ทางเดินน้ำดีตีบตัน (ตอนที่ 2)

ทางเดินน้ำดีตีบตัน

โรคทางเดินน้ำดีตีบตันเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ไม่ใช่โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม มักเกิดตั้งแต่ตอนที่ทารกอยู่ในมดลูกหรือตอนคลอด สิ่งที่อาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาจมีมากกว่าหนึ่งอย่าง เช่น

  • การติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียหลังคลอด เช่น โรคติดเชื้อไซโตเมกะโลไวรัส (Cytomegalovirus = CMV) เชื้อรีโอไวรัส (Reovirus) หรือ เชื้อโรต้าไวรัส (Rotavirus)
  • การมีปัญหาเรื่องภูมิต้านทาน ทำให้มีผลต่อตับหรือทางเดินน้ำดี
  • การกลายพันธุระดับยีน (Genetic mutation)
  • การมีปัญหาของตับหรือทางเดินน้ำดีขณะอยู่ในมดลูก
  • การสัมผัสกับสารพิษ

โดยร้อยละ 10-15 ของทารกที่มีปัญหาทางเดินน้ำดีตีบตันอาจจะมีอวัยวะอื่นที่มีปัญหามาแต่กำเนิดด้วย เช่น

  • หัวใจ
  • ม้าม (Polysplenia)
  • หลอดเลือด (Inferior vena caval anomalies, preduodenal portal vein)
  • ลำไส้ (Situs inversus or malrotation)

การวิเคราะห์โรคทางเดินน้ำดีตีบตันจำเป็นต้องอาศัยการทดสอบหลายตัว เด็กทารกที่เกิดได้ 2-3 สัปดาห์ แล้วยังมีอาการตัวเหลืองหรือมีอุจจาระสีเทาหรือสีขาว ควรเข้ารับการตรวจตับจากแพทย์ดังต่อไปนี้

  • กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินอาหาร (Pediatric gastroenterologist)
  • กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านตับ (Pediatric hepatologist)
  • กุมารศัลยแพทย์ (Pediatric surgeon)

ด้วยวิธีการทดสอบต่างๆ เช่น

  • การตรวจเลือด เพื่อดูสารบิลิรูบินในเลือด
  • การเอ็กซเรย์ช่องท้อง เพื่อดูสภาพตับและม้าม
  • การอัลตราซาวด์ เพื่อกำจัดข้อสังเกตุอื่นที่อาจเป็นสาเหตุทำให้ตัวเหลือง
  • Cholescintigraphy หรือ Hepatobiliary iminodiacetic acid (HIDA scan) เป็นวิธีที่ฉีดสีเข้าไปทางเส้นเลือด สีนี้จะถูกขับออกทางน้ำดี ดังนั้นเราจะเห็นลักษณะของท่อน้ำดีว่ามีการอุดกั้นหรือไม่
  • การถ่ายภาพรังสีท่อน้ำดี (Cholangiogram)
  • การตัดเนื้อเยื่อตับไปตรวจ (Liver biopsy) เพื่อดูความรุนแรงของตับแข็ง และกำจัดข้อสังเกตุอื่นที่อาจเป็นสาเหตุทำให้ตัวเหลือง
  • การผ่าตัดเพื่อการวินิจฉัย (Diagnostic surgery) สภาพตับและทางเดินน้ำดี หากพบว่าทางเดินน้ำดีตีบตัน แพทย์จะทำการผ่าตัดต่อทางเดินน้ำดีกับลำไส้แบบ Kasai (Kasai procedure) ทันที เพื่อให้น้ำดีสามารถไหลลงลำไส้ได้โดยตรง

แหล่งข้อมูล

1. Biliary Atresia. http://www.niddk.nih.gov/health-information/health-topics/liver-disease/biliary-atresia/Pages/facts.aspx 2016, May 31].

2. Biliary atresia. https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/001145.htm [2016, May 31].

3. Biliary atresia. http://www.liverfoundation.org/abouttheliver/info/biliaryatresia/ [2016, May 31].