ปฐมพยาบาลภาคสนาม (ตอนที่ 1)

ปฐมพยาบาลภาคสนาม

กระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมกับกรุงเทพมหานคร กระทรวงกลาโหม ตำรวจ โรงเรียนแพทย์ เอกชนและมูลนิธิ จัดบริการในลักษณะศูนย์ปฏิบัติการร่วมการแพทย์และสาธารณสุข ให้บริการประชาชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อดูแลประชาชนที่มาถวายสักการะพระบรมศพให้ดีที่สุด มีการวางแผนและปรับแผนการปฏิบัติงานทุกวัน

โดย นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า ศูนย์ปฏิบัติการร่วมการแพทย์และสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุขและกรุงเทพมหานคร ได้รายงานผลการดำเนินงานของหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกให้บริการประชาชนทั้งด้านร่างกายและจิตใจในช่วงระยะวิกฤตและฉุกเฉิน 72 ชั่วโมงแรก ว่า

ในส่วนกลางมีการให้บริการประชาชนรวม 115,539 คน เป็นโรคทางกาย 113,700 คน โดยร้อยละ 98 เป็นการปฐมพยาบาล ขอรับยาดม แอมโมเนีย ส่วนด้านจิตใจมีผู้ขอรับการปฐมพยาบาลจิตใจ/ขอคำปรึกษา 1,492 คน ส่วนใหญ่ได้รับบริการแล้วอาการดีขึ้น มีการส่งรักษาต่อ 66 คนด้วยโรคประจำตัว โดยในวันแรกของการปฏิบัติงานระหว่างการเคลื่อนขบวนพระบรมศพมีประชาชนรับบริการมากที่สุด 4.3 หมื่นกว่าคน

ในส่วนภูมิภาค ได้ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและโรงพยาบาลทั่วประเทศ จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกให้บริการประชาชนเช่นกัน ผลการปฏิบัติงาน 3 วัน จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ให้บริการ 170 ทีม ทีมปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์ 5,724 ทีม ทีมเยียวยาด้านจิตใจ 589 ทีม มีผู้ป่วยโรคทางกายเข้ารับบริการ 1,197 คน ทั้งนี้ หลัง 72 ชั่วโมงแรก ได้มอบนโยบายให้แต่ละพื้นที่ ปรับเปลี่ยนวางแผนการปฏิบัติงานให้เหมาะสมกับจำนวนประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรม

โดยปัจจุบัน การจัดบริการในส่วนกลางได้เพิ่มจุดให้บริการเป็น 11 จุด ประกอบด้วยหน่วยปฐมพยาบาล 9 จุด ตั้งอยู่บริเวณโรงแรมรัตนโกสินทร์ สนามหลวงฝั่งเชิงสะพานปิ่นเกล้า สนามหลวงกองอำนวยการ กทม.ประตูวิเศษชัยศรี ท่าช้าง ข้างกระทรวงกลาโหม ศาลหลักเมือง สนามหลวงฝั่งพระบรมมหาราชวัง ศาลาสหทัยสมาคม และโรงพยาบาลสนาม 2 จุด ที่บริเวณกองอำนวยการ กทม.บริเวณสนามหลวง และข้างกระทรวงกลาโหม

ทั้งนี้ นพ.โสภณ ได้ขอให้ประชาชนทุกคนดูแลสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ ระมัดระวังความเจ็บป่วยที่มาจากสภาพอากาศร้อนจัดและการมีฝนตก เตรียมร่างกายให้พร้อม ดื่มน้ำมากๆรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ออกกำลังกาย เตรียมร่ม พัด ชุดกันฝน โดยเฉพาะผู้สูงอายุ เด็กเล็ก ผู้มีโรคประจำตัวขอให้ระมัดระวังเป็นพิเศษ หากเจ็บป่วยสามารถไปรับบริการที่หน่วยปฐมพยาบาล และโรงพยาบาลสนามที่อยู่ใกล้ได้ฟรี

การปฐมพยาบาล (First aid) คือ การให้ความช่วยเหลือแก่บุคคลที่ป่วยหรือได้รับบาดเจ็บอย่างกระทันหัน โดยมีวัตถุปะระสงค์หลัก 3 ประการ (The three P's) ได้แก่

  1. รักษาชีวิต (Preserve life) ให้ความเสี่ยงจากการเสียชีวิตเกิดได้น้อยที่สด
  2. ป้องกันไม่ให้อาการเลวร้ายลง (Prevent further harm) เช่น การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากสถานที่เกิดเหตุ การห้ามเลือด
  3. ช่วยให้ฟื้นตัว (Promote recovery) จากอาการป่วยหรือบาดเจ็บที่เป็นอยู่ดีขึ้น ตลอดจนการช่วยเหลือก่อนที่ทีมแพทย์จะมาถึง เช่น การปั๊มหัวใจระหว่างการรอรถพยาบาล

บรรณานุกรม

1. สธ.ร่วมจัดหน่วยปฐมพยาบาลและโรงพยาบาลสนาม 11 จุด ดูแลประชาชนงานพระราชพิธีพระบรมศพต่อเนื่อง. http://pr.moph.go.th/iprg/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=87292 [2016, October 22].

2. First aid. 2. First aid. [2016, October 22].