จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 177: จังหวะนอนและตื่น (4)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-177

      

      เนื่องจากการตั้งเวลาพันธุกรรมของนาฬิกาชีวภาพ (Genetically-set circadian clock) สร้างปัญหาให้กับนักเดินทางและผู้ทำงานกะดึก นักวิจัยจึงเริ่มหาหนทางที่จะตั้งเวลานาฬิกาชีวภาพให้มีประสิทธิภาพขึ้น โดยใช้เวลานับสิบปีในการศึกษาจนพบว่า แสง (Light) สามารถตั้งเวลานาฬิกาชีวภาพใหม่ได้ และมีการจดสิทธิบัตรของ “แสงบำบัด” (Light therapy) แล้ว

      การบำบัดดังกล่าว เป็นการใช้แสงเทียม (Artificial) ที่สว่างไสว (Bright) ในการตั้งเวลานาฬิกาชีวภาพใหม่ เพื่อต่อสู้ (Combat) กับการนอนไม่หลับ (Insomnia) และการง่วงเหงาหาวนอน (Drowsiness) ที่ก่อภัยพิบัติ (Plague) แก่ผู้ทำงานกะดึกและทุกข์ทรมานแก่นักเดินทางข้ามประเทศ และช่วยผู้มีการนอนผิดปรกติ (Sleep disorder) ซึ่งร่างกายไม่สามารถอยู่ในเวลาที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมภายนอก

      ตัวอย่างเช่น นักวิจัยรายงานว่า ผู้ทำงานที่ได้รับแสงซึ่งสว่างไสว แล้วย้ายไปทำงานกะดึก แสดงการปรับปรุงขึ้นในความตื่นตัว (Alertness), ผลงาน (Performance), และความพึงพอใจในงาน (Job satisfaction) การได้รับแสงสว่างไสวมากกว่า 20 เท่า ณ เวลาที่ตั้งใหม่ของจุดศูนย์กลางซุปปราไคแอสมาติค (Suprachiasmatic nucleus) ส่งผลให้เวลาชีวภาพภายในร่างกายใกล้เคียงกับเวลาสภาพแวดล้อมภายนอก

      แสงบำบัดยังคงเป็นการรักษาค่อนข้างใหม่ แต่มีศักยภาพมโหฬาร (Enormous potential) สำหรับการตั้งเวลานาฬิกาจังหวะรอบนอนและตื่น (Sleep-wake) ใหม่ อีกปัจจัยหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการตั้งเวลาใหม่ดังกล่าว ก็คือฮอร์โมนจากต่อม (Gland) ที่เคยเข้าใจกันว่าไม่มีประโยชน์

      หนึ่งในบรรดาอัศจรรย์ทางวิทยาศาสตร์ ในกลางทศวรรษ 1990s คือการใช้สารเมลาโทนิน (Melatonin) ที่ค้นพบมาตั้งแต่ทศวรรษ 1950s อันที่จริงเมลาโทนินเป็นฮอร์โมนที่หลั่ง (Secreted) โดยต่อมไร้ท่อซึ่งทำหน้าที่รับแสง (Pineal gland) อันเป็นกลุ่มของเซลล์รูปไข่ (Oval-shape) ที่อยู่ส่วนกลางของสมอง

      สารเมลาโทนินหลั่งเพิ่มขึ้นไปตามความมืด (Darkness) และลดลงตามแสงสว่าง จุดศูนย์กลางซุปปราไคแอสมาติค ควบคุมการหลั่งของสารเมลาโทนิน ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการควบคุมจังหวะรอบวัน (Circadian rhythm) และเสริมส่งการนอนหลับ

      แม้ว่าการให้การ (Testimonial) ในเบื้องต้น และการวิจัยบางชิ้น อ้าง (Claim) ว่า สารเมลาโทนิน ลดอาการเมาเวลาจากการบินยาวนาน แต่การศึกษาแบบอำพราง (Double-blind) เมื่อไม่นานมานี้ รายงานผลที่ไม่ดีกว่ายาหลอก (Placebo) อย่างไรก็ตาม ในผู้ที่มีปัญหาเรื้อรังจากนาฬิกาชีวภาพ สารเมลาโทนินจะช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น และลดการอ่อนเพลีย (Fatigue) ลง

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Rhythms of sleeping and waking https://www.sleepdisordersguide.com/article/basics/rhythms-of-sleeping-and-waking-rem-sleep-circadian-rhythm [2018, September 1].