ปฏิบัติการในโรงพยาบาล - จากมุมมองของผู้บริหาร
ตอนที่ 140 : ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล - ส่วนหน้างาน

ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล (Hospital Information System : HIS) เป็นระบบที่รองรับการทำงานของทุกหน่วยงานในโรงพยาบาล ประกอบด้วยส่วนการรักษาพยาบาล (Clinical) หรือ “หน้างาน” (Front office) และส่วนการบริหาร (Administration) หรือ “หลังบ้าน” (Back office)

รายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงพยาบาล ในส่วน “หน้างาน” ได้แก่

  1. ระบบงานประชาสัมพันธ์และต้อนรับ
  2. ระบบงานเวชระเบียน
  3. ระบบงานพยาบาลผู้ป่วยนอก
  4. ระบบงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน
  5. ระบบงานห้องตรวจแพทย์
  6. ระบบงานศูนย์ตรวจสุขภาพ (Check-up)
  7. ระบบงานฝากครรภ์
  8. ระบบงานเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก
  9. ระบบงานการเงินผู้ป่วยนอก
  10. ระบบงานห้องปฏิบัติการ (Laboratory)
  11. ระบบงานคลังเลือด (Blood Bank)
  12. ระบบงานพยาธิ (Pathology)
  13. ระบบงานรังสีวิทยา (X-ray)
  14. ระบบงานเวชศาสตร์ฟื้นฟู (Rehabilitation)
  15. ระบบงานแก้ไขการพูดและภาษา
  16. ระบบงานสังคมสงเคราะห์
  17. ระบบงานนัดหมายผู้ป่วย
  18. ระบบงานรับผู้ป่วยใน (Admission)
  19. ระบบงานพยาบาลผู้ป่วยใน (Ward)
  20. ระบบงานเภสัชกรรมผู้ป่วยใน
  21. ระบบงานซักรีด หรืองานผ้า
  22. ระบบงานจ่ายกลางวัสดุปลอดเชื้อ
  23. ระบบงานการเงินผู้ป่วยใน
  24. ระบบงานวิสัญญี
  25. ระบบงานห้องผ่าตัด (Operating Room)
  26. ระบบงานห้องคลอด
  27. ระบบงานโภชนาการ
  28. ระบบงานรับ-ส่งตัวผู้ป่วย

ในปัจจุบัน โรงพยาบาลบางแห่ง มีนโยบายเชื่อมโยงข้อมูลส่วนการรักษาพยาบาลกับโรงพยาบาลในเครือข่ายทุกแห่ง นอกจากนี้ยังต้องการเชื่อมโยงให้ผู้รับบริการสามารถเข้าถึงข้อมูลเฉพาะส่วนของตนเอง จึงมีการใช้อินเทอร์เน็ต (Internet) และ/หรือวงสื่อสารภายใน (Intranet) ผ่าน “ตัวกวาดส่อง” ในเว็บ (Web browser) ที่รองรับด้วยระบบแม่ข่าย/ลูกข่าย (Client/server)

ระบบดังกล่าวต้องสามารถรองรับการพิมพ์รหัสแท่ง (Barcode) และสนับสนุนการต่ออุปกรณ์อ่านรหัสแท่ง (Barcode reader) ได้ และมีการควบคุมความมั่นคง (Security) ภายใน โดยระบุชื่อผู้ใช้ (User ID) และรหัสผ่าน (Password) ที่ถูกต้อง

ผมขอเชิญชวนคุณผู้อ่านให้ (1) เขียนมาสอบถามเนื้อหาที่มีข้อสงสัย เพื่อความกระจ่างขึ้น (2) ชี้แนะข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หรือสิ่งขาดตกบกพร่อง เพื่อการแก้ไขให้ถูกต้อง (3) แสดงความคิดเห็นในแต่ละตอน ทั้งติและชม เพื่อการปรับปรุงให้ดีขึ้น และ (4) แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ของคุณผู้อ่าน เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณชนร่วมกันครับ

แหล่งข้อมูล

  1. Wagner, Karen A., Frances W. Lee and John P. Glaser (2009). Health Care Information Systems : A Practical Approach for Health Care Management (2th Ed). San Francisco, CA : Jossey-Bass, A Willey Imprint.
  2. ประสบการณ์จากเครือโรงพยาบาลกรุงเทพ กลุ่มโรงพยาบาลพญาไท ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ (โรงพยาบาลรามาธิบดี) และโรงพยาบาลประสานมิตร (มูลนิธิสมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทย)