จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน – ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 32 : รหัสพันธุกรรม (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่

กรณีศึกษาที่ 2 ผู้เป็นแม่กล่าวถึงสก๊อต (Scott) ว่า “สมัยที่ยังเป็นทารกน้อย เขาขันร้อง (Coo) และยิ้มในเวลาที่เหมาะสม แล้วก็พูดอ้อแอ้ (Babble) ณ เวลาอันควร เขาดูเป็นปรกติดี” แต่เพราะเขาร้องอย่างไม่หยุด (Constantly) ทำให้เธอค่อนข้างกลัว (Scare) โดยเฉพาะเมื่อเขาเดินออกนอกบ้าน และร้องไห้โฮ (Burst into tears) และไม่มีใครสามารถปลอบประโลมเขาให้สงบลงได้

เมื่อสก๊อตมีอายุมากขึ้น ปัญหาอื่นๆ ก็เริ่มวิวัฒนา เขาไม่สามารถนั่งได้ ปฏิเสธที่จะเล่นกับเด็กอื่น และมักลงเอยอยู่ในโลกของเขาเองตามลำพัง หลังจากตรวจสอบส่วนประกอบพันธุกรรม (Genetic make-up) ก็พบว่า เขาได้สืบทอด (Inherit) กลุ่มอาการพันธุกรรมที่เป็นสาเหตุของปัญหาพัฒนาการ (Fragile X syndrome) ซึ่งเป็นความผิดปรกติ (Disorder) ของพันธุกรรม ที่พบบ่อยที่สุดในสหรัฐอเมริกา

อันที่จริง ชีวิตมนุษย์เริ่มต้นกำเนิดขึ้นเมื่อเชื้ออสุจิ (Sperm) ของพ่อ [ซึ่งมีขนคล้ายเส้นด้าย (Hair-like strand) ในนิวเคลียสของเซลล์ที่เรียกว่า “โครโมโซม” (Chromosome) อยู่ 23 ตัว] เข้าไปเจาะ (Penetrate) ไข่ของแม่ [ซึ่งก็มีโครโมโซม 23 ตัวเช่นกัน] โครโมโซมเองประกอบด้วยขดเส้นด้าย (Coiled) ที่มีสารเคมี DNA (= Deoxyribonucleic acid)

เซลล์ที่ได้จากการผสมพันธุ์ (Fertilized cell) เรียกว่า “ไซโกต” (Zygote) ซึ่งมีขนาดเท่าเม็ดทราย นับเป็นเซลล์ของมนุษย์ที่ใหญ่ที่สุด ไซโกตประกอบด้วย โครโมโซม 46 ตัว จัดแจงกันเป็น 23 คู่ ที่มีรหัสทางเคมี (Chemical instruction) แบบเรียงพิมพ์ (Type-written) จำนวน 300,000 หน้า สำหรับพัฒนาการของสมองและร่างกาย

แต่ละโครโมโซมประกอบด้วยขนคล้ายเส้นด้ายยาวของ DNA ที่มีลักษณะคล้าย (Resemble) บันไดที่ขดเป็นเกลียว (Twist) กันอยู่ แต่ละขั้น (Rung) ของบันไดประกอบด้วยสารเคมี 4 ตัว ลำดับ (Order) ของสารเคมีดังกล่าว รวมตัวเป็นขั้นบันได สร้างตัวอักขระ (Alphabet) ขนาดจิ๋ว (Microscopic) เพื่อใช้เขียนรหัสในพัฒนาการและการรวมตัว (Assembly) นับล้านๆ ชิ้นส่วนของสมอง และร่างกาย

แต่ละโครโมโซม มีส่วนเฉพาะ (Segment) ที่ประกอบขึ้นด้วยรหัสเฉพาะ ซึ่งแทนด้วยกลุ่มสีเขียว อันเป็นตำแหน่งแห่งที่ของ จีน/ยีน (Gene) ที่มีขนคล้ายเส้นด้ายใน DNA สำหรับสร้างโปรตีน (Protein) ซึ่งเป็นสารเคมีของบล็อคก่อสร้าง (Building block) อันเป็นฐานของการก่อสร้างทุกชิ้นส่วน

ตัวอย่างเช่น จีน/ยีน มากกว่าหนึ่งตัว กำหนดสีของดวงตา ความกว้างของใบหู (Ear lobe) และแนวโน้มที่จะอ้วนเกิน (Obese) นักวิจัยประมาณการกันว่า มี จีน/ยีน มนุษย์จำนวน 30,000 ตัวที่อยู่ใน 23 คู่ของโครโมโซม และเมื่อนักวิจัยค้นพบ จีน/ยีน ใหม่ หมายถึงการค้นพบตำแหน่งแห่งที่ของ จีน/ยีน นั้น ในโครมโมโซมของมัน

นักวิจัยหวังว่า การศึกษาวิธีการ (How) เขียนรหัส จะสามารถสร้าง “พิมพ์เขียว” (Blueprint) เกี่ยวกับพัฒนาการของมนุษย์ พบเบาะแส (Clue) ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนายา และใช้ จีน/ยีน บำบัด (Gene therapy) ในการแก้ปัญหาพันธุกรรม

แหล่งข้อมูล

1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.

2. How does DNA work as the instructions for human traits https://www.genome.gov/Pages/Education/Modules/BluePrintToYou/Blueprint3to4.pdfl[2015, November 21].