จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 176: จังหวะนอนและตื่น (3)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-176

      

      การเคลื่อนไหวไปมา พร้อมด้วยนาฬิกาชีวภาพ (Biological clock) หลายเรือนที่ปรับ (Fined tuned) ได้ตามเวลาที่อยู่ในหัว เป็นสิ่งวิเศษสำหรับกำหนดเวลาทำกิจกรรม อย่างไรก็ตาม ถ้านาฬิกา “จังหวะนอนและตื่น” (Circadian sleep-wake) ถูกแทรกแซง (Interfere) หรือถูกตั้งใหม่ (Re-set) อย่างไม่เหมาะสม เราก็จะประสบปัญหานอนและตื่นที่มากมาย

      การตั้งเวลาใหม่ในแต่ละวันให้นาฬิกานอนและตื่นประมาณ 18 นาที ให้เท่ากับเวลาในโลกอุตสาหกรรม (Industrial world) ที่มี 24 ชั่วโมงถ้วน มักเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ อย่างไรก็ตาม ถ้านาฬิกาจังหวะนอนและตื่นไม่ถูกตั้งใหม่อย่างเหมาะสม เราอาจพบการรับรู้ของเราเสื่อมถอยลง, อุบัติเหตุที่เกิดจากจราจรและที่สัมพันธ์กับงาน, อาการเมาเวลาจากการบินยาวนาน (Jet lag) และความผิดปรกติที่หลากหลายของการนอน (Sleep disorder)

      การตื่นอยู่ในขณะที่นาฬิกาชีวภาพตั้งเวลาให้นอนหลับ จะส่งผลให้ความเกิดความเสื่อมถอยในทักษะการรับรู้ (Cognitive) และการเคลื่อนไหว (Motor) อาทิ ส่วนใหญ่ของอุบัติเหตุบนทางหลวง (Highway) มักเกิดขึ้นในตอนเช้ามืด (ตั้งแต่ตีหนึ่งเป็นต้นไป) โดยเฉพาะหากมีการเสพยาเข้ามาเกี่ยวข้อง

      อีกปัจจัยหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในอุบัติเหตุจราจร ก็คือช่วงชั่วโมงแรกๆ ของวันใหม่ เป็นเวลาที่ร่างกายและสมองของเราอยู่ในจังหวะนอน (Sleep rhythm) พนักงานที่ทำงาน “กะหฤโหด” (Graveyard shift) (เวลา 1.00 – 8.00 น.) มีโอกาสสูงสุดที่จะเกิดอุบัติ จนกระทั่งเข้า “เขตมรณะ” (Dead zone) เมื่อเวลา 5.00 น. ซึ่งคนเราจะรู้สึกยากที่จะทำตัวให้ตื่นอยู่ (Alert)

      เหตุผลที่คนทำงานกะดึก และคนขับรถกลางดึก จะมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุก็คือ นาฬิกาชีวภาพได้เตรียมร่างกายเพื่อการนอนหลับ จึงทำให้รู้สึกง่วงนอน และขาดสมาธิ และมีความตื่นตัวน้อย กล่าวคืออยู่ในอารมณ์ที่เลวร้าย (Lousy mood) นอกจากนี้ จังหวะนอนและตื่นมักสร้างปัญหาให้ผู้เดินทางข้ามประเทศด้วย

      เมื่อเราบินข้าม “เขตเวลา” (Time zone) ที่แตกต่างกันสัก 3 ชั่วโมง เรามักประสบปัญหาอาการเมาเวลาจากการบินยาวนาน ซึ่งเป็นสภาวะ (State) ที่นาฬิกาชีวภาพของนักเดินทางไม่สอดคล้อง (Synchrony) กับนาฬิกาภายนอก ณ สถานที่ใหม่

      อาการเมาเวลาดังกล่าว ส่งผลให้เกิดความอ่อนเพลีย (Fatigue) วิงเวียนศีรษะ (Disorientation) ขาดสมาธิ (Concentration) และทักษะการรับรู้ที่ลดลง ข้อแนะนำทั่วไปสำหรับการฟื้นฟู (Recovery) จากอาการเมาเวลาก็คือ การให้เวลาสัก 1 วันในการตั้งเวลาชีวภาพกันใหม่ สำหรับแต่ละชั่วโมงของเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Rhythms of sleeping and waking https://www.sleepdisordersguide.com/article/basics/rhythms-of-sleeping-and-waking-rem-sleep-circadian-rhythm [2018, Aug 25].