จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 2
จิตวิทยาวัยรุ่น ตอนที่ 30 : กรณีชิงสุกก่อนห่าม (2)

จิตวิทยาวัยรุ่น

ณ โรงเรียนมัธยมปลายทิปตั้น (Tipton High School) ผู้บริหารได้ใช้มาตรการลงโทษนักเรียนวัยรุ่นที่กอดจูบกัน (Nicking) ตามห้องโถงของโรงเรียน ในขณะที่บางคนเสนอแนะว่า พ่อวัยรุ่น ควรถูกห้ามเข้าแข่งขันในกีฬาของโรงเรียน หลังจากนักกีฬาฟุตบอล (อเมริกัน) ทำให้แฟนสาวท้อง เลยต้องแต่งงานกับเธอ และเพื่อนร่วมทีมกลับคิดว่า เป็นสิ่งที่โก้เก๋

วิลเลียม แกลสตั้น (William Galston) กล่าวว่า “ผมไม่ทราบว่า มีสังคมใดในประวัติศาสตร์ของโลกที่ชะลอการแต่งงานอย่างยาวนาน แล้วสามารถพร่ำสอนการละเว้นเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน” เขาเป็นผู้นำคณะทำงาน “ค่านิยมทางศาสนาและสาธารณะ” ในการรณรงค์ระดับชาติเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น (National Campaign to Prevent Teen Pregnancy)

เขากล่าวต่อไปว่า “ผมเดาว่า ลึกๆ ในหัวใจผู้คนส่วนใหญ่คาดหวังว่า วัยรุ่นจะละเว้นเพศสัมพันธ์ แต่ก็ไม่แน่ใจว่า วัยรุ่นจะทำตามความคาดหวังได้ และไม่แน่ใจว่า ควรจะมีปฏิกิริยาตอบโต้ (Response) อย่างไร เมื่อวัยรุ่นจำนวนมากมิได้ละเว้นเพศสัมพันธ์?” จากเนื้อหาดังกล่าวข้างต้น เรามีคำตอบทางจิตวิทยาต่อประเด็นที่น่าสนใจก่อนหน้านี้ ดังต่อไปนี้

  1. รูปแบบทั่วไป (Stereotype) ของชุมชนเล็กๆ คือครอบครัวอเมริกันที่มีความสัมพันธ์กันใกล้ชิด (Closely-knit) ซึ่งเลี้ยงดูลูกด้วยมาตรฐานสูง และค่านิยมทางศีลธรรม ที่ไม่สนับสนุนให้วัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์ แต่ก็มีวัยรุ่นตั้งครรภ์
  2. เมืองเล็กๆ มักทำงาน (Function) เป็นกลุ่มภายใน (In-group) ซึ่งมีสมาชิกที่คิดเหมือนกัน และทำงานด้วยกันเพื่อปกป้องชื่อเสียงของกลุ่ม โดยเป็นพลเมืองที่มีมาตรการเดียวกัน ในการปฏิเสธหรือปกปิดเรื่องวัยรุ่นตั้งครรภ์ เพื่อปกป้องตนเองจากความคิดเห็นของบุคคลภายนอก (Out-group)
  3. หนึ่งในทัศนคติ หรือเกณฑ์ปฏิบัติ (Norm) หลัก ที่ชุมชน ได้ปันกัน (Share) ก็คือ การละเว้นเพศสัมพันธ์ในบรรดาวัยรุ่น เป็นนโยบายที่ดีที่สุดก่อนแต่งงาน โดยที่ชุมชนร่วมกันพัฒนาความผูกพัน (Cohesion) โดยการปันทัศนคติและเกณฑ์ปฏิบัติร่วมกัน
  4. พ่อแม่คาดหวังว่า ลูกสาววัยรุ่นที่แสนดีและน่ารัก จะทำตามคำแนะนำของพ่อแม่ในการละเว้นเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน แต่ความจริงก็คือ มิได้เป็นเช่นนั้น ความเชื่อมั่นที่ขัดแย้งกัน (Conflicting beliefs) ของพ่อแม่ (กล่าวคือ ลูกสาวเป็นวัยรุ่นที่แสนดี แต่ไป “ชิงสุกก่อนห่าม”) เป็นสาเหตุของการรับรู้ที่ไม่สอดคล้องกัน (Cognitive dissonance) การแก้ไขความขัดแย้งนี้ โดยการเชื่อมั่นว่า แม้ลูกสาววัยรุ่นจะตั้งครรภ์ เธอก็ทำในสิ่งที่ดีและถูกต้องโดยการแต่งงาน
  5. ปัญหาก็คือ การเปลี่ยนแปลงทัศนคติ (Attitude) และความเชื่อมั่น เป็นสิ่งที่ยาก โดยเฉพาะในกรณีนี้ 50% ของวัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์ก่อนอายุถึง 17 ปี ในความพยายามเปลี่ยนแปลงทัศนคติ ผ่านการชักชวน (Persuasion) มีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่างเช่น (1) ควรหรือไม่ที่จะใช้ข้อเท็จจริง (Fact) และตรรกกะ (Logic) ทางสายกลาง (Central route) หรืออารมณ์เรียกร้อง (Emtional appeal) ซึ่งเป็นเส้นทางอ้อม (Peripheral route)? (2) ข้อความข้างเดียว หรือสองข้าง จะมีประสิทธิผล [ในการสื่อสาร] มากกว่ากัน? และ (3) ใครจะเป็นแหล่งข้อความที่น่าเชื่อถือและไว้วางใจได้มากที่สุด ระหว่าง พ่อแม่ ครู บาทหลวง เพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกัน (Peer) หรือแฟนตัวเอง?

แหล่งข้อมูล

1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth-Thompson Learning.
2. Teenage pregnancy - http://en.wikipedia.org/wiki/Teenage_pregnancy [2014, October 7].