จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน – ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 36 : สภาพไร้สมอง (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่

ในกรณีศึกษาที่ 4 สื่อมวลชน เรียกเธอว่า “หนูน้อยเทรีซ่า” (Bay Theresa) เธอเป็น 1 ในจำนวนทารก 1,000 คน ที่เกิดในสหรัฐอเมริกาในแต่ละปี พร้อมด้วยความผิดปรกติ (Disorder) ที่มักเป็นอันตรายถึงชีวิต (Fatal) เธอเกือบจะไม่มีสมองเอาเสียเลย เรียกว่า “สภาพไร้สมองใหญ่” (Anencephaly)

“สภาพไร้สมองใหญ่” เป็นสภาวะของการเกิดที่ไม่มีสมอง หรือมีน้อยมาก ทำให้เยื่อสมอง หรือประสาท (Nervous tissue) ล่อแหลมต่ออันตราย (Exposed) และมักถูกทำลาย (Damaged) เนื่องจากส่วนบนของกระโหลก (Skull) ขาดหายไป จึงอยู่รอดได้ไม่กี่วัน หรือยาวนานสุดไม่เกิน 60 วัน

ลองจินตนาการดู ว่าจะออกแบบสมองอย่างไร จึงจะรองรับเซลล์ 1,000,000,000,000 (ล้านล้าน) ตัว แต่บรรจุอยู่ในอาณาบริเวณเล็กเท่ากับแตงเมล่อน และมีน้ำหนักไม่เกิน 3 ปอนด์ (ประมาณ 1.36 กิโลกรัม) คำตอบก็คือ เซลล์ต้องมีขนาดจิ๋วมาก มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า จนต้องดูผ่านกล้องจุลทรรศน์ (Microscopic) เท่านั้น และทำให้ผิวสมองย่นย่อลง (Wrinkle) เหลือเท่า “เปลือกนอก” (Cortex) ซึ่งเป็นวัตถุสีเทา

เปลือกนอกดังกล่าว เป็นชั้นที่บาง (Thin layer) ของเซลล์ซึ่งปกคลุมพื้นผิวทั้งหมดของสมองส่วนหน้า (Forebrain) ส่วนใหญ่ของเซลล์สมอง (Neuron) อยู่ใต้เปลือกนอก ซึ่งพับ (Fold) เป็นชั้นๆ รวมกันเป็นพื้นผิวที่มีอาณาบริเวณกว้างใหญ่ไพศาล

เพื่อให้เข้าใจคุณประโยชน์ (Advantage) ของเปลือกนอกที่ย่นย่อ ลองจินตนาการเอาแผ่นกระดาษขนาดใหญ่ 18 ตารางนิ้ว (ประมาณ 116 ตารางเซ็นติเมตร) บรรจุในกล่องไม้ขีดไฟขนาดเล็กที่มีพื้นที่ 3 ตารางนิ้ว (ประมาณ 19.4 ตารางเซ็นติเมตร) วิธีหนึ่งคือการขยำแผ่นกระดาษให้ยู่ยี่ (Crumple) จนกว่าจะสามารถยัดใส่ในกล่องไม้ขีดไฟดังกล่าวได้

ในทำนองเดียวกัน ลองจินตนาการถึงเซลล์สมองจำนวนล้านล้าน (Billion) ต้ว ที่อยู่บนแผ่นกระดาษ 18 ตารางนิ้ว เมื่อแผ่นกระดาษขนาดใหญ่นี้ ต้องย่นย่อลง เปลือกนอกก็จะถูกอัดเข้าไปในหัวกระโหลก (Skull) ที่มีขนาดเล็กในรูปทรงกลม นักวิจัยแบ่งเปลือกนอกดังกล่าวออกเป็น 4 ส่วนหรือกลีบ (Lobe) ด้วยกัน ซึ่งมีการทำงาน (Function) ที่แตกต่างกัน

เปลือกนอกของสมอง มีพื้นผิวที่ย่นย่ออยู่ในที่สูงเหมือนภูเขาและต่ำเหมือนหุบเขา (Peak and valley) แต่มีคุณลักษณะ (Feature) ที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม ภาพที่ปรากฏ (Appearance) ของเปลือกนอก อาจเป็นภาพลงตา (Deceiving) เพราะจำนวนนับร้อยของการทำงานที่แตกต่างกัน ได้รับการจัดแจงให้อยู่ในอาณาบริเวณ 4 แห่งแยกจากกัน

โครงสร้างสมองที่แยกมนุษย์ออกจากสัตว์ได้ชัดเจน (Distinguish) ก็คือเปลือกนอก (Cortex) ของสมอง ที่ได้รับการพัฒนาแล้ว ซึ่งทำให้เราสามารถอ่าน เข้าใจ พูดถึง และจดจำนานาแนวความคิด (Concept)

แหล่งข้อมูล

1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.

2. Nervous System - http://en.wikipedia.org/wiki/Nervous_systeml[2015, December 19].