จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน – ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 90 : สมองถูกทำลายกับศีลธรรม (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่

เมื่อเชอริล (Sheryl) อายุได้ 15 เดือน เธอถูกรถทับ (Run over) อุบัติเหตุครั้งนั้น ทำลายอาณาบริเวณเปลือกสมองส่วนหน้าผาก (Pre-frontal cortex) ซึ่งมีตำแหน่งอยู่ ณ กลีบสมองส่วนหน้า (Frontal lobe) เหนือสะพานจมูก แม้ว่าเธอจะฟื้นฟู (Recover) จากการบาดเจ็บ เมื่ออายุ 3 ขวบ แต่เธอก็ไม่สนองตอบ (Respond) ต่อพ่อแม่ เมื่อเขาสั่งให้เธอเลิกประพฤติตัวเหลวไหล (Misbehave) มิฉะนั้นจะถูกทำโทษทางร่างกาย

เมื่อทอม (Tom) อายุได้ 3 เดือน แพทย์ผ่าตัดเอาเนื้องอก (Tumor) ของเขาออก ซึ่งเนื้องอกนี้ได้ทำลายอาณาบริเวณเปลือกสมองส่วนหน้าผาก แม้ว่าเขาจะฟื้นฟูจากการผ่าตัด เมื่ออายุ 9 ขวบ เขาแสดงแรงจูงใจเพียงเล็กน้อย มีเพื่อนไม่มาก และบางครั้งระเบิด (Explode) ใส่ผู้อื่นด้วยความโกรธ

นายแพทย์ อันโตนิโอ้ ดามาสิโอ้ (Dr. Antonio Damasio) และคณะ (Colleague) ณ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งไอโอวา (University of Iowa) ได้ศึกษาผลกระทบของเปลือกสมองส่วนหน้าผาก ในช่วงแรกของชีวิตเชอริลและทอม แล้วพบว่าพฤติกรรมอารมณ์ (Emotional behavior) ของคนเรา จะได้รับการกระตุ้น (Trigger) จากสมองในช่วงต้นของการพัฒนา (Primitive brain) ที่เรียกว่า “ระบบลิมบิค” (Limbic system)

แรงกระตุ้น (Urge) และอารมณ์ของระบบลิมบิคก็ถูกควบคุมอีกทอดหนึ่งโดยเปลือกสมองส่วนหน้าผาก ซึ่งเกี่ยวข้องกับการวางแผนและการตัดสินใจ คำถามของนายแพทย์ผู้นี้ ก็คือ อะไรจะเกิดขึ้น หากแรงกระตุ้นและอารมณ์ของบุคคลหนึ่ง (ซึ่งควบคุมโดยเปลือกสมองส่วนหน้าผาก) ถูกทำลายในวัยทารก (Infancy)?

เมื่อเชอริลเป็นวัยรุ่น เธอสร้างปัญหามากมายทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน ขโมยเงินในครอบครัว ขโมยของในร้านค้า (Shop-lifted) ไม่เคยสำนึกผิด (Remorse) ในพฤติกรรมชั่วร้าย (Misdeed) ตำหนิติเตียนผู้อื่นสำหรับปัญาของเธอเอง และไม่มีการวางแผนอนาคตสำหรับชีวิตตนเอง ส่วนทอม แม้จะสามารถสำเร็จการศึกษามัธยมปลาย เขาก็สร้างปัญหามากมายเช่นกัน อาทิ ขโมยของของคนอื่น ชกต่อยกับผู้อื่น และไม่สามารถหางานทำได้

นายแพทย์ อันโตนิโอ้ ดามาสิโอ้ อธิบายว่า เชอริลและทอม เติบโตในชีวิตที่ไม่เคยสำนึกผิดในความประพฤติที่เลวร้าย โดยไม่เคยเรียนรู้กฎเกณฑ์ขั้นพื้นฐานของศีลธรรมว่าอะไรถูก? อะไรผิด? สืบเนื่องมาจากเปลือกสมองส่วนหน้าผากถูกทำลายตั้งแต่เยาว์วัย อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญบ้างคน เชื่อว่า การค้นพบของนายแพทย์ อันโตนิโอ้ ดามาสิโอ้ อาจเป็นประโยชน์ทางอาชญากรรม (Crime) ได้

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Atypical moral judgment following traumatic brain injury - http://journal.sjdm.org/11/111104a/jdm111104a.html [2016, December 31].
  3. Antonio Damasio - https://en.wikipedia.org/wiki/Antonio_Damasio [2016, December 31].