ท้องร่วงเพราะไวรัสโรต้า (ตอนที่ 2)

ท้องร่วงเพราะไวรัสโรต้า

นอกจากนี้จะมีภาวะขาดน้ำ (Dehydration) ซึ่งปรากฏในลักษณะดังนี้

  • เซื่องซึม (Lethargy)
  • ปัสสาวะน้อยลง
  • ปากและคอแห้ง
  • รู้สึกเวียนศีรษะเมื่อยืนขึ้น
  • ร้องไห้ไม่มีน้ำตา
  • นอนไม่ปกติหรือหงุดหงิด

และหากเด็กมีอาการดังต่อไปนี้ให้นำไปพบแพทย์ทันที

  • ท้องเสียมากกว่า 24 ชั่วโมง
  • อาเจียนบ่อย
  • อุจจาระเป็นสีดำเทาหรือมีเลือดหรือหนองปน
  • อุณหภูมิสูงมากกว่า 40 C
  • เซื่องซึม หงุดหงิด หรือปวด
  • มีภาวะขาดน้ำ

เนื่องจากมีเชื้อไวรัสโรต้าหลายสายพันธุ์ ดังนั้น แม้จะมีการฉีดวัคซีนป้องกันแล้วก็ตาม เด็กอาจจะติดเชื้อได้มากกว่า 1 ครั้ง โดยเฉพาะในขวบปีแรก ซึ่งครั้งแรกที่เป็นจะมีอาการรุนแรงมากที่สุด โดยเด็กที่ได้รับการฉีดวัคซีนจะมีอาการน้อยกว่าเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีน ส่วนในผู้ใหญ่จะมีอาการที่รุนแรงน้อยกว่าเด็ก

โรคท้องร่วงจากไวรัสโรต้าสามารถแพร่กระจายได้ง่ายด้วยการสัมผัสแล้วเอามือเข้าปาก หากไม่มีการล้างมือหลังการเข้าห้องน้ำหรือเปลี่ยนผ้าอ้อม เชื้อโรคจะสามารถติดต่อได้จากทุกสิ่งที่สัมผัสและนำเข้าปากซึ่งรวมถึง

  • มือ
  • สิ่งของ เช่น ของเล่น พื้นผิววัสดุต่างๆ
  • อาหาร
  • น้ำ

โดยเชื้อไวรัสนี้สามารถอยู่บนพื้นผิววัสดุได้นานเป็นสัปดาห์หรือมากกว่า

ในส่วนการวินิจฉัยโรคสามารถทำได้ด้วยการตรวจอุจจาระในห้องแล็ป โดยใช้เทคนิค Polymerase Chain Reaction (PCR) หรือ Enzyme immunoassay

บรรณานุกรม

1. Rotavirus. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/rotavirus/home/ovc-20186926 [2017, January 15].

2. Rotavirus Infection. http://www.medicinenet.com/rotavirus/article.htm [2017, January 15].

3. Rotavirus. https://www.cdc.gov/rotavirus/about/index.html [2017, January 15].

4. Rotavirus infection - including symptoms, treatment and prevention. http://www.sahealth.sa.gov.au/wps/wcm/connect/Public+Content/SA+Health+Internet/Health+topics/Health+conditions+prevention+and+treatment/Infectious+diseases/Rotavirus+infection/ [2017, January 15].