ติดโซเชียลถือเป็นโรคจิตนะ (ตอนที่ 4)

ติดโซเชียลถือเป็นโรคจิตนะ-4

      

      ในขณะที่สมาคมจิตเวชศาสตร์สหรัฐอเมริกา (American Psychiatric Association) ได้กล่าวถึง ผู้ที่มีภาวะการติดอินเทอร์เน็ตว่า มีลักษณะมากกว่า 3 ข้อ ดังต่อไปนี้

  • ใช้เวลาในการเล่นอินเทอร์เน็ตที่มากขึ้นเพื่อสนองตอบความพอใจที่เท่าเดิม
  • หากไม่ได้ท่องโลกออนไลน์ จะมีอาการไม่สบายใจ เช่น วิตกกังวล อารมณ์เสีย และต้องใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อคลายอาการเหล่านั้น
  • เป็นผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่ต้องการปกปิดความรู้สึกด้านลบ เช่น ความละอายใจ (Guilt) วิตกกังวล หรือ ซึมเศร้าหดหู่
  • ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตใช้เวลามากในกิจกรรมที่เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต เช่น การหาผู้ขายทางอินเทอร์เน็ต (Internet vendors) การหาหนังสืออินเทอร์เน็ต (Internet books)
  • ละเลยด้านอื่นของชีวิต เช่น ความสัมพันธ์กับคนในครอบครัว ที่ทำงาน โรงเรียน
  • พร้อมที่จะสูญเสียความสัมพันธ์ หน้าที่การงาน หรือสิ่งสำคัญอื่น เพื่อแลกกับการได้เล่นอินเทอร์เน็ต

      สำหรับสาเหตุที่แท้จริงของการติดอินเทอร์เน็ตยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่มีข้อสันนิษฐานว่าเกิดจาก

  • บุคลิกภาพ (Personality issues) – บางคนอาจมีบุคลิกภาพที่ต้องพึ่งพาสิ่งอื่น เช่น บุหรี่ แอลกอฮอล์ เล่นพนัน ติดยา หรืออินเทอร์เน็ต
  • ความขี้อาย (Shyness) – คนที่ชีวิตจริงเป็นคนขี้อาย การเล่นออนไลน์ที่ไม่ต้องเปิดเผยชื่อ (Anonymity) ทำให้เขารู้สึกว่าเขาสามารถเป็นตัวเองได้อย่างแท้จริง (True selves)
  • การตอบสนองของชีวเคมีในสมอง (Biochemical responses) – ที่ดีต่ออินเทอร์เน็ต ยิ่งทำให้มีการพึ่งพิงต่ออินเทอร์เน็ตมากขึ้น
  • การหลบเลี่ยงความเป็นจริงของตนเอง โดยการปล่อยอารมณ์ไปตามสิ่งบันเทิงหรือจินตนาการ (Escapism) – เพื่อหนีจากปัญหาหรืออารมณ์ด้านลบขณะที่เล่นอินเทอร์เน็ต ดังนั้นเมื่อเล่นแล้วรู้สึกดีขึ้นก็ยิ่งทำให้ติดอินเทอร์เน็ตมากขึ้น
  • เกิดความพึงพอใจทันที (Instant gratification) – เพราะสามารถค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว เช่น การพนัน สื่อลามก (Pornography)

      ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้มีภาวะติดอินเทอร์เน็ต ได้แก่

  • ปัจจัยทางด้านสังคม (Social factors) อย่างปัญหาสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (Interpersonal difficulties) ทำให้ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นทางออกในการหลีกหนีปัญหา หรือการขาดการสนับสนุนทางสังคม เช่น กรณีพ่อแม่ไม่มีเวลาให้ลูก จึงใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อแก้เหงา
  • ปัจจัยทางด้านจิตวิทยา (Psychological factors) บางคนมีปัญหาทางจิตเวชมาก่อน เช่น ซึมเศร้าหดหู่ วิตกกังวล ก็หันมาหาอินเทอร์เน็ตเพราะคิดว่าเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่า อย่างไรก็ดี ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าอะไรคือเหตุและผลกันแน่ เพราะบางที่ก็เป็นโรคที่เกิดขึ้นร่วมกัน (Comorbidity)
  • ปัจจัยทางชีวภาพ (Biological factors) เพราะอยู่ในสภาวะแวดล้อมและมีอิทธิพลต่อการดำรงชีพ
  • ปัจจัยอื่นๆ เช่น อายุในการเล่นอินเตอร์เน็ตครั้งแรก ความบ่อยในการใช้ ฯลฯ

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Internet addiction. https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/healthyliving/internet-addiction [2018, September 4].
  2. Internet addiction disorder. https://en.wikipedia.org/wiki/Internet_addiction_disorder [2018, September 4].