จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน – ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 61 : การปลูกถ่ายเนื้อเยื่อสมอง (3)

จิตวิทยาผู้ใหญ่

หัตถการ (Procedure) ในการปลูกถ่ายก็คือ ในขั้นแรก ศัลยประสาทแพทย์ (Neuro-surgeon) จะตัดเนื้อเยื่อประสาท (Nervous tissue) จากสมองของทารกในครรภ์ที่แท้ง (Aborted) เมื่อมีอายุระหว่าง 6 ถึง 8 สัปดาห์ แล้วปลูกถ่ายเนื้อเยื่อนี้เข้าไปยังบริเวณของสมองผู้ใหญ่ที่เรียกว่า “เบซัลแกงเกลีย” (Basal ganglia)

วิธีที่ใช้ในการปลูกถ่ายเซลล์ทารกในครรภ์ ไปยังตำแหน่งที่ชัดเจนแม่นยำ (Precise) ในสมองสัตว์หรือมนุษย์ เรียกว่า “หัตถการสเตอริโอแทกสิค” (Stereotaxic) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องมือจับยึด (Holder) ศีรษะของผู้ป่วย แล้วเจาะ (Drill) รูเล็กๆ ขนาดเท่าดินสอ ผ่านหัวกะโหลก (Skull) ด้วยเทคนิคสมัยใหม่

เครื่องมือจับยึดดังกล่าว มีเข็มกระบอกฉีด (Syringe) ที่สามารถนำพา (Guide) อย่างแม่นยำ เข้าไปในตำแหน่งที่กำหนดล่วงหน้า (Pre-determined) ในสมอง กล่าวคือ เข็มจากกระบอกฉีดจะขยายยื่นออกจากเครื่องมือจับยึด ไปยังเบซัลแกงเกลีย จากนั้น ศัลยแพทย์จะค่อยๆ ฉีดเซลล์ทารกในครรภ์ผู้บริจาค (Donor) เข้าไปบริเวณดังกล่าว

ข้อดีของหัตถการสเตอริโอแทกสิค ก็คือเข็มกระบอกฉีดที่เบาบาง สามารถเข้าไปวางอยู่ในตำแหน่งที่แม่นยำในสมอง และเป็นสาเหตุของการทำลายสมองเพียงเล็กน้อย อาจใช้หัตถการนี้โดยการฉีดสารละสาย (Solution injection) เข้าไปทำลายเนื้อเยื่อของสมองที่เป็นโรค

ก่อนการผ่าตัด ผู้ป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน ต้องทนทุกข์ทรมานจากการสั่นสะเทือน (Tremor) และความแข็งทื่อ (Rigidity) แต่ในกรณีของโรเบิร์ต หลังการผ่าตัดได้ประมาณ 1 ปี เขากับเพื่อนสามารถขับรถบ้าน (Motor home) ไปทั่วประเทศ เขาสามารถดูแลตนเองได้ ตั้งแต่การจับจ่ายซื้อของ (Grocery) เติมน้ำมันรถด้วยตนเอง และเล่นกอล์ฟ ตีได้ 9 หลุมหลายรอบ

โรเบิร์ตกล่าวว่า เขายังประสบพบอาการที่ดีขึ้นและเลวลง แต่ก็ควบคุมได้ (Controllable) มากขึ้น ในปัจจุบัน ผู้ป่วยเป็นโรคพาร์กินสันประมาณ 150 คนทั่วโลก ได้รับการปลูกถ่ายเนื้อเยื่อจากทารกในครรภ์ ประมาณ 30% ถึง 60% ของผู้ป่วยแสดงอาการที่ดีขึ้นมาก (Substantial) แต่ยังไม่มีใครหายจากโรคนี้ โดยเด็ดขาด (Completely cured)

ผู้ป่วยที่มีอายุต่ำกว่า 60 ปี แสดงผลที่ดีขึ้นมาก ในขณะที่ผู้ป่วยที่มีอายุสูงกว่า 60 ปีขึ้นไป รายงานว่าอาการดีขึ้นเล็กน้อยหรือไม่ดีขึ้นเลย อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นที่ถกเถียงกันอยู่ ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน สมควรได้รับการรักษาก่อนอาการจะกำเริบจนร้ายแรงเกินไปหรือไม่? ควรปลูกถ่ายเนื้อเยื่อจากทารกในครรภ์มากน้อยเพียงใด? บริเวณไหน เหมาะสมที่สุดสำหรับการปลูกถ่าย? และควรใช้เนื้อเยื่อจากหมูทารกในครรภ์หรือไม่?

นักวิจัยเชื่อว่า การตอบคำถามเหล่านี้ จะนำไปสู่อัตราความสำเร็จที่สูงขึ้น หนทางหนึ่งที่จะกำหนดว่าจะปลูกถ่ายเนื้อเยื่อประสาท (Neural tissue) ได้ดีเพียงใด อยู่ที่การทำงานของการฉายภาพสมอง (Brain scan)

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Fetal tissue implant - https://en.wikipedia.org/wiki/Fetal_tissue_implant [2016, June 18].