จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน – ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 34 : สมองถูกทำลาย (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่

กรณีศึกษาที่ 3 สตีฟ (Steve) เดินเข้าไปในโรงแรมเพื่อลงทะเบียนเข้าพัก เข้ารู้สึกปวดศีรษะอย่างรุนแรง (Incredible pain) เขามีอายุ 28 ปี โดยเป็นนักหนังสือพิมพ์ (Journalist) ที่ประสบความสำเร็จ มีสุขภาพที่แข็งแรง แต่มีบางสิ่งบางอย่างที่เลวร้าย (Terrible) กำลังเกิดขึ้นกับเขา

เขาแทบจะพูดไม่ออกกับเจ้าหน้าที่โรงแรม ซึ่งบอกเขาว่าห้องเขายังไม่พร้อมให้เข้าพัก จึงค่อยๆ เดินไปที่เก้าอี้และนั่งลงเพื่อรอคอย เขาชำเลืองไปที่นาฬิกาที่อยู่บนกำแพง เพื่อตรวจสอบเวลา เขาเห็นเข็มนาฬิการอย่างชัดแจ้ง แต่ก็คิดไม่ออกว่าเป็นเวลาเท่าไร เขาตะโกนเสียงดังเหมือนเด็กเล็กว่า “เข็มใหญ่อยู่ที่เลข 12 และเข็มอยู่ที่เลข 8” เมื่อเขาได้ยินคำพูดตนเอง เขารู้ว่าเป็นเวลา 8 นาฬิกา แต่สงสัยว่า ทำไมเขาสามารถบอกเวลาจากเสียง (Sound) ได้แต่จากการเห็น (Sight) ไม่ได้

ในช่วงเวลา 20 ปี ที่ผ่านมา นักวิจัยได้พัฒนาวิธีการ (Technique) หลากหลายในการ “กวาดส่อง” (Scan) สมอง ผ่านหัวกระโหลกหนา แล้วฉายภาพสมองที่เห็นได้ชัดแจ้งอย่างน่าอัศจรรย์ (Astonishing clarity) แต่ไม่ทำลายเซลล์สมองที่ละเอียดอ่อนสุดๆ (Extremely delicate)

การใช้วิธีการที่คล้ายกับนิยายวิทยาศาสตร์ (Scientific fiction) ทำให้นักวิจัยสามารถ “จับคู่” (Mapping) การทำงานของการรับรู้ที่หลากหลาย (อาทิ การอ่าน การฟัง การทำโจทย์เลข การค้นหา แยกแยะรูปทรง ใบหน้า และสัตว์) กับจุด (Site) ของอารมณ์ความรู้สึก และประสาทสัมผัส (Sensation)

แพทย์ประสาทวิทยา (Neurologist) ได้วินิจฉัยว่า หลอดเลือด (Blood vessel) สมองของสตีฟแตกออก (Burst) ทำให้มีเลือดไหลไปรอบบริเวณสมอง แพทย์สามารถค้นหาตำแหน่งแห่งที่ (Exact location) และขอบเขต (Extent) ของอาณาบริเวณที่สมองถูกทำลายโดยเครื่องมือที่เรียกว่า MRI (= Magnetic Resonance Imaging) ที่สามารถใช้ในการศึกษาโครงสร้างของสมอง

MRI เกี่ยวข้องกับการส่งผ่านสมองด้วยความถี่ของคลื่นวิทยุ (Radio frequency) ที่ไม่ทำอันตราย (Non-Harmful) ต่อเนื้อเยื่อสมอง โดยเครื่องคอมพิวเตอร์จะวัดว่า สัญญาณเหล่านี้ ว่ามีปฏิสัมพันธ์กับเซลล์สมองอย่างไร แล้ว? “แปลงโฉม” (Transform) ปฏิสัมพันธ์นี้ เป็นภาพที่ละเอียดยิบ (Incredible detail) ของสมอง (หรือร่างกาย)

ในการทำหัตถการ (Procedure) ของ MRI สตีฟ ต้องนอนลง โดยวางศีรษะให้อยู่ในศูนย์กลางของเครื่องจักรขนาดยักษ์ ที่มีรูปทรงเหมือนโดนัท แสงที่สะท้อน (Reflection) จากคลื่นวิทยุ จะได้รับการวิเคราะห์และพัฒนาเป็นภาพถ่ายที่ละเอียดลออของสมองที่มีชีวิต โดยเครื่องคอมพิวเตอร์

รุ่น (Version) ใหม่ที่แตกต่างของ MRI เรียกว่า fMRI ตัว f ย่อมาจาก functional ซึ่งวัดผลกิจกรรมของ “เซลล์สมอง” (Neuron) ที่ทำงาน ช่วงเวลาของการรับรู้ อาทิ การคิด การฟัง หรือ การอ่าน ตัวอย่างเช่น ในขณะที่คนเราคำนวณโจทย์คณิตศาสตร์ กิจกรรมเซลล์สมองจะเกิดขึ้นสูงสุดที่บริเวณสมองส่วนหน้าที่อยู่ทางซ้าย (Left frontal area)

แหล่งข้อมูล

1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.F

2. Nervous System - http://en.wikipedia.org/wiki/Nervous_systeml[2015, December 5].