จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน – ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 43 : การทำงานของสมอง (3)

จิตวิทยาผู้ใหญ่

ขีดความสามารถที่จำกัดขอสมองผู้ใหญ่ที่เชื่อมต่อใหม่ (Re-wire) ได้ด้วยตนเอง โดยการก่อร่างสร้างจุดเชื่อมโยงใหม่ๆ ได้ ช่วยอธิบายว่า ทำไมผู้คนจึงอาจฟื้นฟูการทำงานบางส่วน (แต่ไม่ใช่ทั้งหมด) ที่เคยสูญเสียไปหลังจากที่สมองถูกทำลายใหม่ๆ

เหตุผลที่โรคอัลไซเมอร์ส (Alzheimer’s) ช่างเป็นตัวทำลาย (Destructive) และนำไปสูความตายในที่สุดก็คือ โรคนี้ทำลายเซลล์ประสาท(Neuron) หลายเท่าตัว ในเวลาที่เร็วกว่าการเติบโตใหม่ (Re-growth) การซ่อมแซม (Repair) หรือ การเชื่อมต่อใหม่ของสมองที่มีขีดความสามารถจำกัด

เมื่อโรคอัลไซเมอร์ส ทำลายสมอของไอน่า (Ina) เธอเริ่มสูญเสียทางจิตใจ อันนำมาซึ่งคำถามระหว่างจิตใจกับร่างกาย (Mind-body) โดยตั้งคำถามว่า กิจกรรมทางจิตใจเชิงซ้อน (Complex mental activities) อาทิ ความรู้สึก การคิด และการเรียนรู้ อาจอธิบาย ด้วยกิจกรรมทางกายภาพ (Physical) เคมี (Chemical) และไฟฟ้า (Electrical) ของสมอง ได้อย่างไร?

ตลอดเวลาหลายศตวรรษที่ผ่านมา มีนักปรัชญา (Philosopher) และนักวิทยาศาสตร์ (Scientists) จำนวนมาก ได้พยายามตอบคำถามระหว่างจิตใจกับร่างกาย ต่างๆ นานา โดยที่บางคนเชื่อว่า จิตใจและสมอง เป็นสองสิ่งที่แยกจากกัน แต่คนอื่นๆ ก็เชื่อว่า จิตใจและสมองก็คือสิ่งเดียวกัน

นักพันธุกรรม (Geneticist) ฟรานซิส คริค (Francis Crick) ผู้ได้รับรางวัลโนเบล (Nobel prize) เชื่อมั่นว่า จิตใจก็คือสมอง “ตัวเรา ความสนุกสนาน (Joy) ของเรา และความเศร้าโศก (Sorrow) ของเรา ความทรงจำ (Memory) ของเรา ความทะเยอทะยาน (Ambition) ของเรา ประสาทสัมผัสความรู้สึกของอัตลักษณ์ (Identity) ส่วนบุคคล และเจตจำนงเสรี (Free will) ล้วนเป็นพฤติกรรม (Behavior) ของการรวมตัว (Assembly) ของเซลล์ประสาท และโมเลกุลของมัน”

แม้บางคนจะเห็นด้วยกับคำตอบของคริค ที่ว่า จิตใจและสมองคือสิ่งดียวกัน แต่คนอื่นๆ ก็โต้แย้งว่า กิจกรรมทางจิตใจไม่อาจถูกย่นย่อ (Reduced) ลงว่า เป็นเพียงกิจกรรมทางกายภาพของสมอง อย่างไรก็ตาม ยังมีคำตอบจากผู้ได้รับรางวัลโนเบลอีกคนหนึ่งซึ่งเป็นนักสรีระประสาท (Nuero-physiologist) ชื่อ โรเจ้อร์ สเปอร์รี่ (Roger Sperry)

เขากล่าวว่า สมองเหมือนเหรียญ (Coin) ที่มีสองด้าน ด้านหนึ่งประกอบด้วยปฏิกิริยาทางกายภาพ อาทิ ผลิตสารเคมีที่เซลล์ประสาทใช้สำหรับการสื่อสาร อีกด้านหนึ่งประกอบด้วยการทำงาน (Functioning) ทั้งหมดของจิตใจ อาทิ การคิด การจินตนาการ และการตัดสินใจ

ในความคิดเห็นของสเปอร์รี่ สารเคมีของสมอง (ด้านกายภาพ) มีอิทธิพล (Influence) ต่อสติสัปชัญญะ (Conscience) และกิจกรรมทางจิตใจ ซึ่งมีอิทธิพลต่อการผลิตสารเคมีสมองเพิ่มขึ้นหรือแตกต่าง ความคิดของสเปอร์รี่ในเรื่องปฏิสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Continuous interaction) ระหว่างด้านกายภาพกับด้านจิตใจ ได้รับการสนับสนุนอย่างมาก (Considerable)

ทั้งหมดนี้นำมาซึ่งคำถามข้อที่ 4 ว่า เราสามารถถ่ายรูปของจิตใจได้ไหม? และถ้าได้ อย่างไร?

แหล่งข้อมูล

1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.

2. Brain - https://en.wikipedia.org/wiki/Brainy [2016, February 6].