เส้นเลือดอุดตันในสมอง (Stroke) เนื่องจากเส้นเลือดตีบ (Arterial stenosis) และความดันโลหิตสูง

และหลังการปลูกถ่ายไต คนไข้จะต้องกินยาเพื่อป้องกันร่างกายจากการปฏิเสธอวัยวะ หรือที่เรียกว่า ยากดภูมิ (Immunosuppressant medicine) ซึ่งยานี้สามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงของยาได้หลากหลาย เช่น

  • เป็นสิว
  • กระดูกพรุน (Osteoporosis) และกระดูกตาย (Osteonecrosis)
  • เบาหวาน
  • ผมดกหรือผมร่วง
  • ความดันโลหิตสูง
  • คลอเรสเตอรอลสูง
  • มีความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็ง โดยเฉพาะโรคมะเร็งผิวหนัง มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma) และโรคมะเร็งคาโปซิซาร์โคมา (Kaposi's sarcoma)
  • ติดเชื้อ
  • บวมน้ำ (Edema)
  • น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
  • ท้องเสีย
  • เหงือกบวม
  • อารมณ์แปรปรวน (Mood swings)

ทั้งนี้ อาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น อาจเกิดในระยะเวลา 2-3 เดือนหลังการปลูกถ่ายไต แต่ก็มีบางกรณีที่ใช้เวลานานหลายปีกว่าจะเกิดอาการ

แหล่งข้อมูล

1. Kidney transplant. http://www.mayoclinic.org/tests-procedures/kidney-transplant/basics/definition/prc-20014007 [2016, April 17].

2. Kidney transplant. https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003005.htm [2016, April 17].

3. Kidney Transplant. http://www.nhs.uk/conditions/kidney-transplant/Pages/Introduction.aspx [2016, April 17].