ฉุกเฉินถ้วนหน้า หนึ่งเมษาได้ฤกษ์ (ตอนที่ 2 และตอนสุดท้าย)

หลังจากที่ผู้ป่วยได้รับเรียกให้เข้าห้องตรวจ ผู้ป่วยจะได้รับการประเมินอาการอีกครั้ง สอบถามประวัติทางการแพทย์ ตรวจร่างกาย และพูดคุยถึงปัญหา และทดสอบ หรือบำบัดรักษา ถ้าอาการของผู้ป่วย รักษาได้ ผู้ป่วยก็จะได้รับการรักษา แต่ถ้าปัญหาของผู้ป่วยรุนแรง ก็อาจต้องได้รับการรักษาพิเศษ ด้วยการเข้านอน (Admit) รักษาตัวในโรงพยาบาล แพทย์อาจไม่ทราบภูมิหลังการรักษา จึงอาจมีคำถามมากมาย และผู้ป่วยอาจต้องพบแพทย์มากกว่าหนึ่งคน

เพื่อช่วยในการประเมินและเยียวยารักษา ผู้ป่วยต้องแจ้ง ปัญหาสุขภาพที่ประสบอยู่ ยาทุกชนิดที่กินอยู่และการรักษาที่มีอยู่ในปัจจุบัน การมีอาการแพ้ทุกอย่าง การตั้งครรภ์ หรือให้นมลูก (Breastfeeding) การเพิ่งกลับจากเดินทาง และรายละเอียดอื่นๆ ที่แพทย์ควรทราบ

ผู้ป่วยจะได้รับการแนะนำให้นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล หากแพทย์เชื่อว่านี่เป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วย ถ้าไม่ได้วางแผนมาก่อน อาจต้องรอคอยความพร้อมของเตียง หรือบางครั้งอาจต้องเคลื่อนย้ายไปยังโรงพยาบาลอื่น แต่ระหว่างรอคอย ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลในแผนกฉุกเฉินไปก่อน

การมีญาติหรือเพื่ออยู่ด้วย อาจช่วยให้ผู้ป่วยผ่อนคลายความเครียดที่มากับการเจ็บป่วย จึงเป็นผู้พึงปรารถนา อย่างไรก็ตาม ด้วยหตุผลเรื่องความปลอดภัย ญาติเพียงคนสองคนเท่านั้นที่อาจได้รับอนุญาตให้อยู่กับผู้ป่วย แต่อาจได้รับการร้องขอให้ออกจากห้องฉุกเฉิน ระหว่างการทำหัตถการ และให้เคารพความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น

ญาติผู้ป่วยจะได้รับการแนะนำให้ดูแลสิ่งของที่มีมูลค่าของผู้ป่วยระหว่างที่ได้รับการบำบัดรักษาในแผนกฉุกเฉิน แม้โรงพยาบาลจะมีมาตรการรักษาความปลอดภัย แต่การขโมยสิ่งของผู้ป่วยก็ยังเป็นประเด็นอยู่ในโรงพยาบาลหลายๆ แห่ง ซึ่งโรงพยาบาลจะรับผิดชอบเฉพาะของมีค่าที่ฝากไว้อย่างเป็นทางการในตู้เซฟของโรงพยาบาลเท่านั้น

การโทรศัพท์สอบถามภายในโรงพยาบาล ย่อมทำได้ แต่ควรจำกัดการใช้โทรศัพท์ในแผนกฉุกเฉิน การสอบถามผู้ให้บริการควรมีเท่าที่จำเป็น มิฉะนั้น ผู้ให้บริการจะไม่มีเวลาดูแลผู้ป่วยเท่าที่ควร และควรปิดโทรศัพท์มือถือ เมื่อผู้เข้ารับการบำบัดรักษา เพราะอาจส่งคลื่นรบกวนการใช้อุปกรณ์การแพทย์

กฎเกณฑ์การปฏิบัติมีไว้เพื่อให้มั่นใจว่า ผู้ป่วย ผู้เยี่ยม และเจ้าหน้าที่ อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและเป็นมิตร อาทิ การไม่ใช้ความรุนแรง ขูเข็ญ คุกคาม หรือคำไม่สุภาพ ต่อผู้ปวย ญาติ หรือเจ้าหน้าที่ อย่างไรก็ตาม การเตือนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม อาจให้เจ้าหน้าที่ ยามผู้รักษาความปลอดภัย หรือตำรวจ เชิญตัวให้ออกจากโรงพยาบาลไป

เมื่อผู้ป่วยได้รับอนุญาตให้กลับบ้าน (Discharge) แพทย์จะให้คำแนะนำการติดตามผล ซึ่งอาจรวมทั้งคำแนะนำปฏิบัติตนที่บ้าน ยาหรือใบสั่งยา การนัดหมายเพื่อตรวจวิเคราะห์เพิ่มเติม หรือเพื่อตรวจครั้งต่อไป ใบรับรองแพทย์ และเอกสารอื่นๆ ที่ใช้ในการเบิกจ่ายจากประกันซึ่งผู้ป่วยและญาติควรต้องแจ้งแพทย์ พยาบาลให้ทราบล่วงหน้าว่าต้องการเอกสารอะไรบ้าง

นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัด กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ตนได้เคยชี้แจงกับ โรงพยาบาลเอกชน จำนวนกว่า 300 แห่งทั่วประเทศมาแล้ว ถึงกรณีการบริการผู้ป่วยฉุกเฉิน ใน 2 ประเภท ได้แก่ ผู้ป่วย สีแดง หมายถึงอาการหนัก ต้องช่วยเหลือทันที และ สีเหลือง อาการปานกลาง รอได้ในระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งทาง โรงพยาบาลต้องรับอยู่แล้ว เพราะกฎหมายตาม พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน และพระราชบัญญัติสถานพยาบาลกำหนดไว้ชัดเจน อย่างไรก็ตาม โดยส่วนตัวอยากให้ ทาง โรงพยาบาลเอกชน ผู้ให้บริการเข้าใจว่าเป็นบริการเชิงเพื่อสังคมหรือคืนทุนแก่สังคม จึงเชื่อว่าเป็นข้อดีของการร่วมบริการ

แหล่งข้อมูล:

  1. ปลัด สธ.มั่นใจเดินเครื่องป่วยฉุกเฉินรักษาทุก รพ. ไม่ปฏิเสธผู้ป่วย http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000037283 [2012, March 30].
  2. Emergency patient information. http://www.austin.org.au/Page.aspx?ID=58 [2012, March 30].