จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 170: จิตสำนึก (3)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-170

      

      

      ปัญหาใหญ่ของผู้คนที่ขับรถแล้วใช้โทรศัพท์ไปด้วย ก็คือเรามีความสามารถในการมุ่งเน้น (Focus) สมาธิ (Attention) ได้เพียงสิ่งเดียว ซึ่งเป็นตัวอย่างของกระบวนการควบคุม (Controlled process) อันหมายถึงกิจกรรมที่ต้องอาศัยการรับรู้เต็มที่ (Full awareness) การตื่นตัว และสมาธิ เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์บางประการ

      สมาธิที่เรามุ่งเน้น อันจำเป็นต่อการดำเนินกระบวนการควบคุม มักแทรกแซงกิจกรรมอื่นๆ ซึ่งกำลังดำเนินอยู่ (On-going execution) อันที่จริง กระบวนการควบคุม อาทิ การสนทนา (Converse) ทางโทรศัพท์ หรือการทำข้อสอบอยู่ เป็น (Represent) สภาวะการตื่นตัว (Alert state) ของจิตสำนึก (Consciousness)

      อย่างไรก็ตาม การพูดคุยทางโทรศัพท์ ซึ่งเป็นกระบวนการควบคุม ที่บ่อนทำลาย (Disrupt) หรือทำให้สมาธิของคนขับรถวอกแวก (Distract) โดยจะมีความเสี่ยงเป็น 4 เท่าของการเกิดอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะถือโทรศัพท์อยู่ในมือ หรือต่อสายหูฟัง ด้วยเหตุนี้หลายประเทศ (อาทิ อิสราเอล สเปน และบราซิล) ได้ประกาศห้าม (Ban) ใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ อย่างเด็ดขาด

      ผู้ที่อ่านหนังสือพิมพ์ไปด้วย และกินขนมไปด้วย เป็นตัวอย่างของกระบวนการอัตโนมัติ (Automatic process) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่อาศัยการรับรู้เพียงเล็กน้อย ใช้สมาธิไม่มาก และไม่แทรกแซงกิจกรรมอื่นๆ ที่ดำเนินอยู่ ตัวอย่างของกระบวนการอัตโนมัติ ได้แก่ การรับประทานอาหารในขณะชมโทรทัศน์ การขับรถไปตามเส้นทางที่คุ้นเคยในขณะฟังวิทยุ หรือกำลังคิดอะไรเพลินๆ

      ดูเหมือนว่า เราจะมีสมาธิน้อยลงระหว่างช่วงกระบวนการอัตโนมัติ แต่ ณ บางระดับ เราจะมีจิตสำนึกว่าอะไรกำลังเกิดขึ้น (Occurring) ตัวอย่างเช่น หากเราขับในระบบนำร่องอัตโนมัติ (Automatic pilot) เราจะหลีกเลี่ยงรถที่วิ่งอยูในบริเวณใกล้เคียง (Neighboring) และมักสามารถหลีกเลี่ยง (Evasive action) อุบัติเหตุฉุกเฉิน (Emergency) ได้

      หลายคนเกี่ยวข้องกับรูปแบบที่น่ารื่นรมย์ (Pleasurable form) ของจิตสำนึกที่เรียกว่า “ฝันกลางวัน” (Day-dreaming) อันเป็นกิจกรรมที่อาศัยระดับต่ำของการรับรู้ที่มักเกิดขึ้นจากกระบวนการอัตโนมัติและเกี่ยวข้องกับจินตนาการ (Fantasize) ฝันเฟื่องในขณะตื่นอยู่ อันที่จริง เราอาจเริ่มต้นฝันกลางวันในสภาวะของจิตสำนึก (Conscious state) แล้วหลุด (Drift) เข้าไปในสภาวะระหว่างการนอนกับการตื่น (Wakefulness) กล่าวคือ ครึ่งหลับครึ่งตื่น

      เรามักจะฝันกลางวันในสถานการณ์ที่ต้องอาศัยสมาธิเพียงเล็กน้อย หรือระหว่างกิจกรรมที่ซ้ำซาก (Repetitious) หรือน่าเบื่อ (Boring) ฝันกลางวันส่วนมากค่อนข้างธรรมดา อาทิ การคิดถึงตัดผม วางแผนไปกินอาหาร ไตร่ตรอง (Ponder) การแก้ปัญหา หรือฝันเฟื่องพาแฟนเที่ยว ซึ่งเป็นเพียงการเตือน (Remind) ถึงสิ่งที่เราต้องทำในอนาคต อันที่จริง คนส่วนใหญ่อาจคาดเดาไปนานัปการ แต่ฝันกลางวันของผู้ชายและผู้หญิงมีความคล้ายคลึงกันค่อนข้างเด่นชัด (Remarkable) ในเรื่องความถี่ (Frequency) ความแจ้งชัด (Vividness) และความเป็นจริง (Realism)

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Consciousnesshttps://en.wikipedia.org/wiki/Consciousness [2018, Jul 14].