น้ำตาลหลอก (ตอนที่ 2 และตอนจบ)

น้ำตาลหลอก-2

ทั้งนี้ ในประเทศไทยทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข กำหนดให้มีการเขียนคำเตือนบนฉลากของบรรจุภัณฑ์ที่มีแอสปาร์เทมเป็นส่วนประกอบว่า "ผู้ที่มีสภาวะฟีนิลคีโตนูเรีย ผลิตภัณฑ์นี้มีฟีนิลอะลานีน" ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีผิดปกติทางพันธุกรรมที่ไม่สามารถย่อยฟีนิลอะลานีนได้ (ในประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคนี้ราว 1 คนต่อประชากร 100,000 คน)

จากงานวิจัยหลายแห่งก็มีทั้งที่ระบุว่า แอสปาร์เทมนั้นปลอดภัยสำหรับผู้ที่บริโภคในปริมาณที่กำหนด ในขณะที่กลุ่มผู้ต่อต้านการใช้แอสปาร์เทม (Anti-aspartame activists) ก็ได้กล่าวถึงอาการหลายอย่างที่เกิดขึ้นว่ามีความสัมพันธ์กับแอสปาร์เทมด้วย เช่น

  • โรคมะเร็ง
  • ชัก
  • ปวดศีรษะ
  • หดหู่ซึมเศร้า
  • โรคสมาธิสั้น (Attention deficit hyperactivity disorder = ADHD)
  • เวียนศีรษะ
  • น้ำหนักขึ้น
  • แท้งบุตร
  • โรคแพ้ภูมิตัวเองหรือโรคลูปัส (Lupus)
  • โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease)
  • โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งหรือโรคเอ็มเอส (Multiple sclerosis = MS)

ดังนั้น ผู้บริโภคจึงควรระมัดระวังในการเลือกบริโภคให้ดี โดยอาจหาความหวานตามธรรมชาติได้จากอาหารและเครื่องดื่มอื่นแทน เช่น

  • น้ำผึ้ง
  • เมเปิ้ลไซรัป (Maple syrup)
  • น้ำหวานจากเกสรดอกไม้ (Agave nectar)
  • น้ำผลไม้
  • กากน้ำตาล (Blackstrap molasses)

อย่างไรก็ดี พึงตระหนักเสมอว่า แม้ความหวานตามธรรมชาติก็ยังมีแคลอรี่อยู่ดี ดังนั้นทางที่ดีที่สุดสำหรับผู้ที่รักสุขภาพและต้องการควบคุมน้ำหนักก็คือ ควรกินหวานในปริมาณที่น้อย

แหล่งข้อมูล:

  1. "แอสปาร์เทม" น้ำตาลเทียมยอดฮิต เสี่ยงถึงขั้นเป็นตัวการก่อมะเร็ง!? https://mgronline.com/goodhealth/detail/9600000091495 [2017, December 5].
  2. The Truth About Aspartame Side Effects. https://www.healthline.com/health/aspartame-side-effects [2017, December 5].
  3. Aspartame. https://www.cancer.org/cancer/cancer-causes/aspartame.htmx [2017, December 5].