จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน – ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 48 : การส่งข้อมูล (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่

เมื่อเราเหยียบถูกวัตถุแหลมคม เราจะรู้สึกเจ็บปวด (Pain) เกือบทันที เพราะเซลล์ประสาท (Neuron) ส่งสัญญาณ ด้วยความเร็วเกือบ (Approaching) 200 ไมล์ (หรือ 322 กิโลเมตร) ต่อชั่วโมง การมีความรู้สึกเจ็บปวดเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ต่อเนื่อง (Series) ของปฏิกิริยาทางเคมี-ไฟฟ้า (Electro-chemical) ดังต่อไปนี้

  1. สิ่งกระตุ้น (Stimulus) บางอย่าง อาทิ เข็ม (Tack) [ที่ทิ่มตำ] เป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงในพลังงานทางกายภาพ (Physical energy) เข็มดังกล่าวสร้างแรงกดดันทางกลไก (Mechanical pressure) ให้ที่นิ้วเท้า
  2. ผิวหนังของเรา มีตัววัดประสาทสัมผัส (Sensor) ที่รับ (Pick up) แรงกดดันทางกลไก แล้วแปลงโฉม (Transform) เป็นสัญญาณไฟฟ้า (Electrical signal)
  3. สัญญาณไฟฟ้าของตัววัดประสาทสัมผัสถูกส่งโดย “แกนประสาทนำออก” (Axon) ไปยังอาณาบริเวณ (Area) ในไขสันหลัง (Spinal cord) และสมอง
  4. ในที่สุด สมองของเราแปรผล (Interpret) สัญญาณไฟฟ้าเหล่านี้เป็นความเจ็บปวด

แกนประสาทนำออกเป็นหลอด (Tube) ที่ไม่เพียงบรรจุสารเหลว (Fluid) แต่ยังล้อมรอบ (Surrounded) ด้วยสารเหลว เนื่องจากหลอดดังกล่าว ก่อร่างสร้างรูป (Form) โดยแผ่นเนื้อเยื่อ (Membrane) บางๆ ที่คล้ายคลึงกับปลอกนอก (Outer covering) ของแบตเตอรี่ ซึ่งแยก (Separate) สารเหลวออก [และปกป้องสารเหลวนั้นด้วย]

นอกจากนี้ แกนประสาทนำออกยังเป็นประตูทางเคมี (Chemical gate) ที่เปิดให้เข้าหรือปิดมิให้ออก ซึ่งอนุภาค (Particle) ประจุไฟฟ้า (Electric charge) จึงมีพลัง (Power) ในการส่งข้อมูล อันเป็นกุญแจสำคัญในการทำให้แบตเตอรี่ที่มีชีวิต (Living battery)

สารเหลวที่อยู่ภายในและภายนอกแกนประสาทนำออกประกอบด้วยละอองที่มีประจุไฟฟ้า (Ion) บวกหรือลบ ซึ่งมีคุณสมบัติ 2 ประการ กล่าวคือ (1) ประจุไฟฟ้าขั้วตรงข้าม จะดึงดูด (Attract) เข้าหากัน และ (2) ประจุไฟฟ้าขั้วเดียวกัน จะผลัก (Repel) ออกจากกัน

หากสิ่งเร้า (Stimulus) (อาทิ การเหยียบถูกเข็ม) มีผลกระทบมากพอที่จะกระตุ้น (Excite) เซลล์ประสาท (Neuron) ก็จะเปิดประตูเคมีของแกนประสาทนำออก ทำให้เกิด “กระแสประสาท” (Action potential) ที่เคลื่อนย้ายเป็นอนุกรม (Series) ไปตามทีละส่วน (Segment) ของแกนประสาทนำออก เรียกว่า “ชีพจรประสาท” (Nerve impulse) เมื่อแต่ละกระแสประสาทเกิดขึ้นเป็นอนุกรมแล้ว เนื้อเยื่อของแกนประสาทนำออกก็จะกลับคืนสู่ “สภาวะพัก” (Resting state) อย่างรวดเร็ว

แหล่งข้อมูล

1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.

2. Nerve - https://en.wikipedia.org/wiki/Nerve [2016, March 12].