จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 202: การสะกดจิต (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-202

      

      หลายคนสนใจว่าการสะกดจิต (Hypnosis) มีประสิทธิผลอย่างไรในการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ (Attitude) และพฤติกรรม เนื่องจากมีการโฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นด้วยซ้ำ กล่าวอ้าง (Claim) ว่า การสะกดจิตสามารถช่วยเลิกบุหรี่ได้, ลดน้ำหนัก, ขจัดความหวาดกลัว (Phobia), ชักนำ (Induce) ความผ่อนคลายทันที, ลดความเจ็บปวด (Pain) หรือเพิ่มแรงจูงใจ (Motivation) ในการต่อสู้ (Tackle) กับปัญหาที่ยากเย็นเข็ญใจ

      ในขณะที่นักสะกดจิตเชื่อว่า การสะกดจิตอาจเปลี่ยนสภาวะจิตสำนึก (Consciousness) ของบุคคล ส่วนมากเห็นว่ามียาจำนวนมาก ทั้งถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย ที่เปลี่ยนแปลง (Alter) จิตสำนึก ตัวอย่างหนึ่งของยาดังกล่าวเกิดขึ้นโดยบังเอิญ (Chance) ในขณะที่ขี่จักรยาน

      วันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1943 อัลเบิร์ต ฮอฟแมน (Albert Hofman) ออกจากห้องปฏิบัติการ (Laboratory), ขึ้นขี่จักรยาน แล้วถีบ (Pedal) ไปตามเส้นทางปรกติเพื่อกลับบ้าน ทันในนั้น โลกรอบตัวเขาเริ่มเปลี่ยนเป็นภัยคุกคาม (Threatening) ในรูปแบบระส่ำระสาย (Wavering form) ที่ดูเหมือนจะบิดเบือน (Distorted) เสมือนหนึ่งว่า เขากำลังมองเข้าไปในกระจกโค้ง (Curved)

      เมื่อเขากลับถึงบ้าน และเดินเข้าบ้านวัตถุที่เขาคุ้นเคย (Familiar) และชิ้นส่วนของเฟอร์นิเจอร์กลายเป็นรูปแบบของความพิลึกกึกกือ (Grotesque) ซึ่งเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา (Continual motion) สักครู่หนึ่งรูปแบบดังกล่าวก็หายไป แล้วเขาก็เริ่มรู้สึกหยั่งเห็น (Visual sensation) ภาพลวงตา (Illusion) อย่างไม่น่าเชื่อ (Incredible)

      อัลเบิร์ตเห็นภาพน่าอัศจรรย์ (Fantastic image) ที่เปิดและปิดเป็นวงกลม และเกลียวขด (Spiral) ซึ่งดูเหมือนระเบิดออก (Explode) กลายเป็นน้ำพุ (Fountain) มากสี ที่แปลกประหลาดกว่านั้น คือ เสียงรถยนต์วิ่งผ่าน หรือการเปิดประตูที่แปลงโฉม (Transform) เป็นภาพที่มองเห็นหลากหลายรูปแบบและสีสัน

      สาเหตุของประสบการณ์การเห็นที่แล้วทำให้สะดุ้ง (Startling) ก็คือยาที่เขาค้นพบก่อนหน้านี้ในห้องปฏิบัติการ และได้กินยาดังกล่าวก่อนขึ้นขี่จักรยาน เรียกว่า “ยา LSD” (Lysergic acid diethylamide) และปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันทั่วว่าเป็นสาเหตุของประสบการณ์การมองเห็นที่วิตถาร (Bizarre) อันเป็นอาการประสาทหลอน (Hallucination)

      เนื่องจากอัลเบิร์ตไม่ทราบเกี่ยวกับยาอันทรงพลัง (Potency) นี้มาก่อน เขาจึงกินเกินปริมาณ (Dosage) เมื่อเปรียบเทียบกัน ปริมาณเพียงเล็กน้อยของ LSD มีผลกระทบมากถึง 4 เท่าของปริมาณปรกติ ส่วนยาที่เปลี่ยนแปลงจิตสำนึกได้ ได้แก่ สารกระตุ้น (Stimulant), สารหลอนประสาท (Hallucinogen), ฝิ่น (Opiate), กัญชา (Marijuana) และของมึนเมา (Alcohol)

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Hypnosis - https://en.wikipedia.org/wiki/Hypnosis [2019, February 23].
  3. Albert Hofman - https://en.wikipedia.org/wiki/Albert_Hofmann [2019, February 23].