จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน – ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 75 : สมองส่วนลึก (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่

เปลือกสมอง (Cortex) เกี่ยวข้องกับการทำงานของการรับรู้ที่หลากหลาย (Numerous) อาทิ การคิด การตัดสินใจ การวางแผน และการพูด ตลอดจนพฤติกรรมประสาทสัมผัส (Sensory) และการเคลื่อนไหว (Motor) อื่นๆ แต่อะไรเป็นสิ่งที่กระตุ้น (Trigger) ประสบการณ์จากนานา (Wide range) อารมณ์ อาทิ ความรู้สึกเป็นสุข เศร้า สะพรึงกลัว (Fearful) และโกรธ?

หากเราค่อยๆ ปอกเปลือกสมองทีละชั้น เราจะมองเห็นส่วนลึกภายในสมอง โดยเฉพาะโครงสร้างจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ อันประกอบขึ้นเป็นระบบลิมบิค (Limbic system) ซึ่งเป็นกลุ่มของโครงสร้างประมาณครึ่งโหลที่เชื่อมโยงกัน (Inter-connected) และประกอบขึ้นเป็นแกนกลาง (Core) ของสมองส่วนหน้า (Forebrain)

โครงสร้างของระบบลิมบิค เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมจูงใจ (Motivational behavior) หลายอย่าง อาทิ การรับอาหาร เครื่องดื่ม และเพศสัมพันธ์; การจัดระเบียบพฤติกรรมอารมณ์ (Emotional behavior) อาทิ ความกลัว ความโกรธ และความก้าวร้าว; ตลอดจนการเก็บความทรงจำ (Storing of memories)

ระบบลิมบิค มักถูกอ้างอิงว่าเป็นระบบสมองดั้งเดิม (Primitive brain) เพราะมีโครงสร้างเหมือนกับที่พบในสมองของสัตว์ที่มีวิวัฒนาการเก่าแก่ (Evolutionarily old) อาทิ จระเข้ (Alligator) ซึ่งมีระบบลิมบิคที่ประกอบขึ้นเป็นสมองส่วนหน้าทั้งหมด

ดังนั้น ระบบนี้จึงเกี่ยวข้องกับการดมกลิ่นเหยื่อ การป้องกันอาณาจักร (Territory) ของตนเอง การล่าสัตว์เป็นอาหาร การต่อสู้กับศัตรู การสืบพันธ์ (Reproduction) การกินอาหาร และการจดจำ ระบบลิมบิคของมนุษย์ ซึ่งประกอบขึ้นเป็นส่วนน้อยของสมองส่วนหน้าทั้งหมอ เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมที่คล้ายกัน

โครงสร้างหนึ่งของระบบลิมบิคที่เป็น “เจ้านาย” (Master) ควบคุมการสนองตอบทางอารมณ์ (Emotional response) คือไฮโปธาลามัส (Hypothalamus) ซึ่งควบคุมพฤติกรรมต่างๆ อาทิ การกิน การดื่ม และการสนองตอบทางเพศ; พฤติกรรมอารมณ์ อาทิ การกระตุ้น (Arouse) ร่างกาย เมื่อมีการต่อสู้ (Fight) หรือหลบหนี (Flee); ตลอดจนการหลั่งฮอร์โมน อาทิ ที่เกิดขึ้นในวัยแรกเริ่ม (Puberty)

นอกจากนี้ ไฮโปธาลามัส ยังควบคุมอีก 2 ส่วนของระบบประสาท (Nervous system) กล่าวคือ ระบบอิสระ (Autonomic) และส่วนอะมิกดะลา (Amygdala) ซึ่งเป็นโครงสร้างที่อยู่ส่วนปลายบน (Tip) ของสมองกลีบขมับ (Temporal lobe) และเกี่ยวข้องกับการก่อร่าง (Forming) การจำได้ (Recognizing) และการจดจำ (Remembering) ประสบการณ์ทางอารมณ์ โดยเฉพาะความกลัว และการแสดงออก (Expression) ของอารมณ์ทางใบหน้า

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Limbic system - https://en.wikipedia.org/wiki/Limbic_system [2016, September 17].