จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน – ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 73 : สมองกลีบท้ายทอย (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่

สุนัขมีสายตามองสีที่ค่อนข้างแย่ (Poor color vision) จึงต้องพึ่งพาความรู้สึกด้านกลิ่น (Sense of smell) เป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (Primate) อื่นๆ อาทิ ลิงและมนุษย์ มีความสามารถในการดมกลิ่นที่แย่มาก จึงต้องพึ่งพาการมองด้วยสายตาเป็นส่วนใหญ่ สำหรับการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม

คนที่เคยถูกกระทบที่ด้านหลังของศีรษะจนเห็น “ดวงดาว” จะคาดเดาได้ว่า การมองเห็นด้วยสายตา น่าจะอยู่ในสมองกลีบท้ายทอย (Occipital lobe) ซึ่งอยู่ค่อนไปข้างหลังของสมอง และเกี่ยวข้องกับการประมวลข้อมูลการมองเห็น (Visual information) อันรวมถึงการมองเห็นสี ความรู้สึกจากการมองเห็น (Perceiving) และจากการจำ (Recognizing) วัตถุ สัตว์ และมนุษย์

แม้เราจะมองเห็นและจำสิ่งของได้ด้วยความง่ายดาย แต่อันที่จริงแล้วเป็นกระบวนการ 2 ขั้นตอนที่ซับซ้อน (Complicated) เมื่อเรามองเข้าไปในกระจกเงา (Mirror) และเห็นหน้าตนเอง เราจะเกี่ยวข้องกับ 2 ขั้นตอน และ 2 อาณาบริเวณที่แตกต่างกันในสมองกลีบท้ายทอย

ขั้นตอนแรกคือการเห็นหน้าของเราเอง ซึ่งเกี่ยวข้องกับเปลือกสมองการมองเห็นหลัก (Primary vision cortex) ที่อยู่ค่อนไปข้างทางหลังของสมองกลีบท้ายทอย ทำหน้าที่รับสัญญาณไฟฟ้าจากตัวรับความรู้สึก (Receptor) ในดวงตา แล้วแปลง (Transform) สัญญาณเหล่านี้ให้กลายเป็นความรู้สึกการมองเห็นพื้นฐาน (Basic vision sensation) ที่ไร้ความหมาย (Meaningless) อาทิ แสง (Light) เส้น (Line) เงา (Shadow) สี (Color) และองค์ประกอบ (Texture)

เนื่องจากเปลือกสมองการมองเห็นหลัก ผลิตเพียงความรู้สึกของการมองเห็นที่ไร้ความหมายเท่านั้น เราจึงยังมองไม่เห็นหน้าของตนเอง การแปลงความรู้สึกดังกล่าวให้เห็นวัตถุที่มีความหมาย เกิดขึ้นในเขตสัมพันธ์กับการมองเห็น (Vision association area) ซึ่งอยู่ถัดไปจากเปลือกสมองการมองเห็นหลัก ทำหน้าที่แปลงความรู้สึกพื้นฐาน ให้กลายเป็นความรู้สึกจากการมองเห็นที่สมบูรณ์ (Complete) และมีความหมาย อาทิ มนุษย์ สัตว์ และวัตถุ

หากมีปัญหาในขั้นตอนที่ 2 อาทิ เขตสัมพันธ์กับการมองเห็นถูกทำลาย บุคคลนั้น ยังมองเห็นบางส่วนของวัตถุ แต่มีความลำบากที่จะรวบรวมชิ้นส่วน และมองเห็นหรือจำวัตถุทั้งชิ้น ปัญหาของการมองเห็นที่ผิดปรกติจนส่งผลให้เขตสัมพันธ์กับการมองเห็นถูกทำลาย มีอยู่ 2 ข้อใหญ่

เขตสัมพันธ์กับการมองเห็น เป็นอาณาบริเวณที่สำคัญ (Critical) ต่อการจดจำใบหน้า รูปร่างและวัตถุ หากบริเวณนี้ถูกทำลาย จะส่งผลให้เกิดความลำบากในการจำ (Recognition) เรียกว่า “ภาวะเสียการรับรู้จากการมองเห็น” (Vision agnosia)

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. 2. Parietal lobe - https://en.wikipedia.org/wiki/Parietal_lobe [2016, September 3].