ตื่นตระหนกเกินไปนะ (ตอนที่ 2)

อาการตื่นตระหนกที่มักเกิดและหายไปใน 10 นาที ได้แก่

  • หายใจลำบาก
  • เจ็บหน้าอก
  • รู้สึกสำลักหรือหายใจไม่สะดวก (Sensation of choking)
  • เวียนศีรษะ (Dizziness) หรือรู้สึกหน้ามืด เป็นลม (Faint)
  • สั่นเทา (Trembling)
  • เหงื่อแตก
  • คลื่นไส้ หรือ ปวดท้อง
  • มีอาการชาที่มือและขา
  • หนาวหรือร้อนวูบวาบ
  • กลัวจนควบคุมตัวเองไม่ได้เหมือนคนใกล้จะตาย

นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญคือ มีความกลัวต่อสิ่งที่จะเกิดในอนาคต จึงทำให้คนที่เป็นพยายามที่จะหลีกเลี่ยงสถานที่และสถานการณ์ที่เคยเกิดขึ้นหรือที่เขาเชื่อว่าอาจจะเกิดขึ้นได้

ปัจจัยทางจิตวิทยา ความเครียด การเปลี่ยนแปลงในชีวิตและสิ่งแวดล้อม หรือความคิดที่เกินจริง ล้วนเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคตื่นตระหนก คนที่ต้องรับผิดชอบมากก็มีแนวโน้มที่จะเป็น หรือคนที่เป็นโรคเครียดภายหลังเหตุการณที่สะเทือนขวัญ (Post-traumatic stress disorder = PTSD) ก็มีอัตราในการเป็นโรคตื่นตระหนกสูงกว่าคนปกติ

นอกจากนี้ก็มีหลักฐานบางอย่างที่กล่าวว่า ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) ภาวะฮัยเปอร์ธัยรอยดิสซึม (Hyperthyroidism) ลิ้นหัวใจยาว (Mitral valve prolapse) หูชั้นในอักเสบ (Labyrinthitis) เนื้องอกต่อมหมวกไต (Pheochromocytoma) และโรคระบบหายใจ (Respiratory conditions) ก็สามารถเป็นเหตุให้เกิดโรคตื่นตระหนกได้

การใช้ฮอร์โมนเอพิเนฟรีน (Epinephrine) เป็นสารบีบหลอดเลือด (Vasoconstrictor) เพื่อระงับความรู้สึกตอนทำฟันและการบล็อกหลังก็อาจจะทำให้ผู้ป่วยที่ไวต่อความรู้สึกเกิดอาการตื่นตระหนกได้เช่นกัน

[Epinephrine เป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งของร่างกายจะหลั่งเมื่อรู้สึกอันตรายหรือตกอยู่ในความเครียด ฮอร์โมน เช่น โกรธ ดีใจ ตื่นเต้น เป็นต้น]

การใช้สารเสพติด (Substance abuse) ก็สามารถเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการตื่นตระหนกในคนส่วนใหญ่ ส่วนการสูบบุหรี่ก็เป็นการเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคตื่นตระหนก ยิ่งเริ่มสูบบุหรี่ตอนวัยรุ่นหรือตอนเริ่มๆ เป็นผู้ใหญ่ก็ยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้น ทั้งนี้เพราะเชื่อว่าการสูบบุหรี่มีผลต่อระบบทางเดินหายใจ

นอกจากนี้ ยังมีรายงานการศึกษาบางฉบับที่ระบุว่า คาเฟอีน แอลกอฮอล์ ก็อาจมีผลต่อโรคตื่นตระหนกได้ เพราะเป็นตัวกระตุ้นให้หัวใจเต้นเร็ว ซึ่งทำให้อาการตื่นตระหนกแย่ลง

แหล่งข้อมูล

  1. Panic Disorder. http://www.webmd.com/anxiety-panic/guide/mental-health-panic-disorder [2014, May 15].
  2. Panic disorder. http://en.wikipedia.org/wiki/Panic_disorder [2014, May 15].