จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน – ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 40 : ก่อร่างสร้างสมอง (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่

อาการของไอน่า (Ina) เลวร้ายลงเรื่อยๆ เธอมีปัญหาการทำงาน ให้สำเร็จลุ่วง แม้เป็นเพียงงาน (Task) ที่ง่ายที่สุด ในเดือนต่อมาหลังจากวันขอบคุณพระเจ้า (Thanksgiving Day) ซึ่งเธอได้เดินทางไปฉลองร่วมกับครอบครัว เธอสอบถามว่า เธอไปไหนมา และหลายๆ ครั้ง เธอจำลูกๆ ที่เติบโตเป็นผู้ใหญ่ได้ แต่ครั้งอื่นๆ เธอคิดว่า เขาเหล่านั้นเป็นลูกพี่ลูกน้องของเธอ

ปัจจุบัน มีการเฝ้าสังเกตติดตามเธอทุกฝีก้าว เพื่อให้แน่ใจว่าเธอไม่ทำร้ายตนเอง หรือเดินอย่างไร้จุดหมาย (Wander off)จนหลงทาง สำหรับไอน่า ยังมีสิ่งเลวร้ายตามมาหลอกหลอนเธออีก ความทรงจำ (Memory) ของเธอเริ่มขาดการปะติดปะต่อ (Disintegration) จนต้อง “ล้มหมอนนอนเสื่อ” แต่บนเตียง (Bed-ridden)

ปัจจุบัน ไม่มีทางรักษาโรคอัลไซเมอร์ส (Alzheimer’s) ให้หายขาด (Cure) ไอน่าจำไม่ได้ว่า เธอเป็นใครหรือจำลูกๆ ที่เธอเลี้ยงดูมาด้วยความทะนุถนอมไม่ได้ เมื่อเธอตาย เธอจะสูญเสียความทรงจำเหล่านี้ บุคลิกภาพที่วิเศษ (Wonderful) และสัญลักษณ์ทุกๆ อย่างของความเป็นมนุษย์ (Humanity)

ในกรณีของไอน่า และในทุกๆ กรณีอื่นของการสูญเสียความทรงจำ โรคอัลไซเมอร์สได้รับการตรวจวิเคราะห์ (Diagnosed) โดยดูจากกลุ่มอาการ (Symptoms) ของพฤติกรรม ร่วมกับ (Combination) การขจัดความเป็นไปได้ของปัญหาทางกายภาพ (Physical) ปัจจุบัน การทดสอบอย่างถูกต้องแม่นยำ (Foolproof) สำหรับโรคนี้ กระทำได้ต่อเมื่อมีการตรวจสอบสมองผู้ป่วย หลังจากตายไปแล้ว

นักวิจัยทุกวันนี้ เชื่อมั่นว่า การศึกษาของเขาได้เข้าใกล้จะค้นพบ (Find out) สาเหตุที่แท้จริงของโรคอัลไซเมอร์ส ซึ่งเกี่ยวข้องกับนานาปัจจัยอาทิ ยีน (Genetic) ประสาทวิทยา (Neurological) และสภาพแวดล้อม (Environmental) ที่เป็นไปได้ ตัวอย่างเช่น อุบัติการณ์ (Incidence) ของโรคอัลไซเมอร์สสูงกว่า 3 เท่าในผู้ป่วยที่มีพ่อหรือแม่ป่วยเป็นโรคนี้ และสูงกว่า 5 เท่า ในผู้ป่วยที่ทั้งพ่อและแม่เป็นโรคนี้

นักวิจัยยังค้นพบสารเคมีหลายตัว (อาทิ โปรตีน และเพ็ปไทต์ [Peptide]) ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในสมอง แต่ (ด้วยเหตุผลบางประการ) เริ่มแตกตัวทวีคูณ (Multiply) และเชื่อว่า เป็นสาเหตุของโรคอัลไซเมอร์ส สารเคมีเหล่านี้ ดูเหมือนจะมีปฏิกิริยาของกาว (Glue) ที่ทำลายเซลล์ประสาท (Neuron) ในที่สุด (Eventually)

ด้วยข้อมูลสำคัญ (Lead) เหล่านี้ นักวิจัยเริ่มมีความหวัง (Optimistic) ในการค้นพบสาเหตุที่แท้จริง แล้วพัฒนาวิธีการรักษา (Treatment) โรคอัลไซเมอร์ส เพราะในปัจจุบัน ยาใช้ได้ผลไม่มากนัก (Mildly effective) และยังไม่ยาวนานพอ (Short-acting) [ที่จะสรุปผล]

นักวิจัยสนใจเครือข่ายข้อมูล (Information network) ของสมอง หลังจากค้นพบว่า เซลล์ประสาทสื่อสารกับสารเคมีที่มีความสามารถในการเริ่มต้นหรือหยุดการไหลของข้อมูล อันนำไปสู่การค้นพบวิธีการรักษาโรคอัลไซเมอร์ส แบบใหม่ที่น่าทึ่ง (Remarkable) โดยการฝัง (Implant) เซลล์ประสาทเข้าไปในสมอง

แหล่งข้อมูล

1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.

2. Brain - https://en.wikipedia.org/wiki/Brainy [2015, January 16].