จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 4 : ช่วงเปลี่ยนผ่านของชีวิต (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่

เอริค เอริคสัน (Erik Erikson) ตระหนักว่า ปัจจัยทางวัฒนธรรม และเศรษฐกิจมีผลกระทบต่อความก้าวหน้าของผู้คนผ่านขั้นตอนเหล่านี้ ในสังคมชนบท (Rural) การผ่านขั้นตอนอาจเป็นไปได้โดยง่าย ตัวอย่างเช่น วัยรุ่นชาวนาไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากเจริญรอยตามการเป็นชาวนาของพ่อแม่ เว้นแต่ว่าเป็นลูกที่เกลียดการทำนา

อย่างไรก็ตาม ในสังคมเมืองกรุง (Urban) วัยรุ่นอาจใช้เวลายาวนานกว่าในการเปลี่ยนผ่าน (Transition) เนื่องจากมีทางเลือกมากมาย แต่บางคนก็ผัดผ่อนการตัดสินใจทางเลือกไปก่อน และไม่เคยแก้ปม “วิกฤตอัตลักษณ์” (Identity crisis) เช่นเดียวกัน ในวัฒนธรรมที่ให้ความสำคัญกับการพึงพาตนเอง (Independence) และปัจเจกชน (Individualism) อาจเป็นการยากที่สมาชิกในวัฒนธรรม จะแก้ปมของวิกฤตที่ 6 ของเอริค เอริคสัน ในเรื่องความใกล้ชิด (Intimacy) กับสันโดษ (Isolation)

ผลงานของ เอริค เอริคสัน เตือนใจเราว่า พัฒนาการ [ของมนุษย์] เป็นกระบวนการที่ดำเนินต่อเนื่องอย่างไม่มีวันสิ้นสุดผลงานของเขามีความสำคัญ เพราะเขาได้วางพัฒนาการของวัยผู้ใหญ่ ในบริบทของครอบครัวและสังคม โดยที่เขาได้ระบุถึงความกังวลหลักของความเป็นผู้ใหญ่ อันได้แก่ ความไว้วางใจ สมรรถนะ อัตลักษณ์ การขยายพันธุ์ (Generativity) และการมีความสุขกับชีวิต ตลอดจนการยอมรับความตาย

เนื่องจาก เอริค เอริคสัน อภิปรายหัวข้อ (Theme) เหล่านี้ ในบริบทของความสำคัญ ณ อายุต่างๆ กัน ผู้อ่านผลงานของเขาเข้าใจว่าความกังวลทางจิตวิทยาที่เขาแยกแยะให้เห็น เกิดขึ้น ณ ช่วงเวลาหนึ่งที่สำคัญของชีวิตเท่านั้น เอริค เอริคสัน ก็ตระหนักดีว่า มันอาจเกิดขึ้นอย่างไม่เป็นไปตามขั้นตอนที่เขานำเสนอ

ในเวลาต่อมา นักวิจัยอื่นที่ทำงานในสภาวะที่แตกต่างจากดั้งเดิมและพยากรณ์ไม่ค่อยได้ พบว่า ความกังวลดังกล่าว มิได้ดำเนินไปตามขั้นตอนที่ เอริค เอริคสั้น ได้วางไว้ ตัวอย่างเช่น ในสังคมตะวันตก วัยรุ่นมักเป็นช่วงเวลาของความสับสน (Confusion) เกี่ยวกับอัตลักษณ์ของตน และความทะเยอทะยาน (Aspiration) แต่ “วิกฤตอัตลักษณ์” (Identity crisis) ก็มิได้เกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่นเท่านั้น

ผู้ที่เคยทำงานเดียว (One job) ตลอดชีวิต เมื่อถูกปลดออกจากงาน แล้วพบงานใหม่ที่ไม่คุ้นเคย (Entirely new) อาจพบ “วิกฤตอัตลักษณ์” [อีกครั้งในชีวิต] ในทำนองเดียวกัน “สมรรถนะ” (Competence) ไม่ใช่สิ่งที่ฝึกฝนจนชำนาญ (Master) แล้วใช้ได้ตลอดชีวิต ผู้คนเรียนรู้ทักษะใหม่ และสูญเสียทักษะเก่า ในขณะที่ความรู้สึกของ “สมรรถนะ” สามารถเพิ่มขึ้นและลดลงตามลำดับด้วย

นอกจากนี้ ผู้คนที่สนับสนุนการขยายพันธุ์ (Generative) มักมีพันธสัญญาต่อการช่วยเหลือชุมชนของเขา หรือชั่วอายุคนถัดไป โดยการทำงานอาสาสมัคร หรือเลือกอาชีพที่จะทำประโยชน์ให้สังคม (Social contribution) ตลอดชีวิต ดังนั้น ทฤษฎีที่เกี่ยวกับนานาขั้นตอน ไม่ใช่วิธีที่เพียงพอต่อความเข้าใจว่า ผู้ใหญ่เติบโตและเปลี่ยนแปลง หรือยังคงเหมือนเดิม ตลอดช่วงอายุของชีวิต (Life span)

แหล่งข้อมูล

  1. Wade, Carole & Carol Tavris. (2008). Invitation to Psychology (4th Ed). Upper Saddle River, NJ : Pearson Education.
  2. Erik Erikson - http://en.wikipedia.org/wiki/Erik_Erikson [2015, May 9].