จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน – ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 93 : ประสาทสัมผัส (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่

คำถามที่น่าสนใจเกี่ยวกับประสาทสัมผัสก็คือ เราเห็นสีได้อย่างไร? ทำไมผู้ที่เล่นดนตรีเสียงดังจังหวะเร็ว (Rock and roll) เป็นเวลายาวนาน จึงหูตึงได้? เรา “เมา” [วิงเวียนศีรษะ] ระหว่างเคลื่อนไหว (Motion) ได้อย่างไร? และทำไมความสามารถในการชิมรสชาติลดลง เมื่อเราเป็นหวัด? แม้ว่าทางกายภาพ (Physical) ประสาทสัมผัสเหล่านี้อาจดูแตกต่างกันมาก แต่ทุกอวัยวะของประสาทสัมผัส [ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง] ต่างก็มีลักษณะพิเศษ (Characteristics) ร่วมกัน ดังต่อไปนี้

1. การเปลี่ยนรูปพลังงาน (Transduction) – สิ่งแรกที่แต่ละอวัยวะของประสาทสัมผัสจะต้องทำ คือเปลี่ยน หรือ “แปลงโฉม” (Transform) บางส่วนของพลังงานทางกายภาพ (Physical energy) อาทิ เมื่อโมเลกุล (Molecule) ของยาฉีดฆ่ายุง (Mosquito spray) เข้าสู่รูจมูก จะถูกแปลงเป็นสัญญาณทางไฟฟ้า (Electric signal) ในการกระตุ้นประสาท (Neural impulse) แล้วถูกส่งไปยังสมองเพื่อการประมวลข้อมูล และแปรผล (Interpreted) โดยสมองบอกว่าเป็นกลิ่นที่ไม่น่ารื่นรมย์ (Unpleasant order)

2. การปรับเปลี่ยน (Adaptation) – ช่วงเวลาสั้นๆ หลังการสวมใส่แว่นตา เพชรนิลจินดา (Jewelry) หรือเสื้อผ้าอาภรณ์ เราจะพบการสนองตอบที่ลดลงของอวัยวะประสาทสัมผัส กระบวนการนี้เรียกว่า “การปรับเปลี่ยน” โดยเฉพาะเมื่อมันได้รับอิทธิพล (Exposed to) จากระดับที่ต่อเนื่องของการกระตุ้น (Simulation) อย่างไรก็ตาม อวัยวะประสาทสัมผัส จะไม่ปรับเปลี่ยนตามรูปแบบที่เข้มข้น (Intense) ของการกระตุ้น เพราะ อาจเป็นสาเหตุให้เกิดความเสียหายทางกายภาพ (Physical damage) อาทิ น้ำร้อนจากฝักบัว เป็นการกระตุ้นที่เข้มข้น อันอาจก่อให้เกิดความเจ็บปวด (Pain) การไม่ปรับเปลี่ยน จึงเป็นการเตือนว่าอาจทำให้ผิวหนังบาดเจ็บ (Injury)

3. ประสาทสัมผัสกับมุมมอง (Perception) – การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับโลกรอบตัวเรา เกี่ยวข้องกับ 2 ขั้นตอน โดยในขั้นตอนแรก สัญญาณไฟฟ้าจะเข้าถึงสมอง และถูกเปลี่ยนเป็นประสาทสัมผัส (Sensation) ในขั้นตอนที่ 2 สมองเปลี่ยนประสาทสัมผัสอย่างรวดเร็ว (ซึ่งเรามักจะไม่รู้ตัว) ให้กลายเป็นมุมมอง (Perception) อันเป็นประสบการณ์ประสาทสัมผัส ที่เกิดผลหลังจากสมองรวบรวม (Combine) ประสาทสัมผัสนับร้อยๆ ชิ้นส่วนของข้อมูล (Bits of information) เข้าด้วยกัน ตัวอย่างเช่น ประสาทสัมผัสการเห็น (Visual) จะแสดงเป็นเส้น สี หรือรูปทรง (Shape) ที่ไร้ความหมาย แต่มุมมอง (Perception) ของการห็น จะแสดง ณ ใบหน้าที่ “เศร้า-สุข” อย่างสมบูรณ์ (Complete ‘sad-happy’ face) ในขณะที่ทุกประสาทสัมผัสเริ่มต้นด้วยขั้นตอนที่ 1 [กล่าวคือการเปลี่ยนรูปพลังงาน] อวัยวะของประสาทสัมผัสจะใช้กลไก (Mechanism) ที่แตกต่างกันในการทำให้เกิดขึ้นผล

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Sense - https://en.wikipedia.org/wiki/Sense [2016, January 21].