จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 2 : จากวัยเด็กสู่วัยผู้ใหญ่ (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่

บางที เหตุผลที่มีน้ำหนักมากที่สุดของการปรับตัว (Resilience) ของเด็ก และสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่ผู้ใหญ่กระทำตลอดชีวิต ก็คือ เราพยายามแปรผล (Interpret) จากประสบการณ์ของเราเองอย่างสม่ำเสมอ เราอาจตัดสินใจทำผิดซ้ำซากเหมือนพ่อแม่ของเรา หรือแวกม่านประเพณี (Break free)

เราอาจตัดสินใจอยู่ในวิถีทางของเรา หรือเปลี่ยนแปลงทิศทาง ณ อายุ 20, 50 หรือ 70 ปี เราอาจคิดถึงความล้มเหลว (Setback) หรือชัยชนะ (Victory) ของเรา ปัญหาหรือผลสัมฤทธิ์ (Accomplishment) ของเรา และตัดสินใจเพื่อ

ตัวเราเอง ว่าต้องการที่จะอยู่เป็นนักโทษ (Prisoner) ของความเป็นเด็ก (Childhood) หรือ ได้รับการปลดปล่อย (Liberated) โดยทางเลือกหลากหลายของความเป็นผู้ใหญ่ (Adulthood)

ในนิยายปรัมปรา (Legend) สฟิงซ์ (Sphinx) เป็นสัตว์ดุร้าย (Monster) ครึ่งสิงโตครึ่งสตรี ที่เที่ยวทำร้ายผู้ที่มันพบเห็นระหว่างทางไปยังเมืองเธเบส (Thebes) มันจะตั้งคำถามว่า “สัตว์อะไรเอ่ยที่เดินด้วย 4 เท้า ในตอนเช้า เดินด้วย 2 เท้าในตอนกลางวัน และเดินด้วย 3 เท้าในตอนกลางคืน?”

สฟิงซ์จะฆ่าผู้เดินทางทุกคนที่ตอบคำถามนี้ไม่ได้ มีเพียงกษัตริย์อีดิปัส (Oedipus) เท่านั้นที่ ไขปริศนา (Riddle) นี้ได้ เขาตอบว่า สัตว์ที่ว่านี้คือมนุษย์ ซึ่งคลานด้วยมือและเท้า เมื่อยังเป็นทารกอยู่ แล้วลุกขึ้นเดินตรงได้เมื่อเป็นผู้ใหญ่ จากนั้นก็ต้องเดินด้วยไม้เท้า เมื่อกลายเป็นคนชรา

ต้องยอมรับว่า สฟิงซ์ เป็นนักทฤษฎีคนแรกในเรื่องช่วงอายุคน (Life-span) หลังจากนั้นมา มีนักปรัชญา นักเขียน และนักวิทยาศาสตร์จำนวนมาก ที่ได้แสดงความคิดอ่านในเรื่อง “วิวัฒนาการของผู้ใหญ่” (Adult developmental) พร้อมๆ การตอบนานาคำถาม อาทิ การเปลี่ยนแปลงในผู้ใหญ่ สามารถพยากรณ์ได้เหมือนในเด็กหรือไม่? และ อะไรเป็นประเด็นสำคัญทางจิตวิทยาของชีวิตวัยผู้ใหญ่?

นักทฤษฎีสมัยใหม่คนแรกๆ ที่นำเสนอวิธีการ (Approach) ช่วงอายุ ไปพัฒนาสาขาวิชาจิตวิทยา คือ เอริค เอริคสัน (Erick Erickson) ผู้มีชีวิตอยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2445 – 2537 เขากล่าวว่า ผู้ใหญ่เจริญรอยตามขั้นตอนของช่วงอายุ เช่นเดียวกับเด็ก โดยผู้คนเจริญเติบโตผ่าน 8 ขั้นตอนในชีวิต แต่ละขั้นตอนมีลักษณะเฉพาะ (Characteristics) ของ “วิกฤต” (Crisis) ซึ่งเป็นความท้าทาย (Challenge) ที่ควรได้รับการแก้ไข (Resolve) ก่อนที่จะดำเนินในขั้นตอนต่อไป

ขั้นตอนที่ 1 ความไว้วางใจ (Trust) กับ ความไม่ไว้วางใจ (Mistrust) เป็นความท้าทายที่กิดขึ้นในขวบปีแรกของทารก เมื่อเด็กต้องพึงพาผู้อื่นให้ป้อนอาหาร ปลอบใจ (Comfort) โอบกอด (Cuddling) และให้ความอบอุ่น หากความจำเป็นเหล่านี้มิได้รับการสนองตอบ เด็กจะไม่สามารถพัฒนาความไว้วางใจผู้อื่น ซึ่งจำเป็นต่อการปรับตัว (Get along) ในโลกได้

ขั้นตอนที่ 2 การพี่งพาตนเอง (Autonomy) กับ ความละอายใจและความไม่แน่ใจ (Shame vs. Doubt) เป็นความท้าทายที่เกิดขึ้นเมื่อเด็กยังอยู่ในวัยเตาะแตะ ที่กำลังเรียนรู้ที่จะพึ่งพาตนเอง และต้องดำเนินไปโดยปราศจากความรู้สึกละอายใจ หรือไม่แน่ใจเกี่ยวกับการกระทำของตนเอง

แหล่งข้อมูล

  1. Wade, Carole & Carol Tavris. (2008). Invitation to Psychology (4th Ed). Upper Saddle River, NJ : Pearson Education.
  2. Adult - http://en.wikipedia.org/wiki/Adult [2015, April 25].