จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน – ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 79 : ระบบต่อมไร้ท่อ (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่

คนเรามี 2 ระบบสำคัญในการส่งสัญญาณไปยังร่างกายส่วนที่เป็นกล้ามเนื้อ ต่อม (Gland) และอวัยวะ ระบบแรกคือระบบประสาท (Nervous system) ซึ่งใช้เซลล์ประสาท (Neuron) เส้นประสาท (Nerve) และสารสื่อประสาท (Neuro-transmitter) ในการส่งข้อมูลทั่วร่างกาย

ระบบที่ 2 ในการส่งข้อมูล คือ ระบบต่อไร้ท่อม (Endocrine system) ซึ่งประกอบด้วยต่อมมากมายที่อยู่ตามตำแหน่งต่างๆ ทั่วร่างกาย ต่อมเหล่านี้คัดหลั่ง (Secrete) สารเคมีที่เรียกว่า “ฮอร์โมน” (Hormone) ซึ่งมีผลกระทบต่ออวัยวะ กล้ามเนื้อ และต่อมอื่นๆ ในร่างกาย

ในหลากหลายหนทาง ไฮโปธาลามัส (Hypothalamus) ซึ่งอยู่ข้างใต้ของสมองส่วนกลาง ควบคุม (Control) ส่วนใหญ่ของระบบต่อมไร้ท่อ โดยการควบคุม (Regulate) ต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) ซึ่งอยู่ส่วนล่างและข้างนอกของสมอง มักเรียกกันว่า เป็น “ศูนย์กลางควบคุม” (Control center) ของระบบต่อมไร้ท่อ

ต่อมใต้สมอง ซึ่งแบ่งเป็นส่วนด้านหน้า (Anterior) กับส่วนด้านหลัง (Posterior) เป็นส่วนประกอบสำคัญของระบบต่อมไร้ท่อ แขวนตรงอยู่ใต้ไฮโปธาลามัส ซึ่งเชื่อมโยงกันโดยก้าน (Stalk) แคบๆ ส่วนหลังของต่อมใต้สมองควบคุมความสมดุลระหว่างน้ำกับเกลือ ความผิดปรกติ (Dysfunction) เกิดขึ้น เมื่อขาดฮอร์โมน ซี่งจะเป็นสาเหตุของเบาหวาน (Diabetes) ที่ไม่พบบ่อย

ส่วนหน้าของต่อมใต้สมอง ควบคุมการเจริญเติบโต (ผ่านการคัดหลั่ง) ของฮอร์โมน และผลิตฮอร์โมนที่ควบคุมต่อมหมวกไต (Adrenal gland) ตับอ่อน (Pancreas) ต่อมไทรอยด์ (Thyroid) และต่อมเพศ (Gonad) ความผิดปรกติเกิดขึ้นเมื่อการเจริญเติบโตของฮอร์โมน (Growth hormone) ที่น้อยเกินไป จะผลิตภาวะแคระ (Dwarfism) อาทิ เด็กเตี้ยแคระแกร็น ที่มีรูปร่างเล็กเตี้ย (เมื่อเทียบกับเด็กวัยเดียวกัน) แต่ก็สมส่วน อาจอ้วนกลมเพราะมีไขมันสะสมบริเวณลำตัวมากและน้ำตาลในเลือดต่ำ

ส่วนการเจริญเติบโตของฮอร์โมนที่มากเกินไป จะผลิตภาวะยักษ์ใหญ่ (Gigantism) อาทิ วัยรุ่นร่างยักษ์ ที่มีรูปร่างสูงใหญ่ (เมื่อเทียบกับวันรุ่นรุ่นเดียวกัน) แต่ก็สมส่วน อาจเกิดจากการที่มีเนื้องอกของเซลล์ที่สร้างฮอร์โมนหรือของไฮโปทาลามัส ส่วนปัญหาอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในต่อมใต้สมอง ก็เป็นสาเหตุของปัญหาในต่อมที่มันควบคุมอยู่

ตับอ่อนเป็นอวัยวะที่ควบคุมระดับของน้ำตาลในกระแสโลหิต (Bloodstream) โดยคัดหลั่งสารอินซูลิน (Insulin) ความผิดปรกติเกิดขึ้นเมื่อปราศจากสารอินซูลิน ส่งผลให้เกิดโรคเบาหวาน (Diabetes) ที่พบบ่อย (More common) แต่ถ้ามีสารอินซูลินมากเกินไป จะเป็นสาเหตุของ “โรคเบาจืด” (Hypoglycemia) หรือภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Endocrine system - https://en.wikipedia.org/wiki/Endocrine_system [2016, October 15].